การเขียนประกาศ เขียนเชิงกิจธุระได้อย่างไรบ้าง?

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การเขียนเชิงกิจธุระหมายถึงหน้าที่ที่พึงกระทำ การเขียนเชิงกิจธุระมีมากมายหลายแบบ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ การเขียนประกาศ ซึ่งเป็นการเขียนเชิงกิจธุระรูปแบบหนึ่ง เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง

 

การเขียนเชิงกิจธุระ

 

การเขียนประกาศ

 

ประกาศ เป็นการสื่อสารที่ใช้เผยแพร่โดยกว้าง ให้บุคคลทุกระดับในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกได้อ่านและมีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยอาศัยสื่อสาธารณะชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นการแจ้งให้ทราบและปฏิบัติตาม อย่างเช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประกาศต่าง ๆ การใช้ภาษาในการประกาศนั้นจะไม่ใช้ข้อความยาว ๆ หรือละเอียดซับซ้อนเกินกว่าการทำความเข้าใจของผู้อ่าน โดยเฉพาะส่วนที่สำคัญ ๆ ที่จะต้องเขียนให้ชัดเจน ซึ่งการเขียนประกาศนั้นจะสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก 2 ประเภท ดังนี้

 

การเขียนประกาศ

 

การเขียนประกาศอย่างเป็นทางการ

 

การเขียนประกาศ

 

การประกาศอย่างเป็นทางการจะยาวและละเอียดเพราะมักเกี่ยวเนื่องกับตัวบทกฎหมาย แต่ไม่ใช่ข้อความที่อ่านยาก หรือวกไปวนมา เพราะเป็นประกาศที่มีจุดมุ่งหมายในการแจ้งให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและปฏิบัติตาม ภาษาที่ใช้จะเป็นทางการตามลักษณะของประกาศ กระชับ มีลักษณะที่คล้ายกับหนังสือราชการ มักเป็นประกาศขององค์การและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ในประกาศนั้นจะประกอบไปด้วยชื่อหน่วยงานหรือองค์การที่ออกประกาศ เรื่องที่ประกาศ เนื้อหาของเรื่องที่ประกาศและในเนื้อความก็จะประกอบไปด้วยเหตุผลความเป็นมาเพื่อเกริ่นนำเล็กน้อยก่อนจะบอกจุดประสงค์และรายละเอียด ตามตัววันเดือนปีขณะที่ออกประกาศ สุดท้ายเป็นการลงนามผู้ออกประกาศ

 

การเขียนประกาศ

 

การเขียนประกาศอย่างไม่เป็นทางการ

 

การเขียนประกาศ

 

ประกาศอย่างไม่เป็นทางการเป็นประกาศทั่ว ๆ ไป ที่ออกจากหน่วยงาน บุคคลหรือองค์การ เพื่อแจ้งข้อมูลให้ประชาชนทั่วไปทราบ เช่น ประกาศรับสมัครงาน ประกาศร่วมอบรมทักษะต่าง ๆ ประกาศเชิญให้เข้าร่วมประกวดเขียนนิยาย เป็นต้น ในเนื้อหาของการประกาศประเภทนี้ก็จะแตกต่างจากประกาศอย่างเป็นทางการ คือยังมีชื่อหน่วยงาน หรือองค์กร เรื่องที่ประกาศ เนื้อความอันประกอบไปด้วยเหตุผล ความเป็นมา จุดประสงค์ รายละเอียด ปิดท้ายด้วยลงวันที่ของวันที่ประกาศ แต่ภาษาที่ใช้จะไม่ได้เป็นทางการเท่าหนังสือราชการ มีเนื้อหากระชับ ไม่ซับซ้อน

 

 

ข้อจำกัดของการเขียนประกาศ

 

เมื่อประกาศถูกประกาศออกไปแล้ว ผู้รับสารจะไม่สามารถซักถามใด ๆ เกี่ยวกับประกาศได้หากมีข้อสงสัย ทำไมการเขียนประกาศนั้นจะต้องคำนึงถึงผู้รับสารเป็นอันดับแรกว่าการเขียน เขียนไปแล้วคนจะเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าหากเขียนไม่เข้าใจ ไม่ชัดเจน ก็จะทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน ทำให้การประกาศที่เขียนออกไปนั้นไม่เกิดประโยชน์

 

ประกาศที่ดีจะต้องมีลักษณะอย่างไร?

 

การเขียนประกาศ เป็นสิ่งที่เราได้ใช้และได้เห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นบทเรียนในเรื่องการเขียนเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมาก น้อง ๆ จะต้องได้ใช้ในอนาคตอย่างแน่นอนค่ะ ก่อนจากกัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนอยากฟังคำอธิบายเพิ่มเติมให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น ก็อย่าลืมตามไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มนะคะ รับรองว่าจะเข้าใจการเขียนในลักษณะนี้และสามารถเขียนกันได้ทุกคนแน่นอนค่ะ ไปดูกันเลยนะคะ

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_บอกเวลาเป็นภาษาอังกฤษ

เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไป เรียนรู้เกี่ยวกับการบอกเวลา กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย Let’s go! การแบ่งประเภท     ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้  

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก

สัญลักษณ์แทนการบวก สัญลักษณ์แทนการบวก หรือ   เรียกว่า ซิกมา ( Sigma ) เราใช้เพื่อลดรูปการบวกกันของตัวเลข เนื่องจากว่าบางทีเป็นการบวกของจำนวนตัวเลข 100 พจน์ ถ้ามานั่งเขียนทีละตัวก็คงจะเยอะไป เราจึงจะใช้เครื่องหมายซิกมามาใช้เพื่อประหยัดเวลาในการเขียนนั่นเอง เช่น 1 + 2 + 3 + 4 +5  สามารถเขียนแทนด้วย

Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ ” Past Tense ที่มี Time Expressions ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ” ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง

ระบบจำนวนจริง “ระบบจำนวนจริง” เป็นรากฐานสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ ประกอบไปด้วยจำนวนต่างๆ ได้แก่ จำนวนตรรกยะ จำนวนอตรรกยะ จำนวนเต็ม จำนวนนับ โครงสร้าง ระบบจำนวนจริง มนุษย์เรามีความคิดเรื่องจำนวนและระบบการนับมาตั้งแต่โบราณ และจำนวนที่มนุษย์เรารู้จักเป็นอย่างแรกก็คือ จำนวนนับ การศึกษาระบบของจำนวนจึงใช้พื้นฐานของจำนวนนับในการสร้างจำนวนอื่นขึ้นมา จนกลายมาเป็นจำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน (เนื้อหาม.5) ดังนั้น ถ้าน้องๆเข้าใจจำนวนนับแล้วน้องๆก็จะสามารถศึกษาระบบจำนวนอื่นๆได้ง่ายขึ้น   โครงสร้าง     จำนวนจริง จำนวนจริงคือจำนวนที่ประกอบไปด้วย

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์

แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ แบบฝึกหัดความสัมพันธ์ เป็นการทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ได้แก่ เรื่องโดเมนและเรนจ์ของความสัม กราฟของความสัมพันธ์ และตัวผกผันของความสัมพันธ์ ก่อนทำแบบฝึกหัดความสัมพันธ์ บทความที่น้องๆควรรู้ คือ โดเมนของความสัมพันธ์ เรนจ์ของความสัมพันธ์ กราฟของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์   แบบฝึกหัด 1.) ถ้า (x, 5) = (3, x – y)

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1