การเขียนบรรยาย อธิบาย พรรณนา เรียนรู้ 3 การเขียนที่สำคัญในยุคปัจจุบัน

การเขียนบรรยาย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ทักษะการเขียนอธิบาย การเขียนบรรยาย และการเขียนพรรณนา ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะมนุษย์นั้นมีสัญชาตญาณในการอยากรู้และหาคำตอบ ดังนั้นเราจึงไม่อาจเลี่ยงตอบคำถามใครได้ ดังนั้นการตอบคำถามหรือทำให้ผู้รับสารเข้าใจตรงกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น บทเรียนวันนี้เราจะมาเรียนรู้เทคนิคการเขียนทั้งสามแบบว่ามีวิธีการเขียนอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ

 

การเขียน

 

การเขียนอธิบาย

 

การเขียนอธิบาย หมายถึง การทำให้บุคคลอื่นเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้น มีกลวิธีการเขียนดังนี้

กลวิธีการเขียนอธิบาย

1. การอธิบายตามลำดับขั้น เป็นอธิบายไปทีละขั้นตอน ใช้ในการเขียนอธิบายถึงกิจกรรมหรือวิธีทำบางสิ่งบางอย่าง

 

 

2. การใช้ตัวอย่าง การยกตัวอย่างนี้จะเหมาะกับการเขียนเพื่ออธิบายหลักการ วิธีการ หรือข้อความบางอย่างที่เข้าใจยาก มีคำจำกัดความที่ไม่ชัดเจนจึงต้องเขียนยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายมากขึ้น

 

 

3. การเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างกัน เหมาะกับการใช้อธิบายสิ่งที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยหรือสิ่งแปลกใหม่ โดยนำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่คุ้นเคยอยู่แล้วว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ตัวอย่าง

“ลูกอมนี้รสชาติเปรี้ยวเหมือนกินมะนาวเข้าไปทั้งลูก” การอธิบายเช่นนี้เพื่อให้ผู้ฟังที่อาจจะยังไม่เคยกิน เข้าใจถึงรสชาติของลูกอมอย่างคร่าว ๆ ว่ามีรสชาติเปรี้ยวมาก

 

4.การชี้สาหตุและผลลัพธ์สัมพันธ์กัน เหมาะกับการใช้เขียนอธิบายเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับเหตุผล โดยอาจจะเขียนอธิบายจากสาเหตุไปสู่ผลลัพธ์ หรือเขียนจากผลลัพธ์ไปสู่สาเหตุ

ตัวอย่าง

“การปอกมะปรางริ้วเป็นศิลปะชั้นสูง เพราะมะปรางเป็นผลไม้ที่เนื้อนิ่มมาก ถ้าจับหนักมือก็จะทำให้ช้ำ”

 

5. การให้นิยาม เหมาะกับการอธิบายศัพท์ยาก หรือคำศัพท์ที่ยังเข้าใจไม่ตรงกันให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน

 

 

การเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย คือ การเล่าเรื่อง กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกันโดยชี้ให้เห็นฉาก สถานที่ เวลาเหตุการณ์สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อม บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนผลที่เกิดจากเหตุการณ์นั้น ๆ เนื้อหาที่เขียนบรรยายอาจมาจากเรื่องจริงเช่น ประวัติบุคคล เรื่องเล่าจากประสบการณ์หรือเป็นเรื่องสมมติ เช่น นิทาน นิยาย

 

กลวิธีการเขียนบรรยาย

 

การเขียนบรรยาย

 

1. การเลือกหัวข้อ เนื้อหาและความคิดรวบยอด ในการเขียนบรรยายควรเลือกหัวข้อ เนื้อหา และความคิดรวบยอดที่น่าสนใจ ให้ความรู้ ความบันเทิง และความจรรโลงใจแก่ผู้อ่านผู้ฟัง และตั้งชื่อเรื่องให้สอดคล้องกับเนื้อหา

2. การจัดเนื้อหา

– การเขียนบรรยายจะมีเนื้อหาเป็นเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้หลัก 5W1H เพื่อดำเนินเรื่องว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร

– เลือกเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญมาบรรยายเพื่อไม่ให้การบรรยายนั้นยืดยาวและน่าเบื่อ

– เรียงลำดับเหตุการณ์เพื่อไม่ให้สับสน

– เรียงเหตุการณ์ไม่ให้สับสน

3. การเสนอบทบรรยาย

– แทรกบทพรรณนา เพื่อให้การบรรยายมีชีวิตจิตใจ

– ขมวดเป็นคำถาม คลี่คลายเป็นคำตอบเพื่อให้น่าสนใจ

– ผูกเป็นบทสนทนา แทนที่จะบรรยายอย่างเดียว วิธีนี้จะช่วยให้การบรรยายน่าสนใจ

– นำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในการบรรยายโดยการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสารและผู้รับสาร

 

การเขียนพรรณนา

 

การเขียนพรรณนา คือ การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งนั้นอาจจะเป็นบุคคล วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่ง โดยยกการพรรณนาส่วนประกอบแต่ละส่วนให้ชัดเจน เพื่อให้เห็นลักษณะเด่นของสิ่งนั้น ๆ

กลวิธีการเขียนพรรณนา

1. วิเคราะห์สิ่งที่จะพรรณนา เพื่อให้เห็นรายละเอียดว่าสิ่งที่พรรณนาประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. หาความสัมพันธ์ของสิ่งที่วิเคราะห์ได้ เพื่อนำมารวมให้เป็นภาพหรืออารมณ์เดียวกัน

3. พรรณนาโดยเน้นลักษณะเด่น เพื่อให้ผู้อ่านผู้ฟังทราบทันทีว่าเป็นภาพอะไรหรืออารมณ์ใดแต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะประกอบด้วย เพื่อให้ได้ภาพหรืออารมณ์ที่ครบถ้วน

4. เลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพหรืออารมณ์สะเทือนใจ โดยใช้ศิลปะการประพันธ์และโวหารภาพพจน์ที่เหมาะสม

 

การเขียนบรรยาย กับ การเขียนพรรณนาต่างกันอย่างไร

 

การบรรยายเน้นการแสดงเหตุการณ์ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ส่วนการพรรณนาเน้นการแสดงภาพ อารมณ์ ความรู้สึกอย่างละเอียด

 

การเขียนบรรยาย

 

ไม่ว่าจะเป็นการเขียนอธิบาย บรรยาย หรือพรรณนา ผู้เขียนก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงเรื่องที่จะเขียน เพียงเท่านี้น้อง ๆ ก็จะสามารถเขียนให้ผู้อ่านเข้าใจตรงกับตัวเองได้แล้วค่ะ และเพื่อให้น้อง ๆ ได้เห็นตัวอย่างของการเขียนทั้ง 3 แบบมากขึ้น น้อง ๆ ก็สามารถเข้าไปรับชมการสอนของครูอุ้มได้ตามคลิปด้านล่างนี้เพื่อทบทวนบทเรียนค่ะ

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_Articles E5

Articles: a/an/the

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูได้สรุปเรื่อง  Articles: a/an/the พร้อมเทคนิคการนำไปใช้ มาฝากกันค่ะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย   Articles คืออะไร   Articles เป็นคำคุณศัพท์อย่างหนึ่ง การเรียน เรื่อง Articles นี้ที่มีหน้าที่หลักคือ ใช้นำหน้าคำนาม เราต้องทำความเข้าใจควบคู่ไปกับเรื่องนามนับได้ ( Countable Nouns )

พระบรมราโชวาท

พระบรมราโชวาท ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ในวรรณคดี

พระบรมราโชวาท เป็นวรรณคดีไทยที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่ง ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากที่ได้เรียนเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้ก็จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงตัวบทเด่น ๆ ว่ามีใจความอย่างไร รวมถึงศึกษาคุณค่าที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในพระบรมราโชวาท   ถอดความ ความตอนนี้กล่าวถึงพระประสงค์ของรัชกาลที่ 5 ที่ไม่ต้องการให้พระโอรสใช้คำนำหน้าเป็นเจ้า แต่ให้ใช้คำนำหน้าเป็นนายหรืออาจให้ใช้คำลงท้ายแบบขุนนางชั้นสูงได้เท่านั้น เพราะเมื่อประกาศให้คนรู้ว่าเป็นใครสิ่งที่จะตามมาก็คือการต้องรักษายศไว้

some any

การใช้ Some และ Any ตามด้วยคำนาม

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การใช้ some และ any กันแบบเข้าใจง่ายๆ ถ้าพร้อมแล้วลองไปดูกันเลยครับ

สมบัติการคูณจำนวนจริง

สมบัติการคูณจำนวนจริง

จากบทความก่อนหน้านี้น้องๆได้เรียนเรื่องสมบัติการบวกจำนวนจริงไปแล้ว บทความนี้พี่ก็จะพูดถึงสมบัติการคูณจำนวนจริงซึ่งมีเนื้อหาคล้ายๆกันกับการบวก และมีเพิ่มสมบัติการแจกแจงเข้ามา เนื้อหาเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะใช้ในการเรียนเนื้อหาบทต่อๆไป เมื่อน้องๆอ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะเรียนเนื้อหาบทต่อๆไปได้ง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์ของความรักชาติที่ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลง

‘ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ เชื่อว่าพอขึ้นต้นด้วยประโยคนี้ จะต้องมีน้อง ๆ หลายคนอ่านเป็นทำนองแล้วร้องต่อในใจแน่นอนว่า ‘เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน’ เพราะนี่คือ เพลงชาติไทย ที่เราได้ยินตอนแปดโมงเช้ากับหกโมงเย็นของทุกวันนั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงความเป็นมา และความหมายของเพลงชาติไทยกันค่ะ มาดูพร้อมกันเลย   ประวัติความเป็นมาของ เพลงชาติไทย     ก่อนที่จะมีเพลงชาติไทย ประเทศไทยใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นเพลงประจำองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเพลงประจำชาติ จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.

ป.5 การใช้ V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

การใช้กริยา V. to be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์

สวัสดีค่ะนักเรียนที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้กริยา be กับคำนามเอกพจน์ และพหูพจน์ กันนะคะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า Let’s go! รู้จักกับ V. to be   V. to be แปลว่า เป็น อยู่ คือ หลัง verb to

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1