การเขียนคำอวยพร เขียนอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้รับ

การเขียนคำอวยพร

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และภาษาก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คนเราทุกคนต่างต้องการในสิ่งดีงาม เมื่อถึงโอกาสสำคัญอย่างวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ จึงต้องการคำอวยพรที่สร้างกำลังใจ และเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง คำอวยพรจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนวัฒนธรรม ที่คนใช้สื่อสาร ถ่ายทอดเพื่อมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเขียนคำอวยพร เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีลักษณะและวิธีอย่างไรบ้าง

 

การเขียนคำอวยพร

 

ความหมายของคำอวยพร

คำอวยพร คือ คำพูดแสดงความปรารถนาดีต่อกันในโอกาสต่าง ๆ

 

โอกาส ในการเขียนคำอวยพร

 

การเขียนคำอวยพร

 

1. วันปีใหม่

  • สวัสดีปีใหม่ ขอให้มีความสุขมาก ๆ
  • สัขสันต์วันขึ้นปีใหม่ ขอให้โชคดึมีเงินมีทอง

2. วันเกิด

  • สุขสันต์วันเกิด ของให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง มีเงินใช้
  • ขอให้มีความสุขมากๆ ในวันเกิดปีนี้ มีความสุข ร่ำรวย ๆ

3. วันสงกรานต์

  • สงกรานต์ปีนี้ ขอให้สมหวังดั่งใจปรารถนา มีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส คลายทุกข์คลายโศกตลอดไป
  • สุขสันต์วันสงกรานต์ ขออวยพรให้ท่านสุขสันต์ แช่มชื่นทุกคืนวัน

4. งานแต่งงาน

  • ขอให้ชีวิตคู่มีแต่ความสุข ความเจริญ ดูแลซึ่งกันและกันตลอดไป
  • เนื่องในโอกาสมงคล ขออวยพรให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวครองรักกันไปนาน ๆ

5. จบการศึกษา

  • ขอแสดงความยินดีกับการเรียนจบ ขอให้ชีวิตหลังจากนี้ประสบความสำเร็จ และก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นใจ
  • ยินดีกับนักเรียนทุกคนที่จบการศึกษาในปีนี้ ขอให้เส้นทางในอนาคตราบรื่น พบแต่ความสุข ความเจริญ

 

ลักษณะของคำอวยพร

 

การเขียนคำอวยพร

 

1. คำอวยพรที่ใช้เฉพาะโอกาส

หมายถึง คำอวยพรที่ใช้ได้เฉพาะโอกาสใดโอกาสหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากว่าคำศัพท์และเนื้อหาที่ใช้ในโอกาสนั้นเป็นคำเฉพาะ จะใช้กับโอกาสอื่น ๆ ไม่ได้

ตัวอย่าง

 

 

2. คำอวยพรที่ใช้ได้มากกว่าหนึ่งโอกาส

หมายถึง คำอวยพรใช้ได้ตั้งแต่ 2 โอกาสขึ้นไป

ตัวอย่าง

ขอให้สุขภาพแข็งแรง สามารถอวยพรได้ทั้งในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ วันเกิด เยี่ยมผู้ป่วยหรืออวยพรแก่สามีภรรยาที่เพิ่งคลอดลูก เป็นต้น

 

หลักการเขียนคำอวยพร

 

 

1. เขียนให้สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างผู้อวยพร ผู้รับพร โอกาส และสื่อที่ใช้อวยพร

2. การกล่าวถึงโอกาสที่อวยพร

3. การอวยพรผู้อาวุโส ควรกล่าวอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นสากลหรือสิ่งที่ผู้รับพรเคารพนับถือ เช่น ขออำนาจคุณพระแก้วมรกต ดลบันดาลให้ท่านพบความสุขี มีแต่ความสวัสดี โชคดีทุกคืนวัน

4. ให้พรที่เหมาะสมกับผู้รับพรและเป็นพรที่สร้างสรรค์ในด้านต่าง ๆ เช่น ความสุข หน้าที่การงาน ความสำเร็จ ความสมหวัง สุขภาพ อายุยืนยาว เป็นต้น

5. ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้องเหมาะสมโดยพยายามสรรหาคำที่ไพเราะและมีความหมายดี

 

การอวยพรเป็นการตอบสนองทางจิตใจ ทำให้ผู้รับเกิดกำลังใจ ความเชื่อมั่น และความสุข ดังนั้นผู้ที่อวยพรจึงต้องเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับโอกาสต่าง ๆ และแสดงความปรารถนาดีผ่านภาษาที่ถ่ายทอดออกไป เมื่อได้เรียนรู้การเขียนคำอวยพรไปแล้ว เชื่อว่าหลังจากนี้หากน้อง ๆ ต้องเขียนอวยพรให้กับใคร ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็อย่าลืมบทเรียนนี้ และเลือกใช้คำที่ไพเราะ มีความหมายดี และที่สำคัญที่สุดคือต้องเหมาะสมกับโอกาสนั้น ๆ ด้วยนะคะ สุดท้ายนี้เพื่อเป็นการทบทวนบทเรียน น้อง ๆ อย่าลืมตามไปชมคลิปครูอุ้มเพื่อไม่ให้พลาดบทเรียนสนุก ๆ กันนะคะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การทดลองสุ่มและเหตุการณ์

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ และอธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ น้องๆสามารถทบทวน ความน่าจะเป็น ได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็น ⇐⇐ การทดลองสุ่ม การทดลองสุ่ม  คือ การทดลองซึ่งทราบว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะเป็นอะไรได้บ้าง  แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าในแต่ละครั้งที่ทำการทดลอง  ผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้เหล่านั้น  เช่น การโยนเหรียญซึ่งมีผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ หัวหรือก้อย เมื่อโยนเหรียญ

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

ม.1 หลักการใช้ Past Simple

หลักการใช้ Past Simple Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง หลักการใช้ Past Simple   ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด Past Simple Tense     หลักการใช้ง่ายๆ ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับ ตัวอย่างประโยคทั่วไปที่มักเจอบ่อยๆ   บอกเล่า I saw Jack yesterday.

เรียนรู้สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์

จากที่เราได้เรียนรู้ในเรื่องของสำนวนกันมามากแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความหมาย ที่มา ลักษณะ ความสำคัญ หรือคุณค่า รวมไปถึงตัวอย่างสำนวนไทยน่ารู้ที่เราได้ยกมาแล้วอธิบายความหมาย แต่น้อง ๆ สังเกตไหมคะว่า สำนวนไทยมีหลายสำนวนเลยที่มักจะเกี่ยวข้องกับสัตว์ สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์ ไม่ได้มีขึ้นเพื่อกล่าวถึงสัตว์ตรง ๆ แต่เป็นการนำสัตว์มาเปรียบเทียบกับคน บทเรียนในวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้กันว่าสัตว์แต่ละชนิดแทนพฤติกรรมไหนของคน และจะมีสำนวนใดบ้างที่เราควรรู้ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ   สำนวนไทยที่เกี่ยวกับสัตว์  

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง เป็นการส่งสมาชิกจากของเซตหนึ่งเรียกเซตนั้นว่าโดเมน ส่งไปให้สมาชิกอีกเซตหนึ่งเซตนั้นเรียกว่าเรนจ์ จากบทความก่อนหน้าเราได้พูดถึงฟังก์ชันและการส่งสมาชิกในเซตไปแล้วบางส่วน ในบทความนี้เราจะได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งมากขึ้น จากที่เรารู้ว่าเซตของคู่อันดับเซตหนึ่งจะเป็นฟังก์ชันได้นั้น สมาชิกตัวหน้าต้องไปเหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่งเป็นการกำหนดขอบเขตให้ฟังก์ชันนั้นแคปลงกว่าเดิม เช่น {(1, a), (2, b), (3, a), (4, c)}  จากเซตของคู่อันดับเราสมารถตอบได้เลยว่าเป็นฟังก์ชัน เพราะสมาชิกตัวหน้าไม่เหมือนกัน แต่ฟังก์ชันจากเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง คือการที่เรามีเซต 2 เซต แล้วเราส่งสมาชิกในเซตหนึ่งไปอีกเซตหนึ่ง

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

หลักการของอัตราส่วนที่เท่ากัน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้วิธีการในการหาค่าตัวแปรในการใช้สัดส่วน สามารถมารถนำไปประยุกต์ใช้กับการแก้โจทย์ปัญหาในชีวิตจริงได้ พิจารณาสิ่งที่ต้องการแสดงการเปรียบเทียบโดยการเขียนเป็นอัตราส่วนสองอัตราส่วนอย่างเป็นลำดับและหาค่าของตัวแปรได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1