การอ่านบทร้อยแก้ว อ่านอย่างไรให้น่าฟัง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องการบทร้อยกรองไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงบทร้อยแก้วกันบ้าง ซึ่งน้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักบทร้อยแก้วกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่า การอ่านบทร้อยแก้ว ก็มีวิธีอ่านที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะการที่เราอ่านไม่ถูกต้องนั้นก็อาจจะทำให้ไม่น่าฟัง น่าเบื่อ รวมไปถึงอาจทำให้ใจความที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อสารคลาดเคลื่อนได้อีกด้วย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีหลักเกณฑ์และวิธีอ่านอย่างไร ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

 

ร้อยแก้วคืออะไร ?

 

บทข้อความทั่วๆ ไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยต้องเขียนเป็นประโยค ข้อความติดต่อกัน ตามปกติ มีประธาน กริยา กรรม เรียงร้อยข้อความไปตามเจตนาของผู้พูดหรือผู้เขียน ไม่มีสัมผัสเหมือนบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้อยแก้ว

 

การอ่านบทร้อยแก้ว

การอ่านบทร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ โดยเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไปตามความนิยมและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน โดยสามารถแสดงลีลาการอ่านให้เข้าถึงอารมณ์ตามเจตนาของผู้ประพันธ์ได้เพื่อให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการฟังบทประพันธ์ที่อ่าน

 

หลักเกณฑ์ในการอ่านบทร้อยแก้ว

 

การอ่านบทร้อยแก้ว

 

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการอ่านบทร้อยแก้วมีดังนี้

  1. การยืนต้องยืนตรงแต่ไม่เกร็ง เท้าทั้งสองห่างกันพอสมควร น้ำหนักตัวตกอยู่ที่ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง ถ้านั่งก็ต้องนั่งให้เรียบร้อย หลังตรงแต่ไม่แข็งทื่อ ขาวางแนบกัน ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง ยกเว้นแต่ว่าผู้ฟังจะเป็นเพื่อนที่สนิทสนมและอยู่ในสถานที่ที่มีแต่คนสนิทกันเอง
  2. การจับหนังสือ จับหนังสือให้มั่น ให้ช่วงสายตากับตัวหนังสืออยู่ในระดับที่เหมาะสม
  3. ควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจโดยศึกษาสาระสำคัญของเรื่องและข้อความทุกข้อความ เพื่อจะแบ่งวรรคตอนในการอ่านได้อย่างเหมาะสม
  4. นำเนื้อหาที่จะอ่านมาแบ่งวรรคตอนเพื่อที่ตอนอ่าน จะอ่านได้อย่างลื่นไหล ไม่ติดขัด ไม่ตะกุกตะกัก
  5. อ่านออกเสียงให้ดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้ยินทั่วกัน ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
  6. อ่านให้คล่อง และออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิถีและชัดเจน โดยเฉพาะตัว ร ล และคำควบกล้ำ
  7. อ่านออกเสียงให้เป็นธรรมชาติที่สุด
  8. เน้นเสียงและถ้อยคำตามน้ำหนักความสำคัญของใจความและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่องตัวละครกำลังโกรธ ก็ควรออกเสียงให้ดุดัน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงอารมณ์ไปด้วย
  9. ไม่ก้มหน้าก้มตาอ่าน ควรมองตาผู้ฟังบ้างระหว่างเล่า

 

วิธีแบ่งจังหวะในการอ่านบทร้อยแก้ว

 

การฝึกอ่านร้อยแก้ว จะใช้เครื่องหมายแบ่งวรรคตอนในการอ่านเพื่อเป็นการเว้นช่วงจังหวะการอ่าน

 

การอ่านบทร้อยแก้ว

 

วิธีการอ่านบทร้อยแก้วแบบต่าง ๆ

 

 

  1. วิธีการอ่านแบบบรรยาย ออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดถ้อยชัดคำ เว้นวรรคตอนให้เหมาะสม เน้นเสียงและถ้อยคำตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ
  2. วิธีการอ่านแบบพรรณนาให้เห็นภาพ ควรออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างธรรมชาติที่สุด ใช้น้ำเสียงและอารมณ์ให้เหมาะกับเนื้อความ บทสนทนา และบทบรรยาย ใช้น้ำเสียงแตกต่างกัน แต่ให้เปลี่ยนไปตามอารมณ์ของตัวละครที่พูด

 

ตัวอย่าง

 

 

 

ถึงแม้ว่าการอ่านบทร้อยแก้ว จะเป็นการอ่านที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันบ่อยที่สุด และดูเหมือนจะไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ก็ประมาทไม่ได้นะคะ เพราะถึงจะเป็นบทร้อยแก้วไม่ใช่บทร้อยกรอง เราก็ต้องแบ่งจังหวะการอ่านให้พอดี มิเช่นนั้นจะดูเหมือนเป็นการท่องจำ อาจทำให้ฟังดูแล้วน่าเบื่อได้ค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้นะคะ จะมีการอธิบายเกี่ยวกับบทร้อยแก้วไว้ รับรองว่าทั้งสนุก เพลิดเพลิน และได้ความรู้อีกด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ช่วงของจำนวนจริง

ช่วงของจำนวนจริง ช่วงของจำนวนจริง เอาไว้บอกขอบเขตของตัวแปรตัวแปรหนึ่ง เช่น x เป็นตัวแปรที่ไม่ทราบค่า a, b เป็นค่าคงที่ใดๆ a < x < b หมายความว่า ค่าของ x อยู่ระหว่าง a ถึง b เป็นต้น ช่วงของจำนวนจริง ประกอบไปด้วย ช่วงเปิดและช่วงปิด

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

โจทย์ปัญหาการวัด ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ตัวอย่างโจทย์การแปลงหน่วย และหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้สูตรที่เร็วขึ้น

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1