การอ่านบทร้อยกรอง กาพย์และโคลงอ่านอย่างไรให้ไพเราะ

การอ่านบทร้อยกรอง

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ คงจะรู้การคำประพันธ์อย่างกาพย์และโคลงกันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีไทยหลาย ๆ เรื่องที่เราเรียนกันมา ก็ใช้กาพย์และโคลงแต่งกันเสียส่วนใหญ่ และหลังจากที่ได้เรียนลักษณะการแต่งกาพย์กับโคลงสี่สุภาพ ให้ไพเราะกันไปแล้ว จะแต่งอย่างเดียวโดยไม่อ่านให้ถูกต้องก็ไม่ได้ใช่ไหมล่ะคะ ดังนั้นบทเรียนวันนี้จะพาร้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การอ่านบทร้อยกรอง กันบ้าง ว่ามีวิธีอ่านอย่างไรให้ถูกต้องและไพเราะ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านบทร้องกรอง ประเภทกาพย์

 

 

จังหวะการอ่านกาพย์

กาพย์แต่ละประเภท จะแบ่งจังหวะดังนี้

 

การอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านกาพย์ยานี 11

 

กาพย์ยานีมีจังหวะที่ดำเนินช้า จึงนิยมแต่งในความพรรณนา เช่น ชมนกชมไม้ พรรณนาความสวยงามของธรรมชาติ พรรณนาอารมณ์โศก คร่ำครวญ หรือใช้แต่งบทสวด บทสรภัญญะที่ใช้ในบทละคร เป็นต้น

 

ตัวอย่าง

เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//

ทิพากร/จะตกต่ำ//

สนธยา/จะใกล้ค่ำ//

คำนึงหน้า/เจ้าตาตรู//

 

การอ่านกาพย์ฉบัง 16

 

กาพย์ฉบังจะใช้พรรณนาธรรมชาติที่เคลื่อนไหว พรรณนาอารมณ์คึกคัก สดชื่น รื่นเริง เป็นต้น กาพย์ฉบัง 16 แบ่งจังหวะวรรคแรกและวรรคท้ายเป็น 2/2/2 วรรคกลางเป็น 2/2

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

ตัวอย่าง

สัตว์จำ/พวกหนึ่ง/สมญา

พหุ/บาทา//

มีเท้า/อเนก/นับหลาย//

 

ทำนองการอ่านกาพย์

 

กาพย์ยานี 11

วรรคที่ 1 และ 2 อ่านเสียงให้เป็นกลาง ๆ หรือเสียงสูงในวรรคที่ 2 ส่วนวรรคที่ 3 และ 4 อ่านเสียงสูงขึ้น 1 บันไดเสียง หรืออ่านเสียงสูงเสมอกันทุกวรรค โดยบางวรรคอาจสลับเป็นอ่านเสียงต่ำเพื่อให้เกิดความไพเราะ

กาพย์ฉบัง 16

อ่านเสียงสูงเสมอกันทุกวรรค หรืออ่านวรรคที่ 2 ต่ำกว่าวรรคที่ 2 ต่ำกว่าวรรคอื่น 1 บันไดเสียง

 

การอ่านกาพย์ควรใส่อารมณ์สอดแทรกลงไปในบทที่อ่าน ให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและบรรยากาศโดยอาศัยการตีความตัวบทที่จะอ่านให้ถ่องแท้เสียก่อนแล้วอ่านถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็นท่วงทำนองให้น่าฟัง

 

การอ่านบทร้อยกรอง ประเภทโคลง

 

 

โคลง มีลักษณะการใช้คำที่สั้น กะทัดรัด เนื้อความกระชับ เนื่องจากมีการดำหนดจำนวนจำแต่ละวรรคไม่มากนัก และยังมีคำเอกคำโทอีกด้วย  ทำให้บางคนอ่านแล้วอาจทำให้เสียงหลง แต่ถ้าหากอ่านให้ถูกวิธี การอ่านโคลง ก็จะไพเราะไม่แพ้บทร้อยกรองประเภทอื่นเลยค่ะ

 

การแบ่งจังหวะการอ่านโคลง

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

การอ่านโคลงสี่สุภาพ

 

การอ่านโคลงสี่สุภาพ จะแบ่งจังหวะ 3 บาทแรก เป็น 2/3 และ 2 หรือ 2/2 ถ้ามีคำสร้อย บาทสุดท้ายเป็น 2/3 และ 2/2

 

การอ่านบทร้อยกรอง

 

ตัวอย่าง

ผลเดื่อ/เมื่อสุกไซร้//  มีพรรณ

ภายนอก/แดงดูฉัน//  ชาดป้าย

ภายใน/ย่อมแมลงวัน//  นอนบ่อน

ดุจดั่ง/คนใจร้าย//  นอกนั้น/ดูงาม

 

ทำนองการอ่านโคลงสี่สุภาพ

 

-อ่านด้วยเสียงระดับเดียวกันทั้งบท บางคำขึ้นลงสูงต่ำตามเสียงวรรณยุกต์ ยกเว้นวรรคแรกของบาทที่ 3 จะอ่านเสียงสูงกว่าทุกวรรค 1 บันไดเสียง หรือวรรคสุดท้าย อาจจะอ่านเป็นเสียงต่ำกว่าทุกวรรค 1 บันไดเสียง

-คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ 2 หากเป็นเสียงตรี สามารถอ่านได้สองแบบ คือ อ่านผวนเสียงขึ้นสูง หรืออ่านเสียงทบต่ำ

-คำสุดท้ายของบาทที่ 1 หรือ 4 หากเป็นเสียงจัตวา มักอ่านขึ้นเสียงและผวนเสียงขึ้นสูง

 

 

จบไปแล้วนะคะ สำหรับบทเรียนเรื่องการอ่านบทร้อยกรอง ประเภทกาพย์และโคลง เป็นอีกคำประพันธ์ที่เมื่ออ่านแล้วจะมีความไพเราะมาก ไม่ยากอย่างที่คิดเลยค่ะ น้อง ๆ สามารถฝึกอ่านได้ด้วยตัวเอง หรือจะไปฟังคำอธิบายจากครูอุ้มในคลิปการสอนเรื่อง การอ่านบทร้อยกรองได้ รับรองว่าจะสามารถเข้าใจการอ่านและอ่านได้อย่างถูกวิธีมากขึ้นด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนรู้ความเหมือนที่แตกต่างของคำพ้อง

  น้อง ๆ หลายคนคงจะเคยเห็นฝาแฝดกันมาบ้างใช่ไหมคะ แล้วรู้หรือเปล่าคะว่าในภาษาไทยเรานั้นก็มีฝาแฝดเหมือนกัน แต่ฝาแฝดนั้นถูกเรียกว่า คำพ้อง นั่นเองค่ะ หลายคำในภาษาไทยมีจุดที่เหมือนกันแต่ก็มีส่วนที่ต่างกันออกไปด้วย เพื่อไม่ให้สับสนว่าคำไหนคือคำไหน อ่านอย่างไร หมายความว่าอะไรกันแน่ วันนี้เราไปเรียนรู้เรื่องคำพ้องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำพ้อง   ความหมายของคำพ้อง     ประเภทของคำพ้อง     คำพ้องเสียง

เพลงชาติไทย สัญลักษณ์ของความรักชาติที่ถูกถ่ายทอดผ่านบทเพลง

‘ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย’ เชื่อว่าพอขึ้นต้นด้วยประโยคนี้ จะต้องมีน้อง ๆ หลายคนอ่านเป็นทำนองแล้วร้องต่อในใจแน่นอนว่า ‘เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน’ เพราะนี่คือ เพลงชาติไทย ที่เราได้ยินตอนแปดโมงเช้ากับหกโมงเย็นของทุกวันนั่นเองค่ะ บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงความเป็นมา และความหมายของเพลงชาติไทยกันค่ะ มาดูพร้อมกันเลย   ประวัติความเป็นมาของ เพลงชาติไทย     ก่อนที่จะมีเพลงชาติไทย ประเทศไทยใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีที่เป็นเพลงประจำองค์พระมหากษัตริย์ เป็นเพลงประจำชาติ จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.

การเปลี่ยนแปลงคำ เรียนรู้วิวัฒนาการทางภาษาที่ไม่เคยหยุดนิ่ง

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน แต่ในเมื่อสังคมมนุษย์ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ และมีความเจริญทางวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาอยู่เสมอ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษามากมาย การเปลี่ยนแปลงคำ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติของมนุษย์ จากครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของประโยคกันไป บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ เจาะลึกอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงคำว่ามีอะไรกันบ้าง และมีคำใดที่เคยใช้ในสมัยโบราณแต่ปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงคำ   เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดและเขียนเมื่อถูกใช้ต่อกันมาเรื่อย ๆ ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงคำต่าง ๆ สามารถแบ่งได้ดังนี้     1.

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา

สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา ศึกษาที่มาและคุณค่าในสำนวน

  สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา มีอยู่มากมายเลยทีเดียวค่ะ เพราะพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเรามาตั้งแต่อดีตกาล ทำให้มีความเกี่ยวโยงไปถึงสำนวน ซึ่งเป็นเหมือนถ้อยคำที่ใช้สั่งสอนและให้ข้อคิดแก่ผู้คนมายุคต่อยุค บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงสำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา และคุณค่าที่อยู่ในสำนวน ถ้าพร้อมแล้ว ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา   สำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา มาจากความเชื่อเรื่องศาสนาพุทธของคนไทย โดยความหมายของสำนวนจะมีทั้งสำนวนที่ยังมีเค้าของความหมายเดิม และสำนวนที่ความหมายเปลี่ยนไป   ตัวอย่างสำนวนไทยที่เกี่ยวกับศาสนา  

ม.1 There is_There are ทั้งประโยคบอกเล่า_ คำถาม_ปฏิเสธ

การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ ตารางแสดงความแตกต่างของ  There is/There are และ  Have/Has นักเรียนลองสังเกตดูความแตกต่างของการใช้ There is/There are กับ Have/has จากตารางด้านล่าง ดูนะคะ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1