การพูดอภิปรายอย่างง่าย ทำได้ไม่ยาก

การพูดอภิปราย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การพูดอภิปราย เป็นแบบการพูดซึ่งมีลักษณะคล้ายการสนทนาทั่วไป แต่ก็มีจุดที่แตกต่างกันอยู่ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าคืออะไร แล้วสรุปว่าการพูดอภิปรายคืออะไร มีหลักในการพูดอย่างไรได้บ้าง บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและฝึกพูดให้คล่อง เพื่อที่เมื่อถึงเวลาอภิปราย จะได้ผ่านกันแบบฉลุยไร้กังวล ถ้าอยากเรียนรู้แล้วล่ะก็ ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

ความหมายของการพูดอภิปราย

 

การพูดอภิปราย หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหา
การอภิปรายจึงเป็นการจัดเพื่อให้ส่วนรวมได้แสดงออกอย่างมีเหตุผลและหาข้อสรุปเพื่อตัดสินใจร่วมกัน

 

การพูดอภิปราย

 

ความสำคัญของการอภิปราย

 

การพูดอภิปราย

 

องค์ประกอบของการอภิปราย

 

การพูดอภิปราย

 

ประเภทของการอภิปราย

 

 

  1. การอภิปรายกลุ่ม

การอภิปรายกลุ่มจะมีผู้ร่วมอภิปรายประมาณ 4-20 คน ผู้เข้าร่วมอภิปรายมีส่วนร่วมในการพูดแสดงความคิดเห็น ปรึกษาหารือและหาข้อสรุปร่วมกัน การอภิปรายกลุ่มจะไม่มีบุคคลภายนอกมาร่วมด้วย เพราะโดยส่วนมากการอภิปรายกลุ่มมักจะเป็นการประชุมอภิปรายกันเฉพาะแค่ในกลุ่มของหน่วยงานเท่านั้น

  1. การอภิปรายในที่ประชุมชน

ประชุมชน หมายถึง สาธารณชน ดังนั้นการอภิปรายในที่ประชุมชน หมายถึง การพูดอภิปรายต่อหน้าสาธารณชนโดยมีกลุ่มผู้อภิปรายและกลุ่มผู้ฟังอยู่ในที่ประชุมชนนั้นด้วย โดยทุกคนมีสิทธิในการแสดงออกความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน และกลุ่มผู้ฟังสามารถซักถามผู้อิปรายในช่วงท้ายของการอภิปรายได้ ซึ่งการอภิปรายในที่ประชุมชน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

2.1 การอภิปรายเป็นคณะ (Panel Discussion)

เป็นการอภิปรายที่มีคณะผู้อภิปรายประมาณ 3-5 คน แยกจากกลุ่มผู้ฟัง อาจจะนั่งบนเวทีและหันหน้าไปทางผู้ฟัง และมีผู้ดำเนินการอภิปรายทำหน้าที่ดำเนินตลอดการอภิปราย โดยในการอภิปรายเป็นคณะนี้ จะต้องกำหนดหัวข้อให้ชัดเจน ผู้อภิปรายจะต้องแสดงความคิดเห็นในหัวข้อของตนทีละคนภายในช่วงเวลาที่กำหนด ดังนั้น ผู้อภิปรายจะต้องศึกษาหาความรู้ ค้นคว้า เรื่องราวและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวข้อที่ตนจะพูดอภิปรายเพื่อนำมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในที่ประชุมชน

2.2 การอภิปรายแบบซิมโพเซียม (Symposium)

เป็นการอภิปรายของกลุ่มผู้อภิปรายที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะต้องอภิปรายกันเป็นคณะประมาณ 3-5 คน โดยมีผู้ดำเนินการอภิปรายเป็นผู้ประสานการอภิปรายเช่นเดียวกับการอภิปรายเป็นคณะ การอภิปรายแบบซิมโพเซียม มีความแตกต่างจากการอภิปรายเป็นคณะในส่วนที่เกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่จะอภิปราย ซึ่งผู้อภิปรายแต่ละคนจ้องมีความรู้และเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่จะอภิปรายอย่างลึกซึ้ง

2.3 การอภิปรายซักถาม (Colloquy)

เป็นการอภิปรายที่มีคณะบุคคลสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่จะอภิปราย ทำหน้าที่เป็นผู้อภิปราย มีกลุ่มหนึ่งจะเป็นผู้ซักถาม โดยตลอดการดำเนินการอภิปรายจะมีผู้ประสานให้การถามและการตอบเป็นไปอย่างราบรื่น

 

หน้าที่ของผู้อภิปราย

 

 

 

เป็นอย่างไรบ้างคะน้อง ๆ สำหรับบทเรียนเรื่องนี้ การพูดอภิปรายเป็นพูดเพื่อแสดงความรู้ ถึงแม้จะต้องเตรียมตัวเพื่อหาข้อมูลมาพูด แต่ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยนะคะ ถ้าน้อง ๆ ได้ลองฝึกพูดบ่อย ๆ รับรองว่าจะต้องพูดได้คล่อง และได้แลกเปลี่ยนความเห็น เพิ่มพูนความรู้ให้ตัวเองมากขึ้นอีกแน่นอนค่ะ สุดท้ายนี้อย่าลืมติดตามคลิปการสอนย้อนหลังของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายเพิ่มเติมนะคะ จะได้เข้าใจถึงความหมายและประเภทของการพูดอภิปรายมากขึ้นอีกด้วยค่ะ ไปชมกันเลย

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

Suggesting Profile

การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิค การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า การแสดงความต้องการ     Question: สงสัยมั้ยว่า need/want /would like to have สามคำนี้ต่างกันยังไง? ตัวอย่างการใช้ need VS want  ในประโยคบอกเล่า เช่น

การบวกและการลบเอกนาม

การบวกและการลบเอกนาม บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จักเอกนามและเข้าใจวิธีการบวกลบเอกนามได้อย่างง่ายดาย ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างการบวกและการลบเอกนามมานำเสนออกในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เอกนาม เอกนาม คือ นิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปการคูณของค่าคงตัวกับตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป โดยเลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็นศูนย์หรือจำนวนเต็มบวก ค่าคงตัว คือ ตัวเลข ตัวแปร คือ สัญลักษณ์ของข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ มักเขียนอยู่ในรูปสัญลักษณ์ x, y เอกนาม ประกอบด้วย 2

สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก

ในบทความนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้สมบัติของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากที่ทำให้เข้าใจง่ายและมีวิธีในการวิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลาย

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม

ทบทวนจำนวนเต็ม บทความนี้จะทำให้น้องๆ เข้าใจ การเปรียบเทียบจำนวนเต็ม ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลาย น้องๆรู้จัก จำนวนเต็ม กันแล้ว แต่หลายคนยังไม่สามาถเปรียบเทียบความมากน้อยของจำนวนเต็มเหล่านั้นได้ ซึ่งถ้าน้องๆ เคยเรียนเรื่องการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละมาแล้ว เรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ทบทวนเรื่องจำนวนเต็ม  เช่น                                                                                                     25 ,  9  , -5 , 5.5 ,

ตัวประกอบของจำนวนนับ

ตัวประกอบของจำนวนนับ ป.6

บทความนี้จะให้ความรู้เกี่ยวกับตัวประกอบของจำนวนนับ น้องๆชั้นป.6 จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหมายของตัวประกอบ รวมไปถึงวิธีหาตัวประกอบของจำนวนนับนั่นเอง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1