กัณฑ์มัทรี ศึกษาตัวบทและข้อคิดของกัณฑ์ที่ 9 ในมหาชาติชาดก

กัณฑ์มัทรี

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กัณฑ์ หมายถึง คำเทศน์ หรือตอนหนึ่ง ๆ ของเทศน์เรื่องยาว นับเป็นลักษณนามของเทศน์ ในมหาชาติชาดก เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมากันไปแล้วว่ามีทั้งหมด 13 กัณฑ์ รวมถึงเรื่องย่อของกัณฑ์มัทรี ซึ่งเป็นกัณฑ์ที่ 9 มีความเชื่อว่าถ้าใครได้ฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ของมหาชาติชาดก ก็จะทำให้ขึ้นสวรรค์ นอกจากนี้หากบูชากัณฑ์ต่าง ๆ ก็จะได้ผลที่ดีแก่ตัวเอง ผู้ที่บูชากัณฑ์มัทรี จะทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว มีรูปโฉมที่สวยงาม ไปที่ไหนก็จะพบแต่ความสุข น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เนื้อหาใน กัณฑ์มัทรี นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วล่ะก็เราไปเจาะลึกตัวบทเด่น ๆ กันค่ะว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง

 

ตัวบทเด่นใน กัณฑ์มัทรี

 

ตัวบทที่ 1

กัณฑ์มัทรี

 

เป็นการบรรยายถึงเหตุการณ์ตอนที่นางมัทรีวิ่งตามหาลูกไปทั่วป่า ใช้ตามองไปทุกหนแห่ง ใช้หูฟังเสียงลูก ตะโกนเรียกลูกจนสุดเสียง และออกวิ่งสุดฝีเท้าเพื่อตามหาลูกเท่าที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะทำได้ ในบทนี้โดดเด่นในเรื่องการซ้ำคำ ซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญของมหาชาติสำนวนของภาคกลาง จะเห็นได้เรื่อย ๆ ในบทต่อ ๆ ไป

 

ตัวบทที่ 2

กัณฑ์มัทรี

 

เป็นตอนที่นางมัทรีกลับมาถามพระเวสสันดรว่าพระกุมารหายไปไหน แล้วพระเวสสันดรแกล้งกล่าวโทษว่าเพราะนางมัทรีหลงลืมลูกไม่สนใจผัว มัวแต่อยู่ในป่า แม้ตอนแรกจะทำเป็นไม่อยากไปก็ตาม แต่กลับมาซะเย็น พอหาลูกไม่เจอก็ตีอกชกหัวว่าลูกหายไปไหน และยังว่าอีกว่าใครจะไปรู้ความคิดผู้หญิง ถ้ารักลูกจริงเหมือนที่พูดก็ต้องรีบกลับมาก่อนตะวันจะตกดิน บทนี้สะท้อนความมีไหวพริบของผู้พูดอย่างพระเวสสันดรที่ออกอุบายให้นางมัทรีคลายความเศร้าและเปลี่ยนมาโกรธแทน

 

 

เป็นตอนที่นางมัทรีไปตามหาพระกุมารทั้ง 2 ตั้งแต่ค่ำจนรุ่งเช้า จนเกิดอาการอ่อนเพลียจึงสลบไป เมื่อพระเวสสันดรมาเห็นก็ตกใจ คิดว่านางมัทฟรีสิ้นใจแล้ว จึงยกศีรษะของนางมาวางบนตักแล้วตัดพ้อว่า ตนเองบุญน้อยแล้วนางยังจะมาจากไปอีก จะเอาป่านี่มาเป็นป่าช้าฝังศพ จะเอาศาลานี่มาเป็นเมรุเผาศพ จะเอาเสียงนกสาลิกามาเป็นเสียงกลองในงานศพ จะเสียงจักจั่นมาเป็นเสียงแตรสังข์ จะเอาเมฆหมอกในอากาศมากั้นเป็นเพดานหรือ

ซึ่งพระเวสสันดรตัดพ้อขึ้นมาเพราะกำลังเสียใจอย่างมาก คิดว่านางมัทรีสิ้นใจแล้วจึงตั้งคำถามว่านางจะมาตายในป่าแบบนี้จริงหรือ เพราะนอกจากจะโดนเนรเทศมาอยู่ในป่ากับด้วยกันกับลูกแล้ว ตอนนี้ลูกยังต้องไปอยู่กับชูชกทำให้เหลือกันอยู่แค่สองคนผัวเมีย แล้วนางก็จะยังจะจากไปอีก บทนี้ถึงนางมัทรีไม่ได้ตายจริง ๆ แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ความรักของสามีที่มีต่อภรรยา

 

คำศัพท์

 

 

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

ลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ ใครจะรัก จะห่วง จะให้ลูกได้เท่ากับที่พ่อแม่รัก นั้นย่อมหาได้ยาก

 

จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้กันไป ทำให้ได้รู้ว่าการเทศน์มหาชาติคือมหากุศลที่เตือนบุคคลให้ตระหนักถึงการบำเพ็ญบารมี ให้ทาน สละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เรียกได้ว่ามีประโยชน์รอบด้าน ทั้งฟังและได้บุญ ได้ข้อคิด นำพาให้เราไปทำในสิ่งที่ดี ก็ยังได้ซึมซับความสวยงามของภาษาที่ใช้ในบทประพันธ์นี้อีกด้วย ก่อนจากกัน น้อง ๆ สามารถติดตามคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อฟังคำอธิบายในแต่ละตัวบทเพิ่มเติม และสามารถตามไปฟังคลิปสรุปความรู้ เพื่อให้ไม่พลาดในการทำข้อสอบ ไปดูกันเลยค่ะ

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ส่วน 10 หรือ ส่วน 1000 แปลงเป็นทศนิยมกันได้หมดถ้าสดชื่น!

จากบทความที่แล้วเราได้ทราบความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมไปแล้ว เชื่อว่าน้อง ๆหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเจอเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่ใช่ 10, 100 หรือ 1000 ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยพร้อมกับแสดงวิธีคิดที่ทำให้น้อง ๆต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ง๊ายง่าย!

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

เรียนรู้เรื่อง ภาษาบาลี สันสกฤต ที่อยู่ในภาษาไทย

​  ภาษาบาลี สันสกฤต เป็นภาษาอินเดียโบราณ คำบาลี สันสกฤตที่นำมาใช้ในไทยจึงมักจะอยู่ในบทสวดเป็นส่วนใหญ่ แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วนอกจากจะอยู่ในบทสวดมนต์ ภาษาไทยก็ยังมีอีกหลายคำเลยค่ะที่ยืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต เรียกได้ว่าถูกใช้ปนกันจนบางครั้งก็อาจทำให้เราสับสนไปได้ว่าสรุปนี่คือคำจากบาลี สันสกฤตหรือไทยแท้กันแน่ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความเข้าใจ เจาะลึกลักษณะภาษาพร้อมบอกทริคการสังเกตง่าย ๆ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของภาษาบาลี สันสกฤตในประเทศไทย     การยืมภาษา

ป6การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

การใช้ love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้  love, like, enjoy, hate ในการเเต่งประโยค หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go!   โครงสร้าง: In my free time/ In my spare time,…     In my

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1