กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

กลอนสุภาพ เป็นคำประพันธ์ที่หลาย ๆ คนคงจะรู้จักกันดีเพราะพบเจอในวรรณคดีได้ง่าย ใช้กันอย่างแผ่หลาย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนมาสวมบทนักกวี ฝึกแต่งกลอนสุภาพกันอย่างง่าย ๆ จะมีวิธีและรูปฉันทลักษณ์อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ

 

ความรู้ทั่วไปเที่ยวกับกลอนสุภาพ

 

กลอนสุภาพ

กลอนสุภาพ หมายถึง กลอนเพลงยาว บางครั้งเรียก กลอนแปด กลอนตลาด กลอนสุภาพ เป็นกลอนประเภทหนึ่งที่เรียบเรียงเข้าเป็นคณะ ใช้ถ้อยคำและทำนองเรียบ ๆ เป็นพื้นฐานของกลอนหลายชนิด มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการแต่ง เช่น ถ้าแต่งเพื่อเล่นละครก็จะเรียกกลอนนั้นว่า กลอนบทละคร เป็นต้น

 

วรรณคดีที่แต่งโดยใช้กลอนสุภาพ

 

 

ก่อนที่จะมีนวนิยายให้ได้อ่านกันในปัจจุบัน เรื่องราวความบันเทิงของคนในอดีตจะอยู่ในรูปแบบของนิทาน โดยนิทานเหล่านั้นก็จะใช้การบรรยายออกมาในลักษณะของลิลิต ฉันท์ กาพย์ กระทั่งสุนทรภู่ กวีเอกของเมืองไทย เริ่มแต่งนิทานออกมาเป็นคำกลอน นั่นก็คือเรื่อง โคบุตร เรียกได้ว่าเป็นต้นแบบที่ใช้ฝึกแต่งกลอนเลยก็ว่าได้ค่ะ ทำให้การแต่งกลอนแผ่หลายมาจนถึงทุกวันนี้ และกลอนที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นยอดของกลอนสุภาพ ก็คือ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน นั่นเองค่ะ

 

 

ลักษณะของกลอนสุภาพ

 

คณะ หมายถึง การจัดคำให้เป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของรูปแบบคำประพันธ์ สำหรับกลอนสุภาพหรือกลอนแปด ในหนึ่งบทจะมี 2 บาท ซึ่งประกอบไปด้วยบาทเอกและบาทโท หนึ่งบาทมี 2 วรรค แต่ละวรรคจะมีชื่อเรียกดังนี้

วรรคแรก เรียกว่า วรรคสดับ

วรรคสอง เรียกว่า วรรครับ

วรรคสาม เรียกว่า วรรครอง

วรรคสี่ เรียกว่า วรรคส่ง

คำหรือพยางค์ กลอนสุภาพหรือกลอน 8 มีจำนวนคำ 8 คำตามชื่อ แต่บางกรณีถ้าหาคำลงไม่ได้ก็สามารถอนุโลมให้มี 7-9 คำได้

สัมผัส คือ ลักษณะที่บังคับให้ใช้คำที่เสียงสัมผัสคล้องจองกัน

1. สัมผัสสระ เป็นคำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปที่มีเสียงสระพ้องกัน ถ้ามีตัวสะกด มาตราตัวสะกดนั้นก็ต้องเป็นมาตราตัวสะกดเดียวกัน

2. สัมผัสอักษร คำที่มีพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน อาจเป็นพยัญชนะตัวเดียวกัน พยัญชนะควบชุดเดียวกัน หรือเป็นพยัญชนะเสียงต่ำคู่เสียงสูงก็ได้

3. สัมผัสใน เป็นการสัมผัสที่ไม่บังคับ คำ 2 คำที่คล้องจองจะอยู่ในวรรคเดียวกัน สามารถสัมผัสได้ทั้งสระและอักษร สัมผัสในช่วยให้บทร้อยกรองมีความไพเราะมากขึ้น

4. สัมผัสนอก เป็นสัมผัสบังคับ ดังนี้

  • สัมผัสระหว่างวรรค

– คำสุดท้ายของวรรคสดับ สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 5 ของวรรครับ

– คำสุดท้ายของวรรครับ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง

– คำสุดท้ายของวรรครอง สัมผัสกับคำที่ 3 หรือ 5 ของวรรคส่ง

  • สัมผัสระหว่างบท

– คำสุดท้ายของวรรคส่ง สัมผัสกับคำสุดท้ายของบทต่อไป

 

กลอนสุภาพ

 

กลอนสุภาพ แต่งอย่างไรให้ไพเราะ

 

กลอนสุภาพ

 

การแต่งกลอน ต้องเขียนให้เป็นเรื่องราว สามารถสื่อความหมายได้ แต่นอกจากเนื้อหาแล้ว ความไพเราะก็จะอยู่ที่การใช้ภาษา การเลือกคำมาแต่ง รวมไปถึง คำท้ายวรรค การลงเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรคที่จะช่วยให้กลอนมีความไพเราะมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีการบังคับ แต่เสียงวรรณยุกต์ก็มีความสำคัญ เพราะจะทำให้กลอนที่แต่งมีความไพเราะมากขึ้นนั่นเองค่ะ ตัวอย่างเช่น ถ้าคำสุดท้ายของวรรครับเป็นเสียงวรรณยุกต์เดียวกันกับคำสุดท้ายของวรรครอง เวลาอ่านแล้วจะรู้สึกว่ากลอนบทนั้นเป็นบทเรียบ ๆ ไม่น่าสนใจ

 

การลงเสียงวรรณยุกต์

วรรคสดับ เลี่ยงเสียงสามัญ

วรรครับ เสียงเอก โท จัตวา

วรรครอง เสียงสามัญ ตรี

วรรคส่ง เสียงสามัญ ตรี

 

รูปตัวอย่างบทกลอนที่ไพเราะ จากเรื่องพระอภัยมณี

 

หลังจากได้เรียนรู้เรื่องการแต่งกลอนสุภาพไปอย่างคร่าว ๆ แล้วไม่ยากเลยใช่ไหมคะ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่อ่านวิธีแต่งกลอนสุภาพแล้วยังไม่เห็นภาพชัดเจน ก็สามารถไปติดตามดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้เลยค่ะ ในคลิป ครูอุ้มจะอธิบายวิธีการแต่งกลอนสุภาพอย่างละเอียด ดูจบแล้ว ก็สามารถฝึกแต่งกลอนด้วยตัวเองได้ทันที ไปชมกันเลยค่ะ

 

ฝึกแต่งกลอนสุภาพ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

หลักการเบื้องต้นของอัตราส่วน

“อัตราส่วน คือ ปริมาณ อย่างหนึ่งที่แสดงถึง จำนวน หรือ ขนาด ตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีก ปริมาณ หนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน ที่อาจมีได้ตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป”

ฉันท์

ฉันท์ เรียนรู้การแต่งคำประพันธ์โบราณที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดีย

จากที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับวรรณคดีกันมามากมายหลายเรื่อง น้อง ๆ หลายคนคงจะพอจะคุ้นหูและผ่านตากันมาบ้างแล้วกับคำประพันธ์ประเภท ฉันท์ แต่เมื่อเห็นครั้งแรก ด้วยความที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้น้อง ๆ คิดว่าคำประพันธ์ประเภทนี้แต่งยาก เพราะรู้สึกไม่คุ้นเคยเหมือนอย่างพวกกาพย์หรือกลอน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าจริง ๆ แล้วการแต่งฉันท์ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิดเลยค่ะ บทเรียนในวันนี้นอกจากจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ความเป็นมาของฉันท์ รวมไปถึงลักษณะบังคับต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อฝึกแต่งกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้กันเลยดีกว่า   ความเป็นมาของ ฉันท์  

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์

การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ การบวก ลบ และคูณเมทริกซ์ เราจะนำสมาชิกของเมทริกซ์แต่ละเมทริกซ์มาบวก ลบ คูณกัน ซึ่งการดำเนินการเหล่านี้มีสมบัติและข้อยกเว้นต่างกันไป เช่น การบวกต้องเอาสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เป็นต้น ต่อไปเราจะมาดูวิธีการบวก ลบ และคูณเมทริกซ์กันค่ะ การบวกเมทริกซ์ เมทริกซ์ที่จะนำมาบวกกันได้นั้น ต้องมีมิติเท่ากัน และการบวกจะนำสมาชิกตำแหน่งเดียวกันมาบวกกัน เช่น 1.)  2.)    การลบเมทริกซ์ การลบเมทริกซ์จะคล้ายๆกับการบวกเมทริกซ์เลย

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร น้องๆจะต้องวิเคราะห์โจทย์ปัญหา แปลงโจทย์ปัญหาให้เป็นสมการ 2 สมการขึ้นไป และแก้สมการเพื่อหาคำตอบ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ ตัวอย่างที่ 1 ในเข่งหนึ่งมีจำนวนมะม่วงและจำนวนมังคุดรวมกันอยู่ 68 ผล ถ้าจำนวนมะม่วงน้อยกว่าจำนวนมังคุดอยู่ 18 ผล    เข่งใบนี้มีมะม่วงและมังคุดอย่างละกี่ผล โจทย์กำหนดข้อมูลหรือความสัมพันธ์ใดมาให้บ้าง (โจทย์กำหนดข้อมูลมาให้ 2

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1