กระเช้าสีดา นิทานสอนใจที่สอดแทรกตำนานของพรรณไม้

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

น้อง ๆ รู้จัก กระเช้าสีดา กันไหมคะ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อินเดีย และเป็นพรรณไม้ที่มีตำนานมาจากวรรณคดีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือเรื่อง รามเกียรติ์นั่นเองค่ะ แล้ววรรณคดีเรื่องกระเช้าสีดานี้จะมีความเป็นมาและเรื่องย่อที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ

 

ความเป็นมา กระเช้าสีดา

 

กระเช้าสีดา

 

กระเช้าสีดาเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือรวมนิทานของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) แต่เมื่อพ.ศ. 2485 มีลักษณะเป็นร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะนิสัย ความเป็นอยู่ของพวกภูต คือ พรายน้ำและพรายไม้ ตามความเชื่อของคนไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ รวมทั้งตำนานการเกิดต้นกระเช้าสีดา นอกจากนั้นยังสอดแทรกข้อคิดคุณธรรมในเรื่องอีกด้วย

 

ประวัติผู้แต่ง

พระสารประเสริฐ เป็นบุตรของหลวงพิพิธวิรัชการ (เทียน นาคะประทีป) เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2432 มีนามเดิมว่า ตรี นาคะประทีป พระสารประเสริฐเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอักษรศาสตร์ ทั้งภาษาไทย บาลีและสันสกฤต นอกจากรับราชการแล้วยังเป็นอาจารย์วิชาภาษาบาลีอีกด้วย

 

ตัวละคร

 

กระเช้าสีดา

 

เนื้อเรื่อง

พรายไม้กับพรายน้ำเป็นภูติจำพวกหนึ่ง เป็นอมนุษย์ที่ไม่มีใครเห็นตัว มีตัวเล็กจิ๋ว แต่สามารถสำแดงให้คนเห็นเป็นคนหรืออะไรก็ได้ มีนิสัยชอบเล่นสนุก ร้องรำทำเพลง พรายไม้เป็นผู้ชาย ส่วนพรายน้ำเป็นผู้หญิง ทั้งพรายไม้และพรายน้ำชอบคนดี ขันทองอยากจะเห็นพรายไม้และพรายน้ำจึงตั้งใจประพฤติตนเป็นเด็กดีตามที่แม่สอนทุกประการ อยู่มาวันหนึ่งตรงกับคืนเดือนหงาย เหล่าพรายไม้กับพรายน้ำออกมาชุมนุมกันในถิ่นของพวกพรายไม้ บรรดาพรายน้ำมอบกระเช้าเล็กๆ ให้แก่พวกพรายไม้คนละใบ เพื่อเล่นเกมแข่งเก็บของใส่กระเช้า พรายไม้ผู้ชนะจะได้เต้นรำกับพรายน้ำเจ้าของกระเช้าผู้น่ารัก หลังจากการเล่นสนุกสนานผ่านไปจนได้เวลาสมควร พวกพรายไม้ก็พากันกลับไปยังที่พักของตน แต่เหล่าพรายน้ำนั้นยังคงช่วยกันเก็บกระเช้าที่ตกอยู่กระจัดกระจายมารวมไว้อย่างเป็นระเบียบ

ขันทองเดินออกมาเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจท่ามกลางแสงจันทร์คืนวันเพ็ญ ครั้นเห็นกระเช้าใบเล็กๆ น่ารักลอยไปรวมกันเป็นกองใหญ่ ขันทองก็ช่วยเก็บกระเช้าที่ยังเหลืออยู่มารวมไว้จนหมด บรรดาพรายน้ำพึงพอใจในความเอื้อเฟื้อ และซื่อสัตย์สุจริตจึงบันดาลให้ขันทองสามารถเห็นพวกเธอได้

ขันทองรู้สึกดีใจ ทั้งสองฝ่ายพูดคุยกันอย่างสนิทสนม พวกพรายน้ำได้เล่าเรื่องราวของกระเช้าใบเล็กๆ ให้ฟังว่ามันคือ กระเช้าสีดา ก่อนจากกันพรายน้ำได้มอบกระเช้าสีดาให้ขันทองไว้เป็นที่ระลึก โดยให้หยิบตามชอบ ขันทองเกรงใจจึงหยิบเพียงใบเดียว เหล่าพรายน้ำจึงหยิบกระเช้าสีดาให้ขันทองจนเต็มอุ้งมือ ก่อนที่จะเหล่าพรายน้ำจะหายไปจนหมด

 

 

สรุปคุณค่าและข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

 

สะท้อนความเชื่อเรื่องภูติพรายของคนไทย และนอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงผลของการกระทำว่าถ้าทำความดี เช่น เชื่อฟังคำสอนของผู้ใหญ่ มีน้ำใจ ซื่อสัตย์ มีความเกรงใจ และสุภาพอ่อนน้อม ก็จะมีผู้ใหญ่เอ็นดู ทำให้ได้สิ่งดี ๆ กลับมา

 

 

นิทานเรื่องกระเช้าสีดา มีเนื้อเรื่องสนุกสนานใช้ภาษาบรรยายได้สละสลวย ชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย เหมาะสำหรับเด็ก เพราะในเรื่องได้แฝงแนวคิดเกี่ยวกับผลของการทำความดีเอาไว้ ความประพฤติที่ดีงามของหนูน้อยขันทองอย่างการเชื่อฟังผู้ใหญ่ ความมีน้ำใจ และความสุภาพอ่อนโยนนี้ถือเป็นแบบอย่างที่น้อง ๆ ควรยึดถือและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน สุดท้ายนี้ น้อง ๆ อย่าลืมหมั่นทบทวนบทเรียน และชมคลิปการสอนของครูอุ้มเพื่อเพิ่มความเข้าใจ เป็นเด็กดีตั้งใจเรียนกันด้วยนะคะ เผื่อว่าเราจะได้เห็นภูติพรายที่สวยงามเหมือนหนูน้อยขันทอง

 

 

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ส่วน 10 หรือ ส่วน 1000 แปลงเป็นทศนิยมกันได้หมดถ้าสดชื่น!

จากบทความที่แล้วเราได้ทราบความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมไปแล้ว เชื่อว่าน้อง ๆหลายคนคงเกิดคำถามในใจว่า แล้วถ้าเจอเศษส่วนที่ตัวส่วนไม่ใช่ 10, 100 หรือ 1000 ต้องทำอย่างไร บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยพร้อมกับแสดงวิธีคิดที่ทำให้น้อง ๆต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ง๊ายง่าย!

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

present progressive

Present Progressive พร้อมโครงสร้าง และวิธีใช้

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Present Progressive ซึ่งเป็นอีกหนึ่ง Tense ที่สำคัญเช่นกันในไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เราไปดูกันเลยดีกว่าครับ

ม.1 There is_There are ทั้งประโยคบอกเล่า_ คำถาม_ปฏิเสธ

การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ ตารางแสดงความแตกต่างของ  There is/There are และ  Have/Has นักเรียนลองสังเกตดูความแตกต่างของการใช้ There is/There are กับ Have/has จากตารางด้านล่าง ดูนะคะ

Profile

การตั้งประโยคคำถามแบบมีกริยาช่วยนำหน้าและ Wh-questions

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดู ความแตกต่างของ ประโยคคำถามที่มีกริยาช่วยนำหน้า กับ Wh-questions กันค่ะ พร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย มารู้จักกับกริยาช่วย   Helping verb หรือ Auxiliary verb กริยาช่วย หรือ ภาษาทางการเรียกว่า กริยานุเคราะห์  คือกริยาที่วางอยู่หน้ากริยาหลัก (Main verb) ในประโยค  ทำหน้าที่ช่วยกริยาอื่นให้มีความหมายตาม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1