สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล)

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ค่ากลางของข้อมูลและการกระจายของข้อมูล ซึ่งค่ากลางของข้อมูลจะประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และฐานนิยม ส่วนการวัดการกระจายของข้อมูลจะศึกษาในเรื่องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งน้องๆสามารถทบทวน การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ได้ที่  ⇒⇒  การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ ⇐⇐

หมายเหตุ ค่าเฉลี่ยในทางคณิตศาสตร์มีหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้คือค่าเฉลี่ยเลขคณิต

การวัดค่ากลางของข้อมูล  เป็นการหาค่ากลางมาเป็นตัวแทนของข้อมูลแต่ละชุด ซึ่งมีวิธีการหาได้หลายวิธีที่นิยมกัน ได้แก่

  • ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
  • มัธยฐาน
  • ฐานนิยม

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic mean)

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ ค่าของผลรวมของค่าสังเกตของข้อมูลทั้งหมดหารด้วยจำนวนข้อมูลทั้งหมด เรียกสั้นๆ ว่า ค่าเฉลี่ย ซึ่งในการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตจะประกอบด้วยการหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่ และ การหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลที่แจกแจงความถี่ 

การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ไม่แจกแจงความถี่

(ข้อมูลไม่ได้จัดอยู่ในรูปตารางแจกแจงความถี่) มีสูตร ดังนี้

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด ⁄จำนวนของข้อมูล

หรือ ผลรวมของข้อมูล = ค่าเฉลี่ยเลขคณิต x จำนวนของข้อมูล

หรือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด = ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด ⁄ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต

ตัวอย่างที่ 1    จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูล 20  22  25  27  24  28  26  28

วิธีทำ   ค่าเฉลี่ยเลขคณิต =   ผลรวมของข้อมูลทั้งหมด ⁄จำนวนของข้อมูล    

 ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = \frac{20+22+25+27+24+28+26+28}{8}      

                \frac{200}{8}              

      =  25

ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต คือ 25

ตัวอย่างที่ 2  อนันต์ทดสอบเก็บคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ 3 ครั้ง คือ  18  15  16 อยากทราบว่าอนันต์ทดสอบเก็บคะแนนได้คะแนนเฉลี่ยเท่าไร                            

วิธีทำ  อนันต์ได้คะแนนเฉลี่ย   =   \frac{18+15+16}{3}    

                           =    \frac{49}{3}   

                          ≈   16.33

ดังนั้น อนันต์ทดสอบเก็บคะแนนได้คะแนนเฉลี่ยประมาณ 16.33   

ตัวอย่างที่ 3   ในค่ายมวยแห่งหนึ่งมีนักมวยทั้งหมด  6  คน  โดยที่นักมวยแต่ละคนมีน้ำหนักคิดเป็น

ปอนด์  ดังนี้  125, 303, 163, 175, 181, 220  จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของน้ำหนักของนักมวยในค่ายนี้

วิธีทำ น้ำหนักเฉลี่ยต่อคน = \frac{125+330+163+175+181+220}{6}

 = \frac{1194}{6}

  = 199 

ดังนั้น  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของน้ำหนักของนักมวยในค่ายนี้เท่ากับ  199  ปอนด์

ตัวอย่างที่ 4 เลือกนักเรียนในชนบทแห่งหนึ่งมาจำนวน  10  คน  ปรากฏว่ามีรายได้ต่อวันคิดเป็นบาทดังนี้  85, 70, 10, 75, 44, 80, 42, 45, 40, 36  จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของรายได้ของนักเรียนดังกล่าว

วิธีทำ              รายได้เฉลี่ยต่อวัน = \frac{85+70+10+75+44+80+42+45+40+36}{10}

     = \frac{567}{10}

     = 56.7                                 

ดังนั้น  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของรายได้ของนักเรียนเท่ากับ  56.7  บาทต่อวัน

ตัวอย่างที่ 5  ข้อมูลชุดหนึ่งมี  9  จำนวน  ถ้าค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนี้เท่ากับ  4.5  ผลรวมของ

ข้อมูลชุดนี้เท่ากับเท่าใด

วิธีทำ   จากสูตร ผลรวมของข้อมูล  =  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต x จำนวนของข้อมูล

   จะได้  ผลรวมของข้อมูล  =  9 x 4.5

    = 40.5

ดังนั้น  ผลรวมของข้อมูลชุดนี้เท่ากับ  40.5

ตัวอย่างที่ 6   ในการทดสอบเก็บคะแนน  อาริสาสอบได้ 76, 84  และ 73  คะแนน  ตามลำดับ จงหาว่าในการสอบครั้งที่ 4  อาริสาจะต้องสอบให้ได้กี่คะแนนจึงจะทำให้ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบทั้งสี่ครั้งเป็น 80 คะแนน

วิธีทำ              จาก   ค่าเฉลี่ย = \frac{X_{1}+X_{2}+X_{3}+X_{4}}{n}              

                     จะได้           80 = \frac{76+84+73+X_{4}}{4}

80 x 4 = 233 + X₄   

    320 =  233 + X₄ 

     X₄  = 320 – 233 

     X₄  = 87  

ดังนั้น   ในการสอบครั้งที่  4 อาริสาจะต้องสอบได้  87  คะแนน

การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่แจกแจงความถี่ 

(ในรูปตารางที่เป็นช่วงหรืออันตรภาคชั้น) มีสูตร ดังนี้

ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = ∑fX ⁄ N

เมื่อ ∑ คือผลรวม , X คือ ข้อมูล , N คือ จำนวนข้อมูลหรือความถี่

 

ตัวอย่างที่ 7  ผลการสอบวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียน  20  คน  เป็นดังนี้

คะแนน 15 18 20 21 25 27 30
จำนวนนักเรียน 2 3 2 4 2 1 1

จงหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบครั้งนี้

วิธีทำ  สร้างตารางเพื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตดังนี้

คะแนน (X)

จำนวนนักเรียน (f)

fX

15

2 15 x 2

18

3 18 x 3
20 2 20 x 2

21

4 21 x 4

25

2 25 x 2

27

1 27 x 1

30

1 30 x 1
รวม N = 15

∑fX = 315

                     จาก   ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = ∑fX ⁄ N       

                     จะได้    ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบ =  ³¹⁵⁄₁₅  = 21 

ดังนั้น  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบครั้งนี้  เท่ากับ  21 คะแนน

ตัวอย่างที่ 8      จงหาค่าเฉลี่ยของอายุชาวบ้านในชุมชนแห่งหนึ่งจำนวน  20  คน

อายุ (ปี)

จำนวนคน

11 – 15

4
16 – 20

3

21 – 25

2
26 – 30

4

31 – 35

5

36 – 40

2

วิธีทำ สร้างตารางเพื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตดังนี้

อายุ (ปี)

จำนวนคน(f) จุดกึ่งกลาง (X) fX

11 – 15

4 13 52
16 – 20 3 18

54

21 – 25 2 23

46

26 – 30 4 28

112

31 – 35

5 33

165

36 – 40

2 38

76

N = 20 ∑fX = 505

จาก   ค่าเฉลี่ยเลขคณิต = ∑fX ⁄ N         

จะได้    ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบ = ⁵⁰⁵⁄₂₀ = 25.25

ดังนั้น  ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนสอบครั้งนี้  เท่ากับ  25.25  คะแนน

มัธยฐาน (Median)     

มัธยฐาน คือ ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อได้เรียงข้อมูลตามลำดับ ไม่ว่าจากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย  แทนด้วยสัญลักษณ์  Me  หรือ  Med

การหามัธยฐานของข้อมูลที่ไม่ได้แจกแจงความถี่

1) เรียงข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยก็ได้

2) ตำแหน่งมัธยฐาน คือ ตำแหน่งกึ่งกลางข้อมูลทั้งหมด

      ดังนั้น ตำแหน่งของมัธยฐาน คือ   เมื่อ  N  คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด

 3) มัธยฐาน คือ ค่าที่มีตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด

ตัวอย่างที่ 9  จงหามัธยฐานของข้อมูล  2, 6, 4, 8, 12, 14, 10  

วิธีทำ   เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก  จะได้   2, 4, 6, 8, 10, 12, 14                                                  

   ตำแหน่งของค่ามัธยฐาน  คือ \frac{N+1}{2} = \frac{7+1}{2} = 4

ดังนั้น  ค่ามัธยฐาน  คือ  8

ตัวอย่างที่ 10 จงหามัธยฐานของข้อมูล  1, 7, 5, 11, 13, 15, 17, 9                 

วิธีทำ   เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก  จะได้   1, 5, 7, 9, 11, 13, 15, 17      

           ตำแหน่งของค่ามัธยฐาน  คือ \frac{N+1}{2} = \frac{8+1}{2} = 4.5

           ค่ามัธยฐานของข้อมูลอยู่ระหว่างตำแหน่งที่  4 และ  5

ดังนั้น  ค่ามัธยฐาน  เท่ากับ  \frac{9+11}{2}²⁰⁄₂ = 10

ฐานนิยม (Mode)     

ฐานนิยม คือ ข้อมูลที่มีความถี่สูงสุดหรือปรากฏบ่อยครั้งที่สุด จะใช้กับข้อมูลเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ เช่น ขนาดรองเท้า ขนาดยางรถยนต์

ตัวอย่างที่ 11  จงหาฐานนิยมของขนาดรองเท้าของนักเรียนจำนวน 15 คน  ซึ่งมีขนาด  4, 4, 4, 5, 5, 5, 5, 6, 6, 7, 7, 7, 8, 8, 9

ตอบ  ฐานนิยมของขนาดรองเท้าของนักเรียนจำนวน 15 คน  คือ  5  เพราะมีรองเท้าขนาด 5  มากที่สุด  คือ 4 คน  กล่าวคือ  นักเรียนส่วนใหญ่ใช้รองเท้าขนาด 5

ตัวอย่างที่ 12  ข้อมูลชุดหนึ่งประกอบด้วย  3, 5, 8, 10, 12, 15, 16  จงหาฐานนิยม

ตอบ   ไม่มีฐานนิยม  เพราะ  ข้อมูลแต่ละค่ามีความถี่เท่ากันหมด

ตัวอย่างที่ 13   ข้อมูลซึ่งประกอบด้วย  5, 4, 6, 6, 6, 7, 8, 8, 8, 9, 9, 9  จงหาฐานนิยม

ตอบ   ไม่มีฐานนิยม เพราะ  ข้อมูลมีความถี่สูงสุดเท่ากันสามค่า คือ 6, 8 และ 9

ตัวอย่างที่ 14  ข้อมูลต่อไปนี้แสดงจำนวนนักศึกษาสาขาวิชาต่างๆ ของสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่ง

สาขาวิชา

จำนวนนักศึกษา
ศึกษาศาสตร์

นิติศาสตร์

บริหารธุรกิจ

มนุษยศาสตร์

ศิลปกรรมศาสตร์

500

400

450

350

300

จากตารางนี้  จงหาฐานนิยม

ตอบ ฐานนิยมของข้อมูลนี้  คือ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ เพราะ มีความถี่มากที่สุด  เท่ากับ  500

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   เป็นการวัดการกระจายของข้อมูลที่ใช้ข้อมูลทุกค่ามาคำนวณ ซึ่งเป็นวิธีการวัดการกระจายที่นิยมและเชื่อถือได้มากที่สุด  การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลหาได้โดยใช้สูตรดังนี้

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ตัวอย่างที่ 15  อุณหภูมิในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งวัดทุกเช้าวันที่ 1 ของทุก ๆ เดือน ในปีที่ผ่านมาเป็นดังนี้

เดือน

ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
อุณหภูมิ 2 6 10 24 23 23 22 21 21 20 14

6

จงหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดนี้

วิธีทำ    จากโจทย์ต้องการหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล 

สูตรที่ใช้ในการคำนวณ  คือ

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ขั้นแรก หาค่าเฉลี่ย (μ)   และเราทราบจำนวนข้อมูล (N) เท่ากับ  12

ค่าเฉลี่ย (μ) = \frac{2+6+10+24+23+23+22+21+21+20+14+6}{12}

         =  ¹⁹²⁄ ₁₂ = 16

ขั้นที่สอง  หาค่าของ  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน2  ได้ดังนี้

X X – µ (X – µ)²

2

6

10

24

23

23

22

21

21

20

14

6

-14

-10

-6

8

7

7

6

5

5

4

-2

-10

196

100

36

64

49

49

36

25

25

16

4

100

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน2= 700

จะได้   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน2    =  700

และ    ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน      = \frac{\sqrt{700}}{12} ≈ 2.23 

ดังนั้น  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลชุดนี้ มีค่าประมาณ  2.23 

คลิปวิดีโอ 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Relative Clause Profile II

Relative Clause

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ   Relative

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น  ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้ วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น

Profile Telling Time

“บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Time in English) ”

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling Time in English) ” กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย  บทนำ ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

การหารเศษส่วนและจำนวนคละ

เทคนิคการหารเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทความนี้จะเป็นเรื่องต่อยอดจากการคูณก็คือเรื่องการหารเศษส่วนและจำนวนคละ ถ้าใครอ่านบทความการคูณเศษส่วนและจำนวนคละเข้าใจแล้วรับรองว่าเรื่องนี้จะยิ่งง่ายมากกว่าเดิมแน่นอน เพราะต้องใช้เรื่องการคูณเศษส่วนและจำนวนคละในการคำนวณหาคำตอบเช่นกัน สิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับน้อง ๆก็คือขั้นตอนการแสดงวิธีทำที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายเหมือนกันบทความที่แล้วมา

อิเหนา

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1