การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้

ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน


ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น 

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้

วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น วันที่ เเละให้เเกน y เป็นจำนวนผลไม้ที่ถูกขาย
เเละใส่ตัวเลขใต้เส้นเเกน x เเละเเกน y ตามขนาดของข้อมูลที่อยู่ในตาราง

หลังจากนั้นให้เรานำข้อมูลมากำหนดจุดบนกราฟ โดยในเเต่ละจุด วันที่ เเละ จำนวนผลไม้ที่ถูกขาย ต้องตรงตามในตารางข้อมูล ดังรูปนี้

สุดท้ายลากเส้นเชื่อมกันระหว่างจุดที่เกิดขึ้น โดยเริ่มจากจุดเเรกสุดไปยังจุดสุดท้ายจะได้เป็น เส้นกราฟ เเละได้เป็นกราฟเส้นเเสดงข้อมูลของผลไม้ที่ถูกขาย

ตัวอย่างที่ 2 จากกราฟด้านล่างจงตอบคำถามต่อไปนี้

วิธีคิด ก่อนเริ่มตอบคำถามให้เริ่มต้นด้วยการหาจำนวนการส่งออกของเเต่ละปี เเล้วเขียนลงบนจุดในกราฟเส้นของโจทย์

คำถามที่ 1 ปีพ.ศ. 2560 มีการส่งออกข้าวสารจำนวนเท่าใด

ตอบ 37 ล้านตัน

คำถามที่ 2 ปีที่มีจำนวนการส่งออกเท่ากัน เเละส่งออกเป็นจำนวนเท่าใด

ตอบ ปีพ.ศ. 2560 กับ พ.ศ. 2564 เเละส่งออกเป็นจำนวน 37 ล้านตัน

คำถามที่ 3 การส่งออกข้าวสารตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2565 มีการเปลี่ยนเเปลงอย่างไร

ตอบ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตั้งเเต่ปีพ.ศ. 2558 จนถึง ปีพ.ศ. 2562 เเละค่อย ๆ ลดลงหลังจากปีพ.ศ. 2562 จนถึงปีพ.ศ. 2565

คำถามที่ 4 ปีพ.ศ. ใดที่เริ่มมีการส่งออกข้าวสารลดลง

ตอบ ปีพ.ศ. 2563

คำถามที่ 5 ปีที่มีจำนวนการส่งออกข้าวสารเปลี่ยนเเปลงจากปีก่อนมากที่สุด คือปีใด เเละเพราะเหตุใด

ตอบ ปีพ.ศ. 2563 เป็นเพราะว่ามีการส่งออกข้าวสารลดลงจากปีพ.ศ. 2562 ทั้งหมด 9 ล้านตัน

คำถามที่ 6 หากนักวิชาการคาดว่าปีพ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะมีการส่งออกเพิ่มจากปีพ.ศ. 2565 คิดเป็น 150% อยากทราบว่าจำนวนส่งออกข้าวสารของปีพ.ศ. 2566 จะมีจำนวนเท่าใด

วิธีทำ จำนวนการส่งออกข้าวสารปีพ.ศ. 2565 มีจำนวน 36 ล้านตัน
จะได้ว่า จำนวนการส่งออกข้าวสารปีพ.ศ. 2566 จะมีค่า   = (150 x 36 ล้านตัน)/100

= 54 ล้านตัน

ตอบ 54 ล้านตัน

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น จะเห็นได้ว่ากราฟเส้นจะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่า เราสามารถรู้ได้ว่ากราฟเส้นนี้ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง หรือ คงที่ ทำให้เห็นเเนวโน้มต่าง ๆ ของข้อมูล

บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น มีส่วนสำคัญในการคาดการณ์อนาคตที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลนั้น ๆ เช่น การคาดการณ์ราคาของหุ้น, การคาดการณ์ระดับความสูงของน้ำในประเทศ, การคาดการณ์ราคาน้ำมันของตลาดโลก เป็นต้น

ในส่วนของการสร้างกราฟเส้นเเละตัวอย่างการเเปรความหมายน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอนี้


คลิปวิดีโอ การนำเสนอข้อมูลเเละเเปรความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” และฝึกวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า  

คำสมาสแบบสมาส คำสมาสแบบสนธิ

เรียนรู้หลักการสร้างคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิ

บทนำ คำสมาส และคำสนธิ ถือว่าเป็นหนึ่งบทเรียนในหลักภาษาไทยของระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่หลายคนมักมองว่าเป็นเรื่องยาก และปราบเซียนในการสอบสุด ๆ เนื่องจากว่าเราจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่อง คำบาลี สันสกฤตเพื่อให้สามารถแยกแยะคำ หรือสร้างคำใหม่ได้ รวมไปถึงต้องจำหลักการอ่านเชื่อมเสียงแบบต่าง ๆ จึงทำให้ใครหลายคนรู้สึกว่ามันยากมาก แต่จริง ๆ แล้วน้อง ๆ หลายคนอาจเคยได้ยินหลักการจำที่ว่า “คำสมาสนำมาชน สนธินำมาเชื่อม” ซึ่งเป็นวิธีที่น้อง ๆ ควรจะใช้เป็นแนวทางในการจำอย่างเข้าใจ ดังนั้น เพื่อเป็นการเรียนรู้เรื่องคำสมาสแบบสมาส และคำสมาสแบบสนธิให้เข้าใจมากขึ้น

ประพจน์และการเชื่อมประพจน์

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประพจน์ การเชื่อมประพจน์ และการหาค่าความจริง ซึ่งเนื้อหาเหล่านี้เป็นภาษาของคณิตศาสตร์ เราจะเห็นตัวเชื่อมประพจน์ในทฤษฎีบทต่างๆในคณิตศาสตร์ หลังจากอ่านบทความนี้ น้องๆจะสามารถบอกได้ว่าข้อความไหนเป็นหรือไม่เป็นประพจน์ และน้องๆจะสามารถทำข้อสอบเกี่ยวกับตรรกศาสตร์ได้

วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า 3 วิธีที่จะช่วยพัฒนาความคิดให้เป็นระบบ

การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยประสบการณ์ความรู้และสภาพแวดล้อมมาพัฒนาการคิดและแสดงออกมาอย่างมีระบบ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงวิธีการคิดทั้ง 3 แบบคือ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และ ประเมินค่า ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การพัฒนาและแสดงความคิด   มนุษย์สามารถแสดงความคิดออกมาได้โดยการใช้ภาษา ซึ่งการใช้ภาษานั้นก็คือวิธีการถ่ายทอดความคิดที่อยู่ในหัวของเราออกมาให้คนอื่นเข้าใจและรู้ว่าเรามีความคิดต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างไรบ้างไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการคิดสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

Present Perfect

Present Perfect ในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Present Perfect ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1