ลำดับ

ลำดับ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ลำดับ

ลำดับ ( Sequence ) คือ เซตของจำนวนหรือตัวเลขที่เรียงกันเป็นระเบียบและมีเงื่อนไข เช่น ลำดับของจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 ก็จะสามารถเขียนได้เป็น

1, 2, 3, 4, … โดยตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า พจน์ ( Term ) เซตของลำดับจะเขีบยแทนด้วย a_{1},a_{2},a_{3},...,a_{n},...

และเราจะเรียก a_{1} ว่าพจน์ที่ 1

เรียก a_{2} ว่าพจน์ที่ 2

\vdots

เรียก a_{n} ว่าพจน์ที่ n หรือพจน์ทั่วไปหรือ พจน์สุดท้าย

ตัวอย่างของลำดับ  เช่น 1, 3, 5, 7, ….

โดเมนและเรนจ์ของลำดับ

โดเมนของลำดับคือ พจน์ของลำดับ หรือ n นั่นเอง ซึ่ง n ต้องเป็นจำนวนนับ

เรนจ์ของลำดับคือ ค่าของ a_n นั่นเอง

เช่น F = {(1,10),(2,20),(3,30)}  จะได้ว่า 

โดเมน คือ {1, 2, 3}

เรนจ์คือ {10, 20, 30}

ชนิดของ ลำดับ

ลำดับจำกัด คือ ลำดับที่สามารถระบุจำนวนพจน์ได้

เช่น 2, 4, 6, 8, … , 50  มี 25 พจน์

1, 2, 3, 4, … , n  มี n พจน์

ลำดับอนันต์ คือ ลำดับที่ไม่สามารถบอกจำนวนพจน์ได้

เช่น 1, 2, 3, …

“วิธีสังเกต”

ลำดับอนันต์จะมีจุดสามจุดอยู่หลังของลำดับเสมอ เพื่อแสดงให้เห็นว่าลำดับนี้ไปต่อได้เรื่อย ๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

ตัวอย่างของ ลำดับ

1) ให้ ข้อ A คือ 1,4,9,16,25,…
ข้อ B คือ a_n= 16n เมื่อ n= 1,2,3,4
ข้อ C คือ a_n=3n² + 7 เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก

จะได้ว่า A  เป็นลำดับอนันต์ 

B เป็นลำดับจำกัด

C เป็นลำดับอนันต์

1) 7, 14, 21, 28, 35, …  เป็นลำดับอนันต์ ที่เพื่มขึ้นทีละ 7

2) 3, 6, 12, 24, 48  เป็นลำดับจำกัด ที่เพิ่มขึ้น 2 เท่าของพจน์ก่อนหน้า

3) 4, 9, 16, 25, 36, 49  ต้องหาสองครั้งเพราะการเพิ่มขึ้นของลำดับยังไม่เป็นระบบ

น้องจะเห็นว่าลำดับในข้อ 3 เป็นลำดับที่มีผลต่างร่วมเป็นค่าคงที่ในครั้งที่สอง หรือเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ในครั้งที่สองนั่นเอง

จะเห็นว่าในลำดับนั้น เพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นระบบ คือ เพิ่มขึ้นทีละ 5, 6, 7, 8, 9 ตามลำดับ แต่ลองสังเกตดูว่า การเพิ่มขึ้นของ 5, 6,7,8,9 นั้นเพิ่มขึ้นทีละ 1 ดังนั้นจึงเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างคงที่ในครั้งที่ 2 นั่นเอง

 

การหาพจน์ทั่วไปของลำดับ

วิธีการหาพจน์ที่ n จะแยกเป็น 3 กรณี

1) ระหว่างพจน์มีผลต่างที่เป็นค่าคงที่ นั่นก็คือ เป็นลำดับเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นค่าคงที่ เช่น 8, 6, 4, 2  ( ลดลงทีละ 2 )

รูปแบบของพจน์ทั่วไปคือ a_{n}=an+b

ตัวอย่าง  หาพจน์ทั่วไปของลำดับ 1, 3, 5, 7, …

จากโจทย์ เราจะรู้ว่า a_{1}= 1, a_{2}=3

และจากสูตร a_{n}=an+b

เมื่อ n = 1 ; a_{1}=1=a(1)+b \rightarrow (1)

n = 2 ; a_{2}=3=a(3)+b \rightarrow (2)

(2) -(1) ; 2=a

แทน a_{1} ใน (1) จะได้ว่า 1=2+b

b=-1

ดังนั้น พจน์ทั่วไป ของลำดับข้างต้นคือ a_{n}=2n -1

2) ระหว่างพจน์มีอัตราส่วนร่วมเป็นค่าคงที่

รูปแบบของพจน์ทั่วไป คือ a_{n}=ar^{n}+b โดยที่ r คืออัตราส่วนร่วม

ตัวอย่าง  หาพจน์ทั่วไปของ 4, 8, 16, 32, …

จะเห็นว่าลำดับดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ของพจน์ก่อนหน้า

ดังนั้น r = 2 และจากโจทย์จะได้ว่า a_{1}= 4, a_{2}=8

เมื่อ n = 1 ; a_{1}=4=a(2)^{1}+b \rightarrow (1)

n = 2 ; a_{2}=8=a(2)^{2}+b \rightarrow (2)

(2) – (1) ; 4 = ( 4 – 2 )a

แทน a_{1} ใน (1) จะได้ว่า 4=2(2)+b

b=0

ดังนั้น a_{n}=2(2)^{n}=2^{n+1}

 

3) ระหว่างพจน์มีผลต่างเป็นค่าคงที่ในการหาครั้งที่ 2

รูปพจน์ทั่วไป คือ \inline a_{n}=an^{2}+bn+c

ตัวอย่าง  หาพจน์ทั่วไปของ 4, 9, 16, 25, …

เมื่อ n = 1 ; a_{1}=4=a(1)+b(1)+c \rightarrow (1)

n = 2 ; a_{2}=9=a(4)+b(2)+c \rightarrow (2)

n = 3 ; a_{3}=16=a(9)+b(3)+c \rightarrow (3)

(2)- (1) ; 5 = 3a +b\rightarrow (4)

(3) – (2) ; 7 = 5a +b\rightarrow(5)

(4)-(5) ; 2 =2a \rightarrow a=1

แทน a = 1 ใน (4) จะได้ 5=3+b\rightarrow b=2

แทน a = 1 และ b = 2 ใน (1) จะได้ 4 = 1 + 2 + c

c = 1

ดังนั้น รูปพจน์ทั่วไปคือ a^{n}=n^{2}+2n+1

ตัวอย่างของลำดับ

1.) จงหาว่าพจน์หลังกับพจน์หน้ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

1.1) 8, 6, 4, 2, ….

ตอบ พจน์หลังลดลงจากพจน์หน้าทีละ 2

1.2) 5, 10, 15, 20, …

ตอบ พจน์หลังเพิ่มขึ้นจากพจน์หน้าทีละ 5

 

2.) หา 4 พจน์ถัดไปของลำดับต่อไปนี้

2.1) 2, 5, 8, 11, …

วิธีทำ จากโจทย์จะเห็นว่าเป็นลำดับที่เพิ่มขึ้นทีละ 3

ดังนั้น 4 พจน์ถัดไปคือ 11+3 = 14, 14+3 = 17, 17+3 = 20, 20+3=23

นั่นคือ 14, 17, 20, 23

 

2.1)  200, 190, 170, 140,…

วิธีทำ จากโจทย์จะเห็นว่า พจน์ 2 ลดลงจากพจน์แรก 10 พจน์ 3 ลดลงจากพจน์ 2 20 และพจน์ 4 ลดลงจาดพจน์ 3 30

เราจะได้ลำดับใหม่ซึ่งเป็นลำดับของผลต่างระหว่างพจน์ ดังนี้ 10, 20, 30,… ดังนั้นอีก 3 พจน์ถัดไปควรจะเป็น 40, 50, 60 ตามลำดับ

ดังนั้นจะได้ว่า พจน์ที่ 5 ของลำดับในโจทย์ข้างต้น ควรจะน้อยกว่าพจน์ที่ 4 ไป 40 จะได้ว่า พจน์ที่ 5 คือ 140-40=100

พจน์ที่6 ต้องน้อยกว่าพจน์ที่ 5 ไป 50 ดังนั้น พจน์ที่ 6 คือ 100-50=50

พจน์ที่7 ต้องน้อยกว่าพจน์ที่ 6 อยู่ 60 ดังนั้น พจน์ที่7 คือ 50-60= -10

พจน์ที่ 8 ต้องน้อยกว่า พจน์ที่7 อยู่ 70 ดังนั้นพจน์ที่8 คือ -10 – 70 = -80

ดังนั้น 4 พจน์ถัดไปของลำดับ 200, 190, 170, 140,… คือ 100, 50, -10, -80 ตามลำดับ

3.) จงเขียน 5 พจน์แรกของลำดับต่อไปนี้

3.1) a_n=2n-1

วิธีทำ

แทน n=1 จะได้ว่า a_1=2(1)-1=1

n=2 จะได้ a_2=2(2)-1=3

n=3 จะได้ a_3=2(3)-1=5

n=4จะได้ a_4=2(4)-1=7

n=5จะได้ a_5=2(5)-1=9

จากการแทนค่า n ไปแล้ว เราจะได้ลำดับ 5 พจน์แรกดังนี้ 1, 3, 5, 7, 9

 

3.2) a_n=\left\{\begin{matrix} n+1 : n<3\\ 2n :\geq 3 \end{matrix}\right.

วิธีทำ จากโจทย์จะเห็นว่า ถ้า n น้อยกว่า 3 ดังนั้นเราจะใช้ n +1 ในการหาพจน์ที่ 1 และพจน์ที่ 2

และเราจะใช้ 2n ในการหาพจน์ที่ 3 ถึงพจน์ที่ 5

จะได้5พจน์แรกของลำดับดังนี้ 1+1, 2+1, 2(3), 2(4), 2(5) นั่นคือ 2, 3, 6, 8, 10

 

 

วิดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของลำดับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นใต้ มรดกทางวัฒณธรรมที่ควรค่าแก่การศึกษา

ภาษาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม โดยสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมผ่านภาษามากที่สุด ก็คือ การมีอยู่ของภาษาถิ่น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อให้คนในพื้นที่เข้าใจกัน ประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ภาค ภาษาถิ่นที่เด่นชัดที่สุดจะแบ่งออกเป็นภาษาถิ่นภาคกลางซึ่งครอบคลุมไปถึงภาคตะวันตะวันตก อาจมีแตกต่างบ้างในเรื่องของคำศัพท์บางคำและสำเนียง ภาษาถิ่นเหนือและภาษาถิ่นอีสาน ที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน และด้วยภูมิภาคที่อยู่ใกล้กันทำให้บางคำก็ใช้ด้วยกัน และสุดท้าย ภาษาถิ่นใต้ ที่ค่อนข้างจะแตกต่างกับภาษาถิ่นอื่น ๆ แต่จะมีลักษณะ และมีคำศัพท์น่ารู้อะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ภาษาถิ่นใต้  

like_dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเอง like/dislike + การเขียนข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! ถาม-ตอบก่อนเรียน หากมีคนถามว่า What do you like doing? หรือ What do you dislike doing? (คุณชอบหรือไม่ชอบทำอะไร) นักเรียนสามารถแต่งประโยคเพื่อตอบคำถาม

พาราโบลา

พาราโบลา

พาราโบลา พาราโบลา คือเซตของจุดบนระนาบมีระยะห่างจากจุดโฟกัส (focus) เท่ากับระยะห่างจากเส้นไดเรกตริกซ์ (directrix) พาราโบลาที่มีจุดยอดอยู่ที่จุดกำเนิด กราฟของพาราโบลาจะมีลักษณะคล้ายระฆัง ตอนม.3 น้องๆเคยเห็นทั้งพาราโบลาหงายและคว่ำแล้ว แต่ในบทความนี้น้องๆจะได้รู้จักกับพาราโบลาตะแคงซ้ายและขวา สามารถเขียนเป็นตารางให้เข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ ข้อสังเกต  จะเห็นว่าถ้าแกนสมมาตรคือแกน y รูปแบบสมการของพาราโบลา y จะมีเลขชี้กำลังเป็น 1  สมการเส้นไดเรกตริกซ์ก็จะเกี่ยวข้องกับ y เช่นเดียวกับแกนสมมาตรเป็นแกน x รูปแบบสมการของพาราโบลา x

การใช้พจนานุกรม เรียนรู้วิธีหาคำให้เจอได้อย่างทันใจ

​พจนานุกรม มาจากคำภาษาบาลีว่า วจน (อ่านว่า วะ-จะ-นะ) ภาษาไทยแผลงเป็น พจน์ แปลว่า คำ คำพูด ถ้อยคำ กับคำว่า อนุกรม แปลว่า ลำดับ เมื่อรวมกันแล้วพจนานุกรมจึงหมายถึงหนังสือที่รวบรวมคำโดยจัดเรียงคำตามลำดับตัวอักษร แต่ด้วยความที่คำในภาษาไทยของเรานั้นมีมากมาย ทำให้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมีท้อใจบ้างเมื่อเห็นความหนาของเล่มพจนานุกรม ไม่รู้จะหาคำที่ต้องการได้อย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงวิธี การใช้พจนานุกรม

Preposition & Gerund เรื่องเล็กๆ ที่เจอบ๊อยบ่อย

สวัสดีน้องๆ ม. ปลายทุกคนโดยเฉพาะน้องๆ ม. 6 รุ่นโควิดนะครับ วันนี้เรามาทบทวนไวยากรณ์จุดเล็กๆ แต่สำคัญเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือการใช้ Gerund ตามหลัง Preposition นั่นเอง ว่าแล้วก็เริ่มกันเลยดีกว่าครับ!

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1