การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ
การให้เหตุผลแบบนิรนัย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การให้เหตุผลแบบนิรันัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือ การมองจากสิ่งใหญ่ๆว่ามันเป็นจริง ทำให้สิ่งที่อยู่ในนั้น จริงตามไปด้วย

การสรุปผลของนิรนัยจะถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปที่สมเหตุสมผล

เช่น เราไปซื้อผลไม้ แล้วแม่ค้าบอกว่า ผลไม้กองนี้หวาน แสดงว่า ถ้าหยิบมา 2 ลูก เราสามารถบอกได้เลยว่า ผลไม้ 2 ลูกนั้นหวาน

การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น จะแตกต่างกับ การให้เหตุผลแบบอุปนัย

อุปนัย มองจากเล็ก ไปหา ใหญ่

นิรนัย มองจาก ใหญ่ ไปหา เล็ก

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล ของการให้เหตุผลแบบนิรนัย

วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธี แต่พี่จะแนะนำการตรวจสอบที่ทำให้น้องๆเข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งก็คือตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

ถ้าแผนภาพที่เราวาด เป็นไปตามผลสรุป(ตามที่โจทย์บอก)ทุกกรณี แสดงว่า ผลสรุปนั้นสมเหตุสมผล

แต่ถ้าแผนภาพที่เราวาดนั้นไม่เป็นตามที่สรุปไว้ คืออาจจะมีบางกรณีที่ไม่จริง ผลสรุปนั้นจะไม่สมเหตุสมผล

เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ

ตัวอย่าง การให้เหตผลแบบนิรนัย

โจทย์เกี่ยวกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นโจทย์ที่ถ้าเราเข้าใจมันจะสนุกมากๆ ลองไปดูตัวอย่างกันค่ะ

1.)

เหตุ 1.สัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย

2. สุนัขเป็นสัตว์

ผล        สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย

ตอบ การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล

คำอธิบาย การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือเราจะยอมรับว่าเหตุที่ 1 เป็นจริง แล้ว เหตุที่ 2 เกิดจากเราสร้างขึ้นมา เหมือนกับข้อนี้ ที่บอกว่าสัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย เราเลยสร้างเหตที่ 2 ขึ้นมาว่า ถ้าสุนัขเป็นสัตว์ล่ะ เราเลยสรุปผลว่า สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย

มาดูภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

 

2.)

เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำได้

2. ขวดลอยน้ำได้

ผล            ขวดเป็นเรือ

ตอบ ไม่สมเหตสมผล

ข้อนี้เราจะใช้รูปภาพในการอธิบาย เพื่อไม่ให้น้องๆงงกันนะคะ

 

3.) เหตุ

  1. เด็กที่ขาดสารไอโอดีนทุกคนเป็นโรคคอพอก
  2. เด็กที่อยู่ไกลทะเลทุกคน ขาดสารไอโอดีน
  3. หมู่บ้าน ค อยู่ไกลจากทะเล
  4. ธิดา อยู่หมู่บ้าน ก

ผล.       ธิดาเป็นโรคคอพอก

ตอบ ข้อความข้างต้นสมเหตุสมผล

อธิบายตัวอย่างข้างต้น

4.) เหตุ

  1. จำนวนนับทุกจำนวนเป็นจำนวนเต็ม
  2. จำนวนเต็มบางจำนวนเป็นจำนวนเต็มลบ

ผล        จำนวนนับบางตัวเป็นจำนวนเต็มลบ

พิจารณา จากภาพ ดังนี้

4.) เหตุ

  1. ไม่มีจำนวนเฉพาะใดที่หารด้วย 2 ลงตัว
  2. 27 หารด้วย 2 ไม่ลงตัว

ผล.      27 เป็นจำนวนเฉพาะ

ตอบ ไม่สมเหตุสมผล

อธิบายด้วยภาพ ดังนี้

การให้เหตุผลแบบอุปนัย กับ การให้เหตุผลแบบนิรนัย

อุปนัย

ใช้ประสบการณ์ หรือทำซ้ำๆ แล้วคาดคะเนผลสรุป

ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน

ผลสรุปอาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

ยิ่งประสบการณ์มาก ผลสรุปยิ่งหน้าเชื่อถือ

น้องๆสามารถเข้าไปดูเนื้อหา การให้เหตุผลแบบอุปนัย ได้เลยนะคะ

นิรนัย

ยอมรับว่า เหตุที่ 1 เป็นจริง และสร้างเหตุการณ์ที่ 2 ขึ้นมา แล้วมาสรุปผล

ผลสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ มันสมเหตุสมผล

ตรวจการสมเหตุสมผลได้ด้วย แผนภาพ เวนน์-ออยเลอร์ (ตรวจสอบง่ายสุด)

วีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การให้เหตุผลแบบนิรัย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

สมบัติของการเท่ากัน

สมบัติของการเท่ากัน

          การหาคำตอบของสมการนั้น ต้องใช้สมบัติการเท่ากันมาช่วยในการหาคำตอบ จะรวดเร็วกว่าการแทนค่าตัวแปรในสมการซึ่งสมบัติการเท่ากันที่ใช้ในการแก้สมการได้แก่ สมบัติสมมาตร สมบัติถ่ายทอด สมบัติการบวก และสมบัติการคูณ เรามาทำความรู้จักสมบัติเหล่านี้กันค่ะ สมบัติสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a เมื่อ a และ

ศึกษาตัวบทและคุณค่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

จากบทเรียนครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขปของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กันไปแล้ว เราได้รู้ถึงที่มาความเป็นไปของวรรณคดีที่เป็นตำราแพทย์ในอดีตรวมถึงเนื้อหา ฉะนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเกี่ยวกับตัวบทเพื่อให้รู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้กันมากขึ้น ว่าเหตุใดจึงเป็นตำราแพทย์ที่ได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์     ถอดความ เปรียบร่างกายของหญิงและชายเป็นกายนคร จิตใจเปรียบเหมือนกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่หรือก็คือร่างกาย ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่ทำลายร่างกายเรา พทย์เปรียบได้กับทหาร มีความชำนาญ เวลาที่ข้าศึกมาหรือเกิดโรคภัยขึ้นก็อย่างวางใจ แผ่ลามไปทุกแห่ง

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สมการ คือ ประโยคสัญลักษณ์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ของจำนวนโดยมีสัญลักษณ์  “ = ”  บอกความสัมพันธ์ระหว่างจำนวน อาจมีตัวแปร หรือไม่มีตัวแปร เช่น สมการที่ไม่มีตัวแปร                           

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be

การใช้ Past Simple Tense เน้น Verb to be เกริ่นนำ เกริ่นใจ เรื่องอดีตนั้นไม่ง่ายที่จะลืม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวชีวิตของใครคนหนึ่งที่เราเอาใจใส่ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเราควรที่จะให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจเรื่องง่าย ๆ อย่าง Past simple tense ซึ่งเป็นโครงสร้างประโยคที่เราใช้ในการเล่าเรื่องราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่เมื่อกี้ ไปจนถึงเรื่องของเมื่อวาน  ภาษาไทยของเราเองก็ใช้โครงสร้างประโยคนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนที่เราอยากจะเล่าเรื่องของเรา ของใครคนอื่นที่เราอยากจะเม้ามอยกับคนรอบข้างอ่ะ

สำนวนนี้มีที่มา เรียนรู้ความหมายและที่มาของ สำนวนไทย

สำนวนไทย เป็นสิ่งที่คนรุ่นก่อนใช้ความคิดและประสบการณ์สั่งสอนลูกหลาน เกิดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมด้านคติธรรมที่แสดงถึงความรุ่งเรืองทางภาษาของประเทศไทย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้สำนวนไทยที่เห็นกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะใช้ไม่ถูกต้อง ไม่รู้ความหมายที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเรียนรู้ที่มาของสำนวนด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้กันเลยค่ะ   สำนวนไทย   สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำที่คมคายซึ่งเป็นถ้อยคำที่ใช้พูดสื่อสารกันโดยมีความหมายที่กว้างและลึกซึ้ง เป็นความหมายโดยนัย ไม่ได้แปลตรงตัวเพื่อใช้เป็นคำพูดในเชิงสั่งสอน เตือนสติ มุ่งสอนใจหรือชี้แนะให้ประพฤติปฏิบัติตาม   ที่มาของสำนวนไทย   สำนวนไทยมีมูลเหตุและที่มาของการเกิดหลายประการ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ

จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ บทความนี้จะทำให้น้องๆ รู้จัก จำนวนเฉพาะและตัวประกอบเฉพาะ  น้องๆหลายคนคุ้นเคยกับจำนวนเฉพาะมาบ้างแล้ว แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่า ตัวประกอบเฉพาะคืออะไร ซึ่งน้องๆจะได้เรียนรู้จากตัวอย่างที่ได้รวบรวมไว้ในบทความนี้ โดยได้นำเสนออกมาในรูปแบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเนื้อหาในบทความนี้เป็นเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับความหมายของ ตัวประกอบ  ตัวประกอบของจำนวนเต็มใด ๆ  คือ จำนวนที่หารจำนวนนั้นได้ลงตัว  ถ้าจำนวนที่ 2 หารได้ลงตัว เรียกว่า จำนวนคู่  ส่วนจำนวนที่

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1