โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง
Picture of tucksaga
tucksaga
โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในบทเรียนเรื่องการนำเสนอข้อมูล การเขียนนำข้อมูลมานำเสนอในรูปแบบต่างๆเช่น แผนภูมิแท่ง หรือกราฟเส้น เมื่อเราทำการศึกษาและสามารถอ่านข้อมูลจากส่งเหล่านั้นได้แล้ว บทเรียนต่อไปจะเป็นเรื่องของโจทย์ปัญหาในการนำเสนอข้อมูล ที่จะมาในรูปแบบของคำถามที่ต้องหาคำตอบจาก แผนภูมิแท่งหรือกราฟเส้นที่โจทย์กำหนดมานั่นเอง

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล ป.5

ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องการนำเสนอข้อมูลนั้น คุณต้องมีพื้นฐานการอ่านข้อมูลจาก แผนภูมิ หรือกราฟก่อนจึงจะสามารถแก้ไขโจทย์และหาคำตอบออกมาได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างโจทย์ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 โจทย์ปัญหาแผนภูมิแท่ง

แผนภูมิแท่ง

จากแผนภูมิแท่งจงคำถามต่อไปนี้

ข้อที่ 1.) พ.ศ.2558 – พ.ศ.2560 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดกับน้อยที่สุดต่างกันเท่าใด

วิธีทำ สินค้าที่มีมูลค้าการส่งออกมาที่สุดคือ ข้าว ในปี พ.ศ.2560 มีมูลค่าเท่ากับ 174,000 ล้านบาท และสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกที่น้อยที่สุดคือ ผลไม้สดและแห้ง ในปีพ.ศ. 2558 มีมูลค่าเท่ากับ 45,000 ล้านบาท

ดังนั้นมีมูลค่าต่างกันอยู่ที่ 174,000 –  45,000 = 129,000 ล้านบาท

ตอบ 129,000 ล้านบาท

ข้อที่ 2.) สินค้าที่มีมูลการส่งออกทั้งสามปีน้อยกว่า 200,000 ล้านบาทได้แก่อะไรบ้าง

วิธีทำ มูลค่าทั้งสามปีของข้าวเท่ากับ 156,000 + 155,000 + 174,000

                                                 = 485,000 ล้านบาท 

มูลค่าทั้งสามปีของผลิตภันฑ์มันสำปะหลังเท่ากับ  117,000 + 103,000 + 95,000

                                                 = 315,000 ล้านบาท

มูลค่าทั้งสามปีของไก่แปรรูปเท่ากับ 66,000 + 71,000 + 76,000

                                                 = 143,000 ล้านบาท

มูลค่าทั้งสามปีของผลไม้สดและแห้งเท่ากับ 45,000 + 54,000 + 77,000

                                                 = 176,000 ล้านบาท

ตอบ ไก่แปรรูป และ ผลไม้สดและแห้ง

ตัวอย่างที่ 2 โจทย์ปัญหากราฟเส้น

กราฟเส้น

จากกราฟเส้นจงคำถามต่อไปนี้

คำถาม: ตั้งแต่ พ.ศ.2556 – พ.ศ.2560 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยใช้ถ่านหินลิกไนต์เฉลี่ยปีละกี่ล้านตัน

วิธีทำ นำปริมาณถ่านหินลิกไนต์ที่ใช้ไปของปีพ.ศ.2556 – พ.ศ.2560มารวมกัน

จะได้      16.9 + 20.4 + 14.36 + 16.41 + 15.91 = 83.98 ล้านตัน

จากนั้นรวมปริมาณที่รวมกันข้างต้นเฉลี่ยให้กับ 5 ปี เท่าๆกัน

จะได้      83.98 ล้านตัน ÷ 5 = 16.796 ล้านตัน

ตอบ เฉลี่ยปีละ 16.796 ล้านตัน

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนตรรกยะ และการเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยมหรือทศนิยมเป็นเศษส่วน

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

การโต้วาที

โต้วาที และยอวาที แต่งต่างกันอย่างไร?

การพูดมีมากมายหลายประเภท แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้พูดว่าต้องการจะสื่อสารออกมาในรูปแบบใด แต่จะมีอยู่ประเภทหนึ่งที่มีหัวข้อให้พูดและต้องแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยไม่ได้มีเจตนาเพื่อมาทะเลาะกัน เพราะเรากำลังหมายถึงการพูดโต้วาทีและการยอวาที ที่เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นในลักษะที่ต่างกัน แต่จะต่างกันอย่างไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การโต้วาที     การโต้วาที เป็นการแสดงความคิดเห็นโต้แย้งด้วยเหตุผลเพื่อให้ชนะอีกฝ่าย โดยจะแบ่งผู้พูดออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายญัตติและฝ่ายคัดค้านญัตติ และมีกรรมการคอยตัดสินว่าจะให้ฝ่ายใดชนะ โดยแต่ละฝ่ายจะต้องมีข้อมูลเพื่อมาสนับสนุนการพูดของตัวเอง หักล้างแนวคิดของอีกฝ่ายและต้องมีปฏิภาณไหวพริบ   องค์ประกอบของการโต้วาที  

Profile Telling Time

“บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Time in English) ”

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูวิธีการ “บอกเวลาในภาษาอังกฤษ (Telling Time in English) ” กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย  บทนำ ในบทเรียนนี้ครูขอยกตัวอย่างการบอกเวลาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปใน 2 รูปแบบ ตามที่มาของ Native English หรือ ภาษาอังกฤษของเจ้าของภาษา นะคะ  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน

คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน มีอะไรบ้างในภาษาไทย

  คำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีน น้อง ๆ ทราบไหมคะว่ามีคำไหนบ้าง ทั้งสองประเทศนี้คือประเทศในแทบเอเชียเหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้อยู่ใกล้เรานัก แล้วทำไมถึงมีคำจากภาษาญี่ปุ่นและจีนเข้ามาปะปนอยู่ในชีวิตประจำได้ บทเรียนภาษาไทยเรื่องลักษณะคำที่ยืมมาจากภาษาญี่ปุ่นและจีนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ยืมมา จะมีคำไหนบ้าง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ที่มาของภาษาญี่ปุ่นและจีนในภาษาไทย     คำที่ยืมมาจากญี่ปุ่นและจีน มีด้วยกันมากมายหลายคำเลยค่ะ บางคำ อาจจะไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นกับจีน ไม่ใช่คำภาษาไทย เพราะสองประเทศในเอเชียนี้เข้ามามีอิทธิพลกับประเทศมาตั้งแต่โบราณ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1