กราฟแสดงความสัมพันธ์ปริมาณเชิงเส้น

ในหัวข้อนี้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับกราฟที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงส่วนหนึ่งของเส้นตรงหรือเป็นจุดที่เรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน
Picture of tucksaga
tucksaga
กราฟแสดงความสัมพันธ์ปริมาณเชิงเส้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในการเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ปริมาณเชิงเส้นกรณีที่กราฟมีลักษณะเป็นจุด เพื่อดูแนวโน้มของความสัมพันธ์เรานิยมเขียนต่อจุดเหล่านั้นให้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรง

กราฟแสดงความสัมพันธ์ปริมาณเชิงเส้น

การเขียนแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองชุดโดยใช้กราฟบนระนาบในระบบพิกัดฉากมาแล้ว มีทั้งกราฟที่เป็นเส้นตรงและไม่เป็นเส้นตรงให้พิจารณาสถานการณ์ต่อไปนี้

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณการซื้อขาย

ตัวอย่าง ตั้วและแต้วต้องการหารายได้พิเศษช่วงปิดเทอม จึงไปรับเสื้อมาช่วยกันขาย วันหนึ่งทั้งตัวและแต้วต่างก็ขายเสื้อได้จำนวนหนึ่ง แต่รวมกันแล้วเป็นจำนวนเสื้อทั้งหมด 9 ตัว จงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเสื้อที่เป็นไปได้ซึ่งตั้วและแต้วขายได้

ถ้าให้ x แทนจำนวนเสื้อที่ตัวขายได้เป็นตัว

      y แทนจำนวนเสื้อที่แต้วขายได้เป็นตัว

จำนวนเสื้อที่แต่ละคนขายได้จะต้องเป็นจำนวนนับที่รวมกันเป็น 9 ดังตาราง

ตารางสมการเชิงเส้น

จากตารางเขียนคู่อันดับ (x, y) แสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเสื้อที่ตัวและแต้วแต่ละคนขายได้ ได้ดังนี้ (1, 8), (2, 7), (3, 6), (4, 5), (5, 4), (6, 3), (7, 2), (8, 1)

        เมื่อกำหนดให้แกน X แสดงจำนวนเสื้อที่ตัวขายได้เป็นตัว

        และ แกน Y แสดงจำนวนเสื้อที่แล้วขายได้เป็นตัว

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนเสื้อที่เป็นไปได้ซึ่งตั้วและแต้วขายได้เป็นดังนี้

กราฟขงเส้นตรง

จากกราฟจะเห็นว่าทุกจุดของคู่อันดับที่เป็นไปตามเงื่อนไขในโจทย์ข้างต้น จะอยู่ในแนวเดียวกันกับเส้นประดังรูป นั่นคือ จุดทุกจุดของคู่อันดับที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดจะเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของอุณหภูมิ

ตัวอย่าง การบอกอุณหภูมิในประเทศไทยและหลายประเทศ นิยมบอกโดยใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส (°C) แต่ก็มีบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาบอกอุณหภูมิโดยใช้หน่วยเป็นองศาฟาเรนไฮต์ (°F) ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิทั้งสองหน่วย แสดงได้ด้วยสมการ F =(9/5)c+32

        มื่อ C แทนอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส

     และ F แทนอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์

ตารางพลอตกราฟ

จากตารางเขียนคู่อันดับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส กับอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ ได้ดังนี้ (-30, -22), (-20, 4), (-10, 14), (0, 32), (10, 50), (20, 68), (30, 86)

        เมื่อกำหนดให้แกน X แสดงอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส

        แกน Y แสดงอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์

จากข้อมูลในตารางเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสกับอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ ได้ดังนี้

จุดบนกราฟ

 

จากกราฟจะเห็นว่า จุดแต่ละจุดในกราฟซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสกับอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์อยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน

เนื่องจากเราสามารถหาอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ได้เสมอ ไม่ว่าอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสจะเป็นเท่าใด ดังนั้นจึงเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียสกับอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ได้ในลักษณะที่ต่อเนื่องกันเป็นเส้นตรง ดังรูป

กราฟของเส้นตรง

 

จากกราฟเราสามารถหาค่าประมาณของอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์ เมื่อทราบอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส หรือค่าประมาณของอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส เมื่อทราบอุณหภูมิในหน่วยองศาฟาเรนไฮต์เช่น ที่อุณหภูมิ 5 ° C เป็นอุณหภูมิประมาณ 40 ° F หรือที่อุณหภูมิ 8 ° F เป็นอุณหภูมิประมาณ 13 ° C ค่าประมาณเหล่านี้ สามารถอ่านได้จากกราฟโดยตรงซึ่งทำได้ง่ายและรวดเร็วกว่าการคำนวณจากสูตร F =(9/5)c +32

สถานการณ์ข้างต้นเป็นตัวอย่างของความสัมพันธ์ของปริมาณสองชุดที่มีกราฟอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน เราเรียกความสัมพันธ์ลักษณะเช่นนี้ว่าความสัมพันธ์เชิงเส้น ในการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นกรณีที่กราฟมีลักษณะเป็นจุด เพื่อดูแนวโน้มของความสัมพันธ์เรานิยมเขียนต่อจุดเหล่านั้นให้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นตรง

คลิปวิดีโอตัวอย่างเรื่องกราฟแสดงความสัมพันธ์ปริมาณเชิงเส้น

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  บางครั้งเรียกว่า

การหารเศษส่วนและจำนวนคละ

เทคนิคการหารเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความที่แล้วเราได้พูดถึงหลักการคูณเศษส่วนและจำนวนคละไปแล้ว บทความนี้จะเป็นเรื่องต่อยอดจากการคูณก็คือเรื่องการหารเศษส่วนและจำนวนคละ ถ้าใครอ่านบทความการคูณเศษส่วนและจำนวนคละเข้าใจแล้วรับรองว่าเรื่องนี้จะยิ่งง่ายมากกว่าเดิมแน่นอน เพราะต้องใช้เรื่องการคูณเศษส่วนและจำนวนคละในการคำนวณหาคำตอบเช่นกัน สิ่งที่บทความนี้จะมอบให้กับน้อง ๆก็คือขั้นตอนการแสดงวิธีทำที่เห็นภาพและเข้าใจง่ายเหมือนกันบทความที่แล้วมา

เรียนรู้บทร้องกรองสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

การนำสุภาษิตมาแต่งเป็นบทร้อยกรอง เรียกว่า บทประพันธ์ร้อยกรองสุภาษิต ซึ่งบทที่น้อง ๆ จะได้เรียนกันในวันนี้คือบทร้อยกรองสุภาษิตเรื่อง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เราไปดูกันเลยค่ะว่าที่มจากของบทร้อยกรองนี้จะเป็นอย่างไร มาจากสุภาษิตอะไร รวมไปถึงถอดความหมายตัวบท ศึกษาคำศัพท์ที่น่ารู้และศึกษาคุณค่าที่อยู่ในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลย   ความเป็นมา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน     ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ผู้แต่งคือ นายเพิ่ม สวัสดิ์วรรณกิจ เป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนแปด พิมพ์รวมอยู่ในหนังสือบทประพันธ์อธิบายสุภาษิตของวรรณคดีสมาคมแห่งประเทศไทย    

บทพากย์เอราวัณ

บทพากย์เอราวัณ ที่มาของวรรณคดีพากย์โขนอันทรงคุณค่า

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้องรับเข้าสู่เนื้อหาวิชาภาษาไทยที่จะมาให้สาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้ความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มักจะใช้ในการแสดงโขน นั่นก็คือบทพากย์เอราวัณแน่นอนว่าน้อง ๆ ในระดับมัธยมต้นจะต้องได้เรียนเรื่องนี้ เพราะเป็นวรรณคดีอีกเรื่องที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถของรัชกาลที่ 2 ในด้านกวีนิพนธ์จากการที่เลือกใช้ถ้อยคำภาษาที่สวยงามเพื่อมาบรรยายถึงลักษณะของช้างเอราวัณได้อย่างดี ดังนั้น ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันว่าวันนี้เรามีเนื้อหาที่น่าสนใจอะไรมาฝากน้อง ๆ กันบ้างดีกว่า ประวัติความเป็นมา สำหรับวรรณคดี บทพากย์เอราวัณ เป็นอีกหนึ่งผลงานการพระราชนิพนธ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ซึ่งถือเป็นบทที่นิยมนำไปใช้ในการแสดงโขน โดยได้เค้าโครงเรื่องมาจาก “รามายณะ”

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ

NokAcademy_Finite and Non- Finite Verb

Finite and Non- Finite Verb

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนการใช้ “Finite and Non- Finite Verb” ในภาษาอังกฤษกันจร้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดจร้า   คำเตือน: การเรียนเรื่องนี้จะทำให้นักเรียนมึนงงได้หากว่าพื้นฐานเรื่อง Part of speech, Subject , Tense, Voice และ Mood ของเราไม่แน่น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1