การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ
การให้เหตุผลแบบนิรนัย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การให้เหตุผลแบบนิรันัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือ การมองจากสิ่งใหญ่ๆว่ามันเป็นจริง ทำให้สิ่งที่อยู่ในนั้น จริงตามไปด้วย

การสรุปผลของนิรนัยจะถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปที่สมเหตุสมผล

เช่น เราไปซื้อผลไม้ แล้วแม่ค้าบอกว่า ผลไม้กองนี้หวาน แสดงว่า ถ้าหยิบมา 2 ลูก เราสามารถบอกได้เลยว่า ผลไม้ 2 ลูกนั้นหวาน

การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น จะแตกต่างกับ การให้เหตุผลแบบอุปนัย

อุปนัย มองจากเล็ก ไปหา ใหญ่

นิรนัย มองจาก ใหญ่ ไปหา เล็ก

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล ของการให้เหตุผลแบบนิรนัย

วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธี แต่พี่จะแนะนำการตรวจสอบที่ทำให้น้องๆเข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งก็คือตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

ถ้าแผนภาพที่เราวาด เป็นไปตามผลสรุป(ตามที่โจทย์บอก)ทุกกรณี แสดงว่า ผลสรุปนั้นสมเหตุสมผล

แต่ถ้าแผนภาพที่เราวาดนั้นไม่เป็นตามที่สรุปไว้ คืออาจจะมีบางกรณีที่ไม่จริง ผลสรุปนั้นจะไม่สมเหตุสมผล

เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ

ตัวอย่าง การให้เหตผลแบบนิรนัย

โจทย์เกี่ยวกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นโจทย์ที่ถ้าเราเข้าใจมันจะสนุกมากๆ ลองไปดูตัวอย่างกันค่ะ

1.)

เหตุ 1.สัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย

2. สุนัขเป็นสัตว์

ผล        สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย

ตอบ การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล

คำอธิบาย การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือเราจะยอมรับว่าเหตุที่ 1 เป็นจริง แล้ว เหตุที่ 2 เกิดจากเราสร้างขึ้นมา เหมือนกับข้อนี้ ที่บอกว่าสัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย เราเลยสร้างเหตที่ 2 ขึ้นมาว่า ถ้าสุนัขเป็นสัตว์ล่ะ เราเลยสรุปผลว่า สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย

มาดูภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

 

2.)

เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำได้

2. ขวดลอยน้ำได้

ผล            ขวดเป็นเรือ

ตอบ ไม่สมเหตสมผล

ข้อนี้เราจะใช้รูปภาพในการอธิบาย เพื่อไม่ให้น้องๆงงกันนะคะ

 

3.) เหตุ

  1. เด็กที่ขาดสารไอโอดีนทุกคนเป็นโรคคอพอก
  2. เด็กที่อยู่ไกลทะเลทุกคน ขาดสารไอโอดีน
  3. หมู่บ้าน ค อยู่ไกลจากทะเล
  4. ธิดา อยู่หมู่บ้าน ก

ผล.       ธิดาเป็นโรคคอพอก

ตอบ ข้อความข้างต้นสมเหตุสมผล

อธิบายตัวอย่างข้างต้น

4.) เหตุ

  1. จำนวนนับทุกจำนวนเป็นจำนวนเต็ม
  2. จำนวนเต็มบางจำนวนเป็นจำนวนเต็มลบ

ผล        จำนวนนับบางตัวเป็นจำนวนเต็มลบ

พิจารณา จากภาพ ดังนี้

4.) เหตุ

  1. ไม่มีจำนวนเฉพาะใดที่หารด้วย 2 ลงตัว
  2. 27 หารด้วย 2 ไม่ลงตัว

ผล.      27 เป็นจำนวนเฉพาะ

ตอบ ไม่สมเหตุสมผล

อธิบายด้วยภาพ ดังนี้

การให้เหตุผลแบบอุปนัย กับ การให้เหตุผลแบบนิรนัย

อุปนัย

ใช้ประสบการณ์ หรือทำซ้ำๆ แล้วคาดคะเนผลสรุป

ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน

ผลสรุปอาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

ยิ่งประสบการณ์มาก ผลสรุปยิ่งหน้าเชื่อถือ

น้องๆสามารถเข้าไปดูเนื้อหา การให้เหตุผลแบบอุปนัย ได้เลยนะคะ

นิรนัย

ยอมรับว่า เหตุที่ 1 เป็นจริง และสร้างเหตุการณ์ที่ 2 ขึ้นมา แล้วมาสรุปผล

ผลสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ มันสมเหตุสมผล

ตรวจการสมเหตุสมผลได้ด้วย แผนภาพ เวนน์-ออยเลอร์ (ตรวจสอบง่ายสุด)

วีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การให้เหตุผลแบบนิรัย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ประวัติความเป็นมาของวรรณคดีคำสอน เรื่องสุภาษิตพระร่วง

สุภาษิตพระร่วง   คนไทยนิยมใช้สุภาษิตสั่งสอนลูกหลานกันมาตั้งแต่สมัยก่อนจนถึงปัจจุบัน เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนก็คงจะเคยได้ยินสุภาษิตกันมาไม่มากก็น้อย ดังนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง วรรณคดีอันทรงคุณค่าและเป็นวรรณคดีเล่มแรกที่แต่งคำประพันธ์เป็นร่ายโบราณแบบร่ายสุภาพ ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของสุภาษิตพระร่วง     สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณคดีคำสอนที่ทรงคุณค่าที่มีมาอย่างยาวนาน มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุภาษิตบัณฑิตพระร่วง คำว่า พระร่วง ทำให้คนเข้าใจว่าอาจจะเป็นคำสอนของกษัตริย์สักคนที่มีนามว่า พระร่วง

การใช้ should ในการสร้างประโยค

การใช้ should ในการสร้างประโยค เกริ่นนำ เกริ่นใจ เคยสงสัยมั้ยว่า ชีวิตนี้ของเราควรจะต้องทำอะไรบ้าง? ภาษาอังกฤษเองก็มีอะไรแบบนี้เหมือนกันนะเอาจริง จริง ๆ ทุกภาษาก็มีเหมือนกันนะแม่ที่หากเราต้องการที่จะแนะนำว่าใครควรทำหรือชักชวนเพื่อให้รู้จักมักคุ้นกับอะไรยังไงสักอย่างอย่างมีระบบเราก็จะมีชุดคำศัพท์ที่เรา “ควร” ที่จะใช้ และนั่น!! นำมาซึ่งเนื้อหาของเราในวันนี้ อย่างเรื่อง “ควร หรือ Should” ในโลกของภาษาอังกฤษกัน แก… เราควรไปทำผมใหม่ปะ? แก… เราว่าเราควรตั้งใจเรียนแล้วปะ? แก…

อิศรญาณภาษิต

อิศรญาณภาษิต ศึกษาวรรณคดีคำสอนของไทย

อิศรญาณภาษิต เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาสอนให้ผู้อ่านรู้จักลักษณะของกลอนเพลงยาวและยังสอดแทรกข้อคิดต่าง ๆ ไว้อีกมากมาย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกถึงประวัติความความเป็นมา ผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ของกลอนเพลงยาว และตัวบทที่น่าสนใจ ๆ ในเรื่อง ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าวรรณคดีเรื่องนีมีความเป็นมาและความสำคัญอย่างไร เหตุใดจึงอยู่ในแบบเรียนภาษาไทยในเราได้ศึกษากันอยู่ตอนนี้ ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     ความเป็นมาของ   อิศรญาณภาษิต (อ่านว่า

โคลงโลกนิติ

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในโคลงโลกนิติ

หลังจากที่ได้เรียนรู้ความเป็นมาและเนื้อหาในโคลงโลกนิติกันแล้ว น้อง ๆ ก็คงจะอยากรู้กันแล้วใช่ไหมคะว่าตัวบทในโคลงโลกนิติที่มีอยู่มากมายนั้น มีตัวบทไหนที่เด่น ๆ กันบ้าง วันนี้เรามาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจเพื่อทำความเข้าใจถึงคติธรรมและคุณค่าที่อยู่ในเรื่องกันค่ะ โคลงโลกนิติ โคลงโลกนิติเป็นบทประพันธ์ที่มีคำสอนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการคบเพื่อน การปฏิบัติตัวกับพ่อแม่ หรือแม้แต่การดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เรามาดูตัวบทเด่น ๆ ที่ควรรู้กันทีละบทเลยนะคะว่าแต่ละบทสอนเรื่องอะไรบ้าง   ศึกษาตัวบท     ความหมาย กล่าวถึงปลาร้าที่มีกลิ่นเหม็น และใบคา แม้ใบคาจะเป็นใบไม้ที่ไม่มีกลิ่นเฉพาะตัว แต่เมื่อนำไปห่อปลาร้าก็จะทำให้มีกลิ่นเหม็นจากปลาร้าติดไปด้วย

มนุสสภูมิ ตอนที่ว่าด้วยกำเนิดของมนุษย์ในไตรภูมิพระร่วง

ไตรภูมิพระร่วงมีจุดมุ่งหมายที่จะชี้ให้เห็นคุณและโทษของโลกทั้งสามที่ไม่แน่นอน เพื่อที่จะให้มนุษย์ตระหนักถึงกรรมดีและกรรมชั่วและพบกับความสุขไม่ว่าจะอยู่ในโลกไหน โดยในตอน มนุสสภูมิ นี้ก็ได้กล่าวถึงการกำเนิดมนุษย์ที่อธิบายโดยใช้หลักความเชื่อทางพุทธศาสนามาอธิบายจึงทำให้วรรณคดีเรื่องนี้เป็นอีกเรื่องที่มีความสนใจเป็นอย่างมากเลยล่ะค่ะ จากที่ครั้งก่อนเราได้เรียนเรื่องนี้กันไปแล้วในส่วนของที่มาและความสำคัญและเนื้อเรื่องย่อ บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เพิ่มเติมแต่เป็นเรื่องของตัวบทเพื่อถอดคำประพันธ์ รวมไปถึงศึกษาคุณค่าที่ปรากฏในเรื่องด้วยค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูกันเลย ตัวบทเด่น ๆ ในไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ     ถอดความ เป็นการอธิบายถึงวิวัฒนาการของทารกในครรภ์ตั้งแต่เริ่มเป็นเซลล์ โดยอธิบายว่าไม่ว่าจะเกิดเป็นชายหรือหญิง ก็จะเริ่มจากการเป็นกลละ แล้วโตขึ้นทีละน้อย เมื่อถึง 7

วงรี

วงรี

วงรี วงรี จะประกอบไปด้วย 1) แกนเอกคือแกนที่ยาวที่สุด และแกนโทคือแกนที่สั้นกว่า 2) จุดยอด 3) จุดโฟกัส ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ว่าแกนใดเป็นแกนเอก 4) ความเยื้องศูนย์กลาง (eccentricity) วงรี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุดกำเนิด จากกราฟ สมการรูปแบบมาตรฐาน:    จุดยอด : (a, 0) และ (-a,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1