ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะแนะนำให้รู้จักกับ ความน่าจะเป็น ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ รวมถึงคำที่เกี่ยวข้องกับความน่าจะเป็น เช่นการทดลองสุ่ม ปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้

ความน่าจะเป็น

ความน่าจะเป็น (Probability)  เป็นจำนวนที่ใช้เพื่อบอกโอกาสที่เหตุการณ์หนึ่ง ๆ จะเกิดขึ้น ซึ่งมี 3 ลักษณะ คือ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0 อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้ จะมีค่าความน่าจะเป็นอยู่ระหว่าง 0 กับ 1 และเกิดขึ้นอย่างแน่นอนจะมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 ทั้งนี้ ในการบอกค่าความน่าจะเป็นอาจเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนทศนิยมหรือร้อยละเราสามารถใช้ความน่าจะเป็นช่วยในการคาดการณ์ สร้างข้อสรุป และตัดสินใจแก้ปัญหา ซึ่งได้ยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้

1)  ในโหลใบหนึ่งมีลูกแก้วสีแดง 20 ลูก สีเขียว 10 ลูก คนลูกแก้วรวมกันแล้วหยิบลูกแก้ว 1 ลูก ออกมา จากโหลโดยไม่ต้องดู โอกาสที่จะหยิบลูกแก้วสีอะไรได้มากกว่า เพราะเหตุใด

ตอบ สีแดง เพราะลูกแก้สีแดงมีจำนวนมากที่สุด

2)  กล่องใบหนึ่งมีลูกอมรสส้ม 6 เม็ด รสบ๊วย 8 เม็ด และรสช็อกโกแล็ต 3 เม็ด

2.1 หยิบได้ลูกอมรสส้มหรือรสบ๊วยหรือรสช็อกโกแล็ต

ตอบ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

2.2 หยิบลูกอมรสส้มเป็นเหตุการณ์อย่างไร

ตอบ อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้

2.3 หยิบลูกอมรสใดได้มากที่สุด  เพราะเหตุใด

ตอบ รสบ๊วย เพราะในกล่องมีลูกอมรสบ๊วยมากที่สุด

2.4 หยิบลูกอมรสใดได้น้อยที่สุด  เพราะเหตุใด

ตอบ รสช็อกโกแล็ต เพราะในกล่องมีรสช็อกโกแล็ตน้อยที่สุด

2.5 หยิบได้ลูกอมรสกาแฟเป็นเหตุการณ์อย่างไร

ตอบ ไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

การทดลองสุ่ม

การทดลองสุ่ม (random experiment)  คือ  การทดลองหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งทราบว่าผลลัพธ์อาจจะเป็นอะไรได้บ้าง แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่า ในแต่ละครั้งที่ทดลองผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้เหล่านี้

ตัวอย่างที่ 1  จงพิจารณาว่าการกระทำต่อไปนี้  เป็นการทดลองสุ่มหรือไม่  เพราะเหตุใด

1)  การโยนเหรียญ 1  เหรียญ  หนึ่งครั้ง

ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการโยนเหรียญ 1 เหรียญ หนึ่งครั้ง อาจจะออกหัวหรือก้อย แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าจะออกหัวหรือก้อย

2)  การทอดลูกเต๋า 1 ลูก หนึ่งครั้งลงในถ้วย

ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก หนึ่งครั้งลงในถ้วย ลูกเต๋าจะหงายหน้าที่มีแต้ม 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าลูกเต๋าจะหงายหน้าที่มีแต้มใด

3)  การเดินทางไปโรงเรียน

ตอบ ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการเดินทางไปโรงเรียน เราไม่สามารถตอบได้เลยว่าผลลัพธ์เป็นอะไรบ้าง

4)  การแข่งขันฟุตบอลในแต่ละนัด

ตอบ เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการแข่งขันฟุตบอลในแต่ละนัด มีผล แพ้ ชนะ หรือ เสมอ แต่ไม่สามารถระบุได้แน่นอนว่าผลการแข่งขันจะเป็นแบบใด

5) การถอนเงินจากธนาคาร

ตอบ ไม่เป็นการทดลองสุ่ม เพราะว่าในการถอนเงินจากธนาคาร เราไม่สามารถตอบได้เลยว่าผลลัพธ์เป็นอะไรบ้าง

จากตัวอย่างข้างต้น สรุปได้ว่า

           ราไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น จากแต่ละการกระทำจะเป็นอะไร  แต่สามารถบอกได้ว่ามีผลลัพธ์อะไรบ้างที่จะเกิดขึ้นได้ เรียกการกระทำเหล่านี้ว่า  การทดลองสุ่ม

ตัวอย่างที่ 2   ให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าข้อใดเป็นการสุ่ม โดยทำเครื่องหมาย ü หรือ û  หน้าข้อความให้ถูกต้อง

          ü       1. สุ่มหยิบลูกบอล 1 ลูก จากกล่องที่มีลูกบอล สีแดง สีขาว สีน้ำเงินอย่างละลูก

          û       2. การทำข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น

           û       3. การถูกอาจารย์สุชาติลงโทษ

          ü       4. นักเรียนที่ชอบเกมส์โชว์

           ü       5. นักเรียนที่เดินออกจากโรงเรียน ทุก ๆ 50 คน

            û       6. เด็กที่ชอบเล่นกีฬาเทนนิสทุกวันศุกร์

            ü       7. ครูสุ่มหยิบหมายเลขให้นักเรียนไปนำเสนอหน้าชั้น

            ü       8. ครูหยิบฉลากเพื่อแลกของขวัญในวันขึ้นปีใหม่

             û       9. นักเรียนเดินกลับบ้านเป็นแถว

           ü       10. การสำรวจเพศของบุตรในครอบครัวหนึ่ง

ปริภูมิตัวอย่าง

ปริภูมิตัวอย่าง หรือแซมเปิลสเปซ (S) คือ เซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งหมดจากการทดลองสุ่ม

ตัวอย่างที่ 3  จงเขียนแซมเปิลสเปซ  และหาจำนวนของผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้  จากการทดลองสุ่มต่อไปนี้

1)  การโยนเหรียญเที่ยงตรง 1  เหรียญ  2  ครั้ง

ตอบ  แซมเปิลสเปซที่เป็นไปได้ทั้งหมด ได้แก่ HH, HT, TH, TT

          จำนวนของแซมเปิลสเปซหรือผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เท่ากับ  4

2)  สุ่มหยิบลูกปิงปอง 2 ลูกพร้อมกัน จากกล่องใบหนึ่ง ที่มีลูกปิงปอง สีม่วง 1 ลูก, สีส้ม 1 ลูก และสีเขียว 1 ลูก

ตอบ  แซมเปิลสเปซที่เป็นไปได้ทั้งหมด ได้แก่ ม่วงส้ม,  ม่วงเขียว  และส้มเขียว

          จำนวนของแซมเปิลสเปซหรือผลลัพธ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ เท่ากับ  3

 ตัวอย่างที่ 4  มีแป้นวงกลมอยู่หนึ่งแป้นได้จาการแบ่งวงกลม ออกเป็น 10 ส่วน มีหมายเลขกำกับ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9 ตามลำดับ หมุนแป้น 1 ครั้ง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1. ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 10 แบบ คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9

    1. ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องจำนวนคู่ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 5 แบบ คือ 0,2,4,6,8

    1. ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องจำนวนคี่ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 5 แบบ คือ 1,3,5,7,9

    1. ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องมากกว่า 7 เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 2 แบบ คือ 8,9

    1. ผลลัพธ์ที่เข็มชี้ในช่องเป็นจำนวนเฉพาะ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 4 แบบ คือ 2,3,5,7

ตัวอย่างที่ 5  กล่องทึบแสงใบหนึ่งมีลูกปิงปอง 5 ลูก มีตัวเลขเขียนกำกับลูกละ 1 ตัว คือ 0, 1, 3, 5, 7 หากหยิบลูกปิงปอง ครั้งละ 1 ลูก 2 ครั้ง จงหาผลการทดลองสุ่มจากสถานการณ์นี้

  1. ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 15 แบบ คือ (0,0), (0,1), (0,2), (0,3), (0,7), (1,1),(1,3), (1,5), (1,7), (3,3), (3,5), (3,7), (5,5), (5,7), (7,7)

  1. ผลลัพธ์ที่หยิบลูกปิงปองเป็นผลบวกจำนวนคู่ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 12 แบบ คือ (0,0), (0,2), (1,1), (1,3), (1,5), (1,7),

 (3,3), (3,5), (3,7), (5,5), (5,7), (7,7)

  1. ผลลัพธ์ที่ที่หยิบลูกปิงปองเป็นผลบวกจำนวนคี่ เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 3 แบบ คือ (0,1), (0,3), (0,7),

  1. ผลลัพธ์ที่หยิบลูกปิงปองได้ผลบวกเท่ากับ 8 เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 2 แบบ คือ (1,7),(3,5)

  1. ผลลัพธ์ที่หยิบลูกปิงปองได้ผลบวกน้อยกว่า 5 เป็นอย่างไร

ตอบ     มี 4 แบบ คือ     (0,0), (0,1), (0,2),(0,3),

เหตุการณ์

เหตุการณ์ (Events)  คือ เซตของผลลัพธ์ที่ได้จากการทดลองสุ่มที่เราสนใจพิจารณา ซึ่งเหตุการณ์เป็นสับเซตของปริภูมิตัวอย่าง

ตัวอย่างที่ 6  สุ่มหยิบเหรียญ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 เหรียญ จากกล่องที่มีเหรียญอยู่ โดยมีหมายเลขกำกับ ได้แก่ 1,2,3,4 โดยครั้งที่ 1 หยิบ 1 เหรียญ แล้วนำมาดูว่าได้หมายเลขใด หลังจากนั้นใส่กลับคืน แล้วหยิบครั้งหนึ่ง แล้วนำมาดูหมายเลขใด จงหาผลลัพธ์ต่อไปนี้

1) เหตุการณ์ที่ผลบวกของหมายเลขทั้งสองครั้งเท่ากับ 4

ตอบ เหตุการณ์ที่ผลบวกของหมายเลขทั้งสองครั้งเท่ากับ 4 มี 3 แบบ คือ (1,3),(2,2),(3,1)

2) เหตุการณ์ที่หยิบครั้งที่ 1 ได้หมายเลข 3

ตอบ เหตุการณ์ที่หยิบครั้งที่ 1 ได้หมายเลข 3 มี 4 แบบ คือ (3,1),(3,2),(3,3),(3,4)

3) เหตุการณ์ที่หยิบครั้งที่ 2 ได้หมายเลข 5

ตอบ ไม่มีผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่หยิบครั้งที่ 2 ได้หมายเลข 5

ตัวอย่างที่ 7  ในการทอดลูกเต๋า 1 ลูก 2 ครั้ง พร้อมกัน ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นดังนี้

(1, 1), (1, 2), (1, 3), (1, 4), (1, 5), (1, 6),(2, 1), (2, 2), (2, 3), (2, 4), (2, 5), (2, 6),

(3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5), (3, 6),(4, 1), (4, 2), (4, 3), (4, 4), (4, 5), (4, 6),

(5, 1), (5, 2), (5, 3), (5, 4), (5, 5), (5, 6),(6, 1), (6, 2), (6, 3), (6, 4), (6, 5), (6, 6)

จากข้อมูลที่กำหนดให้  จงเขียนเหตุการณ์ต่อไปนี้

 1) เหตุการณ์ที่ได้แต้มในการทอดลูกเต๋าครั้งแรกเป็น 3

  ตอบ    (3, 1), (3, 2), (3, 3), (3, 4), (3, 5) และ (3, 6)

 2) เหตุการณ์ที่ได้แต้มในการทอดลูกเต๋าครั้งที่สองเป็น 5

 ตอบ    (1, 5), (2, 5), (3, 5), (4, 5), (5, 5) และ (6, 5)

   3) เหตุการณ์ที่ได้แต้มเท่ากัน

   ตอบ    (1, 1), (2, 2), (3, 3), (4, 4), (5, 5) และ (6, 6)

   4) เหตุการณ์ที่ได้แต้มเป็นจำนวนเฉพาะสองครั้ง

  ตอบ    (2, 2), (2, 3), (2, 5), (3, 2), (3, 3), (3, 5), (5, 2), (5, 3) และ (5, 5)

   5) เหตุการณ์ที่ได้แต้มรวมกันเท่ากับ 6

  ตอบ    (1, 5), (2, 4), (3, 3), (4, 2) และ (5, 1)

   6) เหตุการณ์ที่ได้แต้มต่างกันอยู่ 2

  ตอบ   (1, 3), (2, 4), (3, 1), (3, 5), (4, 2), (4, 6), (5, 3) และ (6, 4)

     7) เหตุการณ์ที่ผลคูณของแต้มเท่ากับ 8

  ตอบ   (2, 4) และ (4, 2)

    8) เหตุการณ์ที่ผลหารของแต้มเท่ากับ 0

  ตอบ   ไม่มี

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่อง ความน่าจะเป็น  จะทำให้น้องๆ สามารถเข้าใจการทดลองสุ่ม การหาแซมเปิลสเปส และเหตุการณ์ เพื่อสามารถนำมาคำนวณหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ได้ในลำดับถัดไป ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประกอบในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในอนาคตได้

วิดีโอ ความน่าจะเป็น

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ

การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ อ่านอย่างไรให้ถูกต้อง

ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะชมสื่อต่าง ๆ หรือพูดคุยในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะเจอคนที่อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่ชัดอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะคำที่เป็น ร หรือ ล ทำให้การสื่อสารอาจผิดพลาดไปเลยก็ได้ ดังนั้น การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ให้ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บทเรียนในวันนี้ นอกจากน้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำควบกล้ำว่ามีอะไรบ้างแล้ว ก็ยังจะได้รู้วิธีอ่านออกเสียงอีกด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำควบกล้ำ คำควบกล้ำ (อักษรควบ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์และใช้สระเดียวกัน

อิเหนา

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

คำสุภาพและคำผวน

คำสุภาพ คำผวน สองขั้วตรงข้ามในภาษาไทย

คำสุภาพ และคำผวน คำสุภาพและคำผวน คือสองเรื่องในภาษาไทยที่ต่างกันสุดขั้ว ทั้งวิธีใช้ ความหมาย และความสำคัญ บทเรียนภาษาไทยวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับทั้งคำสุภาพ และคำผวนในภาษาไทย ว่าทำไมถึงต่างกันและสามารถใช้ในโอกาสใดได้บ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความหมายของคำสุภาพ     คำสุภาพ เป็นการเปลี่ยนแปลงการใช้คำศัพท์เดิมให้เปลี่ยนไปในทางดีขึ้น เพื่อให้ดูสุภาพมากกว่าเดิม ใช้เมื่อต้องการหลีกเลี่ยงเรียกคำที่ไม่น่าฟัง หรือใช้กับคนที่อาวุโสกว่าก็ได้ อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นคำราชาศัพท์

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

รอบรู้เรื่องคำไทย คำศัพท์คำไหนภาษาไทยยืมมาจากต่างประเทศ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับมาพบกับบทเรียนภาษาไทยสนุก ๆ พร้อมสาระความรู้ดี ๆ ซึ่งวันก็เช่นเคยเราจะมาเข้าสู่เนื้อหาการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะภาษาไทยที่เราใช้กันในปัจจุบันก็มีที่มาจากการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมา และไม่ได้มีการยืมแค่ในภาษาบาลีหรือสันสกฤษเท่านั้น แต่ยัลมีภาษาอื่น ๆ อีก เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ทุกคนมาทำความรู้จักกับคำจากภาษาต่างประเทศที่เราใช่ในภาษาไทยกันให้ลึกขึ้นอีกระดับหนึ่ง ถ้าพร้อมแล้วก็ไปเริ่มเรียนกันได้เลย     สาเหตุการยืมของภาษาไทย มาเริ่มกันที่จุดเริ่มต้น หรือสาเหตุที่ทำไมคนไทยจึงต้องหยิบยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1