การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธี การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งสามารถทำได้โดยการจัดรูปของตัวแปรให้อยู่ด้านเดียวกันและตัวเลขอยู่อีกด้าน เพื่อหาค่าของตัวแปรนั้นๆ แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้การแก้อสมการนั้น น้องๆสามารถทบทวน อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ แนะนำอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ⇐⇐

หลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ในการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จะทำคล้ายๆกับการแก้สมการ โดยมีหลักการ ดังนี้

  1. จัดตัวแปรให้อยู่ข้างเดียวกัน และจัดตัวเลขไว้อีกฝั่ง (นิยมจัดตัวแปรไว้ด้านซ้ายของสัญลักษณ์อสมการ และจัดตัวเลขไว้ด้านขวาของสัญลักษณ์อสมการ)
  2. ถ้านำจำนวนลบ มาคูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม ดังนี้
    • มากกว่า (>) เปลี่ยนเป็น น้อยกว่า (<)
    • น้อยกว่า (<) เปลี่ยนเป็น มากกว่า (>)
    • มากกว่าหรือเท่ากับ (≥) เปลี่ยนเป็น น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤)
    • น้อยกว่าหรือเท่ากับ (≤) เปลี่ยนเป็น มากกว่าหรือเท่ากับ (≥)
    • ไม่ท่ากับ (≠) สัญลักษณ์ไม่เปลี่ยน

จากหลักการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ที่ระบุว่า เมื่อนำจำนวนลบมา คูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้ามนั้น น้องๆมาสังเกตดูว่า ถ้านำจำนวนบวกมา คูณ หรือ หาร สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนมั้ย??

จงเติมคำตอบว่าอสมการเป็นจริงหรือเท็จ เมื่อคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงบวก

ข้อ อสมการ อสมการเป็นจริง

หรือเท็จ

ผลคูณ

อสมการเป็นจริง

หรือเท็จ

1

3 < 8

เป็นจริง

3 x 4 < 8 x 4

12 < 32

เป็นจริง
2 –4 ≤ –2

เป็นจริง

(–4) x 4  ≤ (–2) x 4

–16  ≤  –8

เป็นจริง

 

3

–5 < 1 เป็นจริง (–5) x 3 < 1 x 3

–15 < 3

เป็นจริง

 

4

4  ≥  3

เป็นจริง

4 x 5  ≥   3 x 5

20  ≥   15

เป็นจริง

5 3 > –1 เป็นจริง 3 x 12 > (–1) x 12

36 > –12

เป็นจริง

จะเห็นว่าเมื่อคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงบวก อสมการเป็นจริงทุกอสมการ นั่นคือ เมื่อคูณ หรือ หาร ทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงบวก สัญลักษณ์ของอสมการจะไม่เปลี่ยน

ถ้าคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงลบ สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนหรือไม่

ข้อ

อสมการ อสมการเป็นจริง

หรือเท็จ

ผลคูณ อสมการเป็นจริง

หรือเท็จ

  6

3 < 5 เป็นจริง 3 x (–4) < 5 x (–4)

–12 < –20

เท็จ
  7 –4  ≤ –3

เป็นจริง

–4 x (–4)  ≤  –3 x (–4)

16  ≤  12

เท็จ

  8

–5 < 2 เป็นจริง –5 x (–3) < 2 x (–3)

15 < –6

เท็จ
  9 4  ≥  1 เป็นจริง 4 x (–5)  ≥  1 x (–5)

–20  ≥  –5

เท็จ

10 3 > –1 เป็นจริง 3 x (–12)  > –1 x (–12)

 –36 > 12

เท็จ

จะเห็นว่าเมื่อคูณทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงลบ อสมการเป็นเท็จทุกอสมการ นั่นคือ เมื่อคูณ หรือ หาร ทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนจริงลบ สัญลักษณ์ของอสมการจะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์ตรงกันข้าม เพื่อทำให้อสมการเป็นจริง ซึ่งเป็นจริงตามหลักการข้อที่ 2

วิธีแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ลำดับต่อไป มาเรียนรู้วิธีการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จากตัวอย่างต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ 1  จงหาคำตอบของอสมการ  3x – 2 < 10

จาก   3x – 2 < 10

นำ 2 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้   3x – 2 + 2 < 10 + 2

                      3x < 12

                 3x(¹⁄₃ ) < 12(¹⁄₃ )

                             x < 4

ดังนั้น คำตอบของอสมการ 3x – 2 < 10 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 4

ตัวอย่างที่ 2  จงหาคำตอบของสมการ   –4x + 10  ≤  30

วิธีทำ  จาก  –4x + 10  ≤  30

นำ –10 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้   –4x + 10  + (–10)  ≤  30 + (–10)

                                       –4x  ≤  20

                              –4x(–¹⁄₄ )  ≥  20(–¹⁄₄)

                                         x   ≥  –5

ดังนั้น คำตอบของอสมการ –4x + 10  ≤  30 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่มากกว่าหรือเท่ากับ –5

ตัวอย่างที่ 3  จงหาคำตอบของสมการ  2(x – 10) < 4

วิธีทำ  จาก 2(x – 10) < 4

นำ 2 คูณเข้าไปในวงเล็บ

 จะได้   2x – 20  < 4

           2x < 4 + 20 

                           2x < 24 

นำ ¹⁄ ₂ คูณทั้งสองข้างของอสมการ

                 2x (¹⁄ ₂ )  < 24 (¹⁄ ₂)

                            x  <  12

ดังนั้น คำตอบของอสมการ 2(x – 10) < 4 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 12

ตัวอย่างที่ 4  จงหาคำตอบของสมการ  28 – 4x > 20

วิธีทำ  จาก   28 – 4x > 20

นำ –28 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้  28 – 4x – 28 > 20 – 28

                                –4x > –8

นำ –¹⁄₄   คูณทั้งสองข้างของอสมการ

                              –4x (–¹⁄₄ )  < -8 (–¹⁄₄)

                                           x  <  2

ดังนั้น คำตอบของอสมการ 28 – 4x > 20 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่า 2

ตัวอย่างที่ 5  จงหาคำตอบของสมการ  x – 5  ≥  2x – 7

วิธีทำ  จาก  x – 5  ≥  2x – 7

นำ 7 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้ x – 5 + 7  ≥  2x – 7 + 7

                                    x + 2  ≥  2x

นำ x ลบทั้งสองข้างของอสมการ

                            x + 2 – x  ≥  2x – x

                                       2  ≥ x  หรือ  x  ≤  2  

ดังนั้น คำตอบของอสมการ x – 5  ≥  2x – 7 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนที่น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2

ตัวอย่างที่ 6  จงหาคำตอบของสมการ 3(x – 7) ≠ 12

วิธีทำ  จาก  3(x – 7) ≠ 12

จะได้    3x – 21 12

นำ 21 บวกทั้งสองข้างของสมการ

 จะได้ 3x – 21 + 21 ≠ 12 + 21

                                3x ≠ 33

                                  x 11

ดังนั้น คำตอบของอสมการ 3(x –7) 12 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น 11

ตัวอย่างที่ 7  จงหาคำตอบของสมการ x – 12 ≠ 2x – 4

วิธีทำ  จาก x – 12 ≠ 2x – 4

นำ 4 บวกเข้าทั้งสองข้างของอสมการ

 จะได้   x – 12 + 4 ≠ 2x – 4 + 4

                          x – 8  ≠  2x

นำ x ลบทั้งสองข้างของอสมการ

                    x – 8 – x  ≠ 2x – x

                               x  ≠   -8

ดังนั้น คำตอบของอสมการ x – 12 ≠ 2x – 4 คือ จำนวนจริงทุกจำนวนยกเว้น -8

แบบฝึกหัด พร้อมเฉลย

จงแสดงวิธีแก้อสมการต่อไปนี้

1) 5x – 10 ≠ 30
วิธีทำ  จาก  5x – 10 ≠ 30
5x – 10 + 10 ≠ 30 + 10
5x ≠ 40
5x (¹⁄ ₅ ) ≠ 40 (¹⁄ ₅ )
x ≠ 8
2) 2x – 17 -11
วิธีทำ  จาก  2x – 17  -11
2x – 17 + 17
 -11+17
2x
 6
                          x  3
3) 3x + 15 < 30
วิธีทำ  จาก  3x + 15 < 30
3x + 15 – 15 <
 30 – 15
3x <
 15
                          x < 5
4) 10x + 5 ≥ 25
วิธีทำ  จาก  10x +5 ≥ 25
10x + 5 – 5 ≥
 25 – 5
10x ≥
 20
                        x ≥ 2
5) 4x + 10 > 50
วิธีทำ  จาก  4x + 10 > 50
4x + 10 – 10 >
 50 – 10
4x >
 40
                          x > 10
6) 7x – 3 ≠ 4
วิธีทำ  จาก  7x – 3 ≠ 4
7x – 3 + 3 ≠ 4 + 3
7x ≠ 7
x ≠ 1
7) 3(x + 1) ≥ 15
วิธีทำ  จาก 3(x + 1) ≥ 15
                   x + 1 ≥ 5
              x + 1 – 1 ≥ 5 – 1
                        x ≥ 4
8) 2(x – 4) < 12
วิธีทำ  จาก  2(x – 4) < 12
                     x – 4 < 6
               x – 4 + 4 < 6 + 4
                          x < 10

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่องการเแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว  จะทำให้น้องๆสามารถแก้อสมการได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่องสมการมาประยุกต์ใช้กับอสมการได้ เมื่อน้องๆ หาคำตอบได้แล้ว น้องๆจะต้องเขียนกราฟของคำตอบของสมการ ซึ่งเขียนในรูปของเส้นจำนวน อยู่ในบทความเรื่องกราฟของอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

วิดีโอ การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวม วิธีการแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค ที่จะทำให้น้องๆมองวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

งานอดิเรก (Hobbies) ในยุคปัจจุบัน

  ในปัจจุบันงานอดิเรก (Hobbies) นอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้เราสนุกแล้วยังสามารถเพิ่มพูนทักษะใหม่ๆ  ให้เราได้อีกด้วย  หากมีใครก็ตามถามว่า what do you like to do in your free time? คุณชอบทำอะไรในเวลาว่าง ครูเชื่อว่านักเรียนจะต้องมีหลายคำตอบ เพราะปัจจุบันมีหลายสิ่งหลายอย่างให้ทำเยอะมาก แต่เหนือสิ่งอื่นใด งานอดิเรกนั้นต้องทำให้เราสนุกและมีความสุขกับการได้ทำมันแน่ๆ “Do what you love,

การใช้ Tenses : Present Simple Tense/ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู “การใช้ Tenses : Present simple/ Present Continuous” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย ทบทวน Present Simple Tense       ความหมาย: Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present

เรียนรู้ตัวบทเด่นของบทละครพูดคำฉันท์เรื่องดัง มัทนะพาธา

มัทนะพาธา เป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่ประพันธ์โดยรัชกาลที่ 6 ซึ่งพระองค์ทรงคิดขึ้นเองไม่ได้แปลหรือดัดแปลงมาจากเรื่องใด จากการศึกษาความเป็นมาในบทเรียนคราวที่แล้วทำให้เราได้รู้ที่มา ลักษณะคำประพันธ์รวมไปถึงเรื่องย่อของเรื่องกันไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะศึกษาตัวบทเด่น ๆ ของเรื่องกันนะคะว่ามีบทใดที่ได้ชื่อว่าเป็นวรรคทอง ถอดความ พร้อมทั้งเรียนรู้คุณค่าของานประพันธ์ชิ้นนี้อีกด้วย ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน มัทนะพาธา     ถอดความ บทนี้เป็นคำพูดของฤษีกาละทรรศินที่กำลังอธิบายให้ศุภางค์ แม่ทัพของท้าวชัยเสนว่าเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรักระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งไร้ประโยชน์ โดยบอกว่า

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1