ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การเท่ากันทุกประการในส่วนต่างๆของรูปเรขาคณิต และบทนิยามที่กล่าวถึงความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิตเกิดจากการสะท้อน การเลื่อนขนาน และการหมุน ซึ่งเป็นตัวอย่างของการเคลื่อนที่รูปเรขาคณิตซึ่งเป็นการแปลงตำแหน่งของรูปเรขาคณิตบนระนาบโดยที่ระยะระหว่างจุดสองจุดใด ๆของรูปนั้นไม่เปลี่ยนแปลง  หมายความถึงว่า รูปร่างและขนาดของรูปเรขาคณิตที่เคลื่อนที่นั้นไม่เปลี่ยนแปลง

ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต

พิจารณารูปต่อไปนี้

เท่ากันทุกประการ

ถ้าเรากำหนดให้ A เป็นรูปต้นแบบ และ A เกิดการแปลงไปเป็นรูป B C และ D ซึ่งเกิดจากการ “เคลื่อนที่” รูป A ดังนี้

รูป B เกิดจากการสะท้อนที่แกน Y

รูป D เกิดจากการเลื่อนขนานไปตามแกน Y

รูป C เกิดจากการหมุนรูป A ไป 180 °รอบจุด O

การเคลื่อนที่รูปเรขาคณิตจากการแปลงดังกล่าวข้างต้น เป็นตัวอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนตำแหน่งของรูปเรขาคณิตบนระนาบ โดยที่ระยะระหว่างจุดสองจุดใด ๆ ของรูปนั้นไม่เปลี่ยนแปลง

แสดงว่ารูปร่างและขนาดของรูปเรขาคณิตที่เคลื่อนที่นั้นไม่เปลี่ยนแปลง และถ้าเราเคลื่อนรูป A B C และ D มาทับกัน รูปทั้งหมดก็สามารถทับกันได้สนิท เราถือว่ารูปทั้งหมดนั้นเท่ากันทุกประการ

บทนิยาม “รูปเรขาคณิตสองรูปเท่ากันทุกประการก็ต่อเมื่อเคลื่อนที่รูปหนึ่งไปทับอีกรูปหนึ่งได้สนิท”

นิยาม

การตรวจสอบว่ารูปเรขาคณิตสองรูปใดเท่ากันทุกประการหรือไม่อาจทำได้โดยใช้กระดาษลอกลายลอกรูปหนึ่งแล้วยกไปทับอีกรูปหนึ่งถ้าทับกันได้สนิทแสดงว่ารูปเรขาคณิตเท่ากันทุกประการ

ความเท่ากันทุกประการของส่วนของเส้นตรง

ส่วนของเส้นตรงสองเส้นเท่ากันทุกประการก็ต่อเมื่อส่วนของเส้นตรงทั้งสองนั้นยาวเท่ากัน

ความเท่ากันทุกประการของเส้นตรง

จากรูป AB เท่ากันทุกประการกับ CD แต่เวลาเขียนเป็นสัญลักษณ์ไม่นิยมเขียนว่า AB = CD จะเขียนเพียง AB = CD เท่านั้น

ความเท่ากันทุกประการของมุม

มุมสองมุมเท่ากันทุกประการก็ต่อเมื่อมุมทั้งสองมุมนั้นมีขนาดเท่ากัน

ความเท่ากันทุกประการของมุม

จากรูป ถ้า <ABC = <DEF แล้ว <ABC = <DEF และการเขียนสัญลักษณ์แทนการเท่ากันทุกประการของมุมจะเขียนเพียง <ABC = <DEF เท่านั้น

ข้อสังเกต

  1. เส้นตรงสองเส้นตัดกันจะเกิดมุมที่เท่ากันทุกประการ 2 คู่เรียกว่า “มุมตรงข้าม”

  1. ถ้ากำหนดให้รูป A = B และรูป B = C แล้วจะได้ว่ารูป A = รูป C
  2. รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีพื้นที่เท่ากัน อาจจะไม่เท่ากันทุกประการ เช่น รูปทั้งสองมี พื้นที่ 18 ตารางหน่วย รูปแรกอาจจะมีขนาด 2×9 ตารางหน่วยและรูปที่ 2 อาจจะมีขนาด 3 X 6 ตารางหน่วยเป็นต้น
  3. รูปสามเหลี่ยมสองรูปที่มีมุมเท่ากัน 3 คู่อาจจะไม่เท่ากันทุกประการ เช่น

  1. วงกลม 2 วงที่มีรัศมียาวเท่ากันจะเท่ากันทุกประการ
  2. รังสี 2 เส้นใด ๆ จะเท่ากันทุกประการ
  3. รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 2 รูปที่มีพื้นที่เท่ากันจะเท่ากันทุกประการ

สมบัติอื่นๆของความเท่ากันทุกประการ

คลิปตัวอย่างเรื่องความเท่ากันทุกประการ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิธีเขียน คำขวัญ ให้ถูกใจคนอ่าน

น้อง ๆ หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำขวัญกันเป็นอย่างนี้ เพราะในวันสำคัญต่าง ๆ อย่างวันเด็ก นายกรัฐมนตรีของประเทศในแต่ละสมัยก็จะให้คำขวัญแก่เด็ก ๆ ทุกปี แต่ทราบหรือไม่คะว่า คำขวัญ นั้นคืออะไรกันแน่ มีจุดมุ่งหมาย ลักษณะ และวิธีการเขียนอย่างไร บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องราวทั้งหมดนั้นของคำขวัญ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำขวัญ คืออะไร   คำขวัญ คือ

ทศนิยมกับการวัด

ความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด

บทความนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทศนิยมกับการวัด ที่จะทำให้น้อง ๆสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถาณการณ์ที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน จะทำให้เข้าใจหลักการและสามารถบอกค่าของการวัดที่เป็นทศนิยมได้ถูกต้อง

ศึกษาตัวบทและคุณค่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์

จากบทเรียนครั้งที่แล้วที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขปของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กันไปแล้ว เราได้รู้ถึงที่มาความเป็นไปของวรรณคดีที่เป็นตำราแพทย์ในอดีตรวมถึงเนื้อหา ฉะนั้นบทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกเกี่ยวกับตัวบทเพื่อให้รู้จักกับวรรณคดีเรื่องนี้กันมากขึ้น ว่าเหตุใดจึงเป็นตำราแพทย์ที่ได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์     ถอดความ เปรียบร่างกายของหญิงและชายเป็นกายนคร จิตใจเปรียบเหมือนกษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ครอบครองสมบัติอันยิ่งใหญ่หรือก็คือร่างกาย ข้าศึกเปรียบได้กับโรคที่ทำลายร่างกายเรา พทย์เปรียบได้กับทหาร มีความชำนาญ เวลาที่ข้าศึกมาหรือเกิดโรคภัยขึ้นก็อย่างวางใจ แผ่ลามไปทุกแห่ง

โคลงสี่สุภาพ เจาะลึกคำประพันธ์ที่กวีนิยมแต่งมากที่สุด

  โคลงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่งของบทร้อยกรองที่กวีนิยมนำไปใช้กันมากมาย บทเรียนวันนี้ จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องของโคลงสี่สุภาพ ว่ามีฉันทลักษณ์และลักษณะคำประพันธ์อย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยมในหมู่กวี ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงสี่สุภาพคืออะไร     โคลง เป็นคำประพันธ์ที่มีการเรียบเรียงถ้อยคำเป็นคณะ มีกำหนดเอกโทและสัมผัส ส่วนสุภาพ หรือเสาวภาพ หมายถึงคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพปรากฏในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยโคลงที่มีชื่อเสียงและได้รับการยกย่องว่าแต่งดี ยอดเยี่ยม

Passive voice + Active Voice

การใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดูการใช้ Passive Voice และ Active Voice ในรูปปัจจุบัน กัน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice       Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ  Active

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1