การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การอ่านแผนภูมิรูปวงกลมรวมทั้งส่วนประกอบต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูล(presentation of data) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ มาจัดให้เป็น ระบบเพื่อแสดงข้อเท็จจริง รายละเอียดและข้อเปรียบเทียบต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจในข้อมูลนั้นๆ ทราบได้โดยง่าย ชัดเจน รวดเร็วทั้งยังมีความเชื่อมั่นในข้อเท็จจริงเหล่านั้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยนิยมคิดข้อมูลให้อยู่ในรูปร้อยละ   

การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

เนื่องจากการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความมีลักษณะเป็นข้อความทำให้ข้อมูลที่เป็นปริมาณไม่เด่นชัดต้องใช้เวลาในการอ่านและวิเคราะห์

ส่วนการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความ รวมถึงตารางมีการแยกข้อมูลที่เป็นปริมาณให้เห็นเด่นชัด ถ้าต้องการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปริมาณให้ชัดเจนน่าสนใจและสามารถเปรียบเทียบข้อมูลให้เห็นเป็นรูปภาพดูง่ายขึ้น

เรานิยมนำเสนอด้วยแผนภูมิรูปวงกลมโดยแทนปริมาณในข้อมูลทั้งหมดด้วยพื้นที่ในรูปวงกลมวงหนึ่งและแบ่งพื้นที่ในรูปวงกลมจากจุดศูนย์กลางออกเป็นส่วนของวงกลมย่อยตามส่วนของปริมาณที่นำเสนอแล้วเขียนตัวเลขแสดงข้อมูลกำกับไว้

ถ้าข้อมูลที่ต้องการนำเสนอโดยแผนภูมิรูปวงกลมเป็นปริมาณที่มีค่ามากเรานิยมแสดงข้อมูลเหล่านั้นในรูปร้อยละของปริมาณในข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และให้เห็นเปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

1. ส่วนประกอบของแผนภูมิรูปวงกลม 

1.1 ชื่อเรื่อง มีไว้เพื่อบอกว่าแผนภูมิวงกลมนี้ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องอะไร เมื่อไร จะเขียนไว้เหนือหรือใต้แผนภูมิก็ได้

1.2 รูปวงกลม โดยแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ แสดงรายละเอียดที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง

 1.3 ที่มาหรือแหล่งข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลนั้นได้มาจากแหล่งใด เพื่อความน่าเชื่อถือและสะดวกในการค้นคว้าต่อไป

2. การเขียนแผนภูมิรูปวงกลม

หลักการเขียนแผนภูมิรูปวงกลม มีขั้นตอนดังนี้

2.1 หาปริมาณของข้อมูลทั้งหมด  และให้ปริมาณของข้อมูลทั้งหมดแทนมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลม ที่มีขนาด 360  องศา

2.2 นำปริมาณของข้อมูลแต่ละประเภท มาเทียบหาขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม

2.3 เขียนรูปวงกลม แล้วลากรัศมีของวงกลมเพื่อแบ่งพื้นที่ของรูปวงกลมเป็นส่วนๆตามขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่หาได้

 

หมายเหตุ 

  • ข้อมูล 1% คิดเป็นขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม 3.6 องศา
  • ไม่นิยมเขียนขนาดของมุมลงในแผนภูมิ แต่นิยมเขียนตัวเลขแสดงปริมาณจริงของข้อมูลหรือ ร้อยละของข้อมูลแต่ละประเภทกำกับไว้ เพื่อความสะดวกในการอ่านปริมาณของข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

 แผนภูมิรูปวงกลมนิยมใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆกับจำนวนทั้งหมดพร้อมกับการเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆด้วยกันเองเหมาะแก่การนำเสนอข้อมูลจำนวนร้อยละ(เปอร์เซ็นต์)มากกว่าแผนภูมิแบบอื่นๆ สามารถแผนภูมิรูปวงกลมได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.หาปริมาณของข้อมูลทั้งหมดและให้ปริมาณของข้อมูลทั้งหมดแทนมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา

2.นำปริมาณของข้อมูลแต่ละประเภทมาเทียบหาขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม

3.เขียนรูปวงกลม แล้วลากรัศมีของวงกลมเพื่อแบ่งพื้นที่ของรูปวงกลมเป็นส่วนๆตามขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่หาได้ การเขียนแผนภูมิรูปวงกลม อาจเรียกสั้น ๆว่า แผนภูมิวงกลม

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิรูปวงกลม

การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิรูปวงกลมอาจมีได้หลายลักษณะเช่นอาจเป็นภาพสามมิติเพื่อข้อมูลที่นำเสนอให้เห็นชัดเจนและดูสวยงามโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเขียนดังตัวอย่างที่จะพบต่อไปนี้

ตัวอย่าง ให้นักเรียนพิจารณาแผนภูมิต่อไปนี้แผนภูมิแสดงร้อยละของรายได้จากการจัดงานการกุศลของโรงเรียนแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2553

แผนภูมิรูปวงกลม

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. รายได้จากการรับบริจาคเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของการขายอาหาร

2. ถ้ารายได้ทั้งหมดจากการจัดงานเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 425,420 บาทขายบัตรชิงโชคเป็นเงินเท่าไร

3. รายได้จากการขายสินค้ากับรายได้จากการขายบัตรชิงโชครวมกันมากกว่าการรับบริจาคเท่าไรถ้ารายได้จากการขายอาหารเป็นเงิน 90,000 บาท

แผนภูมิรูปวงกลม

คลิปตัวอย่างเรื่องแผนภูมิรูปวงกลม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โวหารภาพพจน์ กลวิธีการสร้างจินตภาพที่ลึกซึ้งและสวยงาม

การสร้างจินตภาพอย่างการใช้ โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีในการใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการแทนภาพนั่นเอง น้อง ๆ คงจะพบเรื่องของโวหารภาพพจน์ได้บ่อย ๆ เวลาเรียนเรื่องวรรณคดี บทเรียนในวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับภาพพจน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของภาพพจน์     ภาพพจน์ คือถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจจินตนาการ เน้นให้เกิดอรรถรสและสุนทรีย์ในการสื่อสารที่ลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าแบบตรงไปตรงมา  

ผู้ชนะ

ผู้ชนะ บทอาขยานที่ว่าด้วยความไม่ย่อท้อ

บทอาขยาน คือ บทท่องจำจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ หรือเป็นคำประพันธ์ที่มีความไพเราะ และมีความงดงามทางภาษา มีความหมายดี และให้ข้อคิดที่มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ และบทอาขยานที่เราจะได้เรียนรู้กันในวันนี้ก็คือบทอาขยานเรื่อง ผู้ชนะ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของเรื่องผู้ชนะ     บุญเสริม แก้วพรหม เป็นนักแต่งกลอนชาวนครศรีธรรมราช เริ่มฝึกเขียนกลอนตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ชั้นประถม จากการคลุกคลีกับหนังสือและเรียนรู้เกี่ยวกับบทกลอนในห้องเรียน แต่มาเริ่มเขียนอย่างจริงจังในระดับชั้นมัธยมศึกษา ได้ส่งผลงานเข้าประกวดและผ่านการคัดเลือกลงหนังสือพิมพ์ ออกอากาศทางวิทยุ แนวที่เขียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักและสะท้อนสังคม

ไตรภูมิพระร่วง เรียนรู้วรรณคดีเก่าแก่จากสมัยสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีเก่าแก่ที่แต่งขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัย น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าทำไมวรรณคดีที่เก่าแก่ขนาดนี้ถึงยังมีให้เห็น ให้เราได้เรียนกันมาจนถึงปัจจุบัน บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ทุกคนไปไขข้องใจทั้งประวัติความเป็นมา ลักษณะคำประพันธ์ รวมไปถึงเรื่องย่อในตอน มนุสสภูมิ กันด้วย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของเรื่อง   ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา แต่สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อให้เพื่อเป็นเกียรติแก่พญาลิไท กษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงผู้พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อปี

บทเสภาสามัคคีเสวก

บทเสภาสามัคคีเสวก ที่มาของกลอนเสภาอันทรงคุณค่า

บทเสภาสามัคคีเสวก   เมื่อเห็น บทเสภาสามัคคีเสวก ครั้งแรก เชื่อว่าต้องมีน้อง ๆ หลายคนต้องเผลออ่านคำว่า เสวก เป็น (สะ-เหวก) แน่ ๆ เลยใช่ไหมคะ แต่ที่จริงแล้วคำว่าเสวกนั้นต้องอ่านให้ถูกต้องว่า (เส-วก) ที่มีความหมายถึงผู้ใกล้ชิด เป็นยศของข้าราชการในราชสำนักนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้ไม่เพียงแต่จะสอนอ่านให้ถูกต้อง แต่จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องย่อวรรณคดีไทยอย่างบทเสภาสามัคคีเสวกกันอีกด้วย โดยจะเป็นเรื่องราวแบบไหน มีลักษณะคำประพันธ์และเรื่องย่ออย่างไรบ้าง เราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม

โจทย์ปัญหา ห.ร.ม. และค.ร.น.

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น.

บทความนี้เป็นเรื่องการแก้ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น ซึ่งโจทย์ที่ได้นำมาเป็นตัวอย่างจะประกอบด้วยการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การเลือกใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหา รวมไปถึงการแสดงวิธีทำอย่างละเอียด หวังว่าน้องๆจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้จริงกับโจทย์ปัญหาในห้องเรียน ซึงเป็นเเรื่องย่อยของ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ป.6

Vtodo+Present Simple Tense

การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! V. to do คืออะไร   ปรกติแล้วคำว่า do นั้นแปลว่าทำ แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้ว V. to do

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1