ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น
ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)

น้องๆ ทราบหรือไม่ว่า การหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น เป็นการหาตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น บทความนี้ได้รวบรวม ตัวอย่าง ค.ร.น. พร้อมทั้งแสดงวิธีทำอย่างละเอียด โดยมีวิธี การหา ค.ร.น. ทั้งหมด 3 วิธี ดังนี้

  1. การหา ค.ร.น. โดยการหาผลคูณร่วม
  2. การหา ค.ร.น. โดยการแยกตัวประกอบ
  3. การหา ค.ร.น. โดยการหาร (หารสั้น)

        ก่อนอื่นที่จะไปเรียนรู้วิธี การหา ค.ร.น. ทั้ง 3 แบบนั้น น้องๆมาทำความรู้จักกับตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) กันก่อนนะคะ

        ตัวคูณร่วมน้อย(ค.ร.น.) ของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป หมายถึง ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น

        ก่อนที่จะไปเรียนรู้วิธี การหา ค.ร.น. วิธีแรกนั้น น้องๆจำเป็นต้องศึกษาและแยกแยะความแตกต่างระหว่างการหาตัวประกอบและพหุคูณของจำนวนนับใดๆ 

         น้องๆ ลองท่องสูตรคูณแม่ 2 หน่อยค่ะ จะได้ ตัวเลขที่เรียงกันในรูปแบบด้านล่าง

                            2 , 4 , 6 , 8 , 10 , 12 , 14 , 16 , 18 , 20 , 22 , 24 , …

          สังเกตได้ว่าจำนวนซึ่งเป็นสูตรคูณของแม่  2  แต่ละจำนวนนั้น  คือ  พหุคูณของ  2  และเขียนว่า “ พหุคูณของ  2 ”  ดังนี้

                           2 , 4 , 6 , 8 , 10 , 12 , 14 , 16 , 18 , 20 , 22 , 24 , …              เป็นพหุคูณของ  2

              สังเกตพหุคูณของ  2  ว่าจำนวนใดที่สามารถหารทุกจำนวนได้ลงตัว  จะได้ว่า  2  เป็นจำนวนที่หารพหุคูณของ  2  ได้ลงตัวทุกจำนวน สรุปได้ว่า  พหูคูณของ  2  คือ  จำนวนที่มี  2  เป็นตัวประกอบ

              ในทำนองเดียวกัน ถ้าท่องสูตรคูณแม่  3  และ  4  สังเกตว่ามีลักษณะเดียวกันกับสูตรคูณของแม่  2  

                        3 , 6 , 9 , 12  , 15 , 18 , 21 , 24 , 27 , 30 , 33 , 36  …              เป็นพหุคูณของ  3  

                        4 , 8 , 12 , 16  , 20 , 24 , 28 , 32 , 36 , 40 , 44 , 48  …           เป็นพหุคูณของ  4

              เมื่อน้องๆรู้จักพหุคูณของจำนวนแต่ละจำนวนแล้ว ต่อไปมาทำความรู้จักพหุคูณร่วม และตัวประกอบของจำนวนนับใดๆ  โดยศึกษาจากโจทย์ต่อไปนี้

  1. ตัวประกอบของ 3 คือ 1 และ 3                                                                                           พหุคูณของ 3  คือ 3, 6, 9, 12, …
  1. ตัวประกอบของ 4 คือ 1, 2 และ 4                                                                                       พหุคูณของ 4 คือ 4, 8, 16, 20, …
  1. ตัวประกอบของ 5  คือ 1 และ 5                                                                                          พหุคูณของ  5  คือ 5, 10, 15, 20, …

          เมื่อศึกษาครบทั้ง 3 ข้อแล้ว สามารถสรุปความหมายของ ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมของจำนวนนับตั้งแต่ 2 จำนวนขึ้นไป ซึ่งหมายถึง จำนวนนับใด ๆ ที่หารด้วยจำนวนนับนั้นลงตัวทุกจำนวน

          พหุคูณร่วมของจำนวนนับที่มีค่าน้อยที่สุด เรียกว่า ตัวคูณร่วมที่น้อยที่สุด หรือ ค.ร.น. ต่อไปมาดูนิยามเกี่ยวกับ ค.ร.น. กันนะคะ

ลำดับถัดไปจะนำน้องๆ ไปศึกษาวิธี การหา ค.ร.น. ทั้ง 3 วิธี ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มวิธีแรกกันเลยนะคะ

วิธีที่ 1 การหา ค.ร.น. โดยการหาผลคูณร่วม

หลักการ

  1. หาตัวตั้งหรือพหุคูณของจำนวนนับที่ต้องการหา ค.ร.น.
  2. พิจารณาตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุด
  3. ค.ร.น. คือ ตัวตั้งร่วมหรือพหุคูณร่วมที่มีค่าน้อยที่สุด

เมื่อศึกษาหลักการหา ค.ร.น. โดยการหาผลคูณร่วม เรียบร้อยแล้ว น้องๆมาศึกษาตัวอย่างได้เลยคะ

ตัวอย่างที่ 1 จงหา ค.ร.น. ของ 2 และ 3                                                               

วิธีทำ พหุคูณของ 2   คือ  2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18, …                                                           

พหุคูณของ 3   คือ  3, 6, 9, 12, 15, 18, 21, 24, …                                                               

เรียก 6, 12, 18, … เป็นพหุคูณร่วมของ 2 และ 3                                                                     

พหุคูณที่น้อยที่สุดของ 2 และ 3  เรียกว่า ตัวคูณร่วมที่น้อยที่สุด ซึ่งเขียนย่อๆ  ว่า  ค.ร.น.

ดังนั้น  ค.ร.น. ของ 2 และ 3  คือ 6

ตัวอย่างที่ 2   จงหา ค.ร.น. ของ 2, 3  และ 4

วิธีทำ พหุคูณของ 2 คือ 2, 4, 6, 8, 10, 12, 14, 16, 18, 20, 22, 24, …

พหุคูณของ 3 คือ 3,  6,  9,  12,  15,  18,  21, 24, 27, …

พหุคูณของ 4  คือ  4,  8,  12,  16, 20,  24, 28, …

เพราะฉะนั้น พหุคูณร่วมของ 2, 3 และ 4 คือ 12 และ 24

นั่นคือ 12 เป็นพหุคูณร่วมที่น้อยที่สุดของ  2, 3 และ 4

ดังนั้น ค.ร.น. ของ 2, 3  และ  4  คือ  12

การหา ค.ร.น. โดยใช้วิธีที่ 1 ง่ายมากเลยใช่มั้ยค่ะ ต่อไปน้องๆ มาศึกษาวิธี การหา ค.ร.น. โดยการแยกตัวประกอบ ได้เลยคะ

วิธีที่ 2 การหา ค.ร.น. โดยการแยกตัวประกอบ

หลักการ

  1. แยกตัวประกอบทั้งหมดของจำนวนนับที่ต้องการหา ค.ร.น. 
  2. พิจารณาตัวประกอบเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วมของจำนวนนับที่จะหา ค.ร.น.
  3. พิจารณาตัวประกอบเฉพาะเดี่ยว ๆ
  4. นำตัวประกอบเฉพาะที่ได้จากข้อ 2. ทั้งหมด และข้อ 3. ทั้งหมด มาคูณกัน
  5. ค.ร.น. คือ ผลคูณในข้อ 4.

ตัวอย่างที่ 3  จงหา ค.ร.น. ของ  24  และ 32

ตัวอย่างที่  4   จงหา ค.ร.น. ของ 6, 10  และ 12

หมายเหตุ : จำนวนนับที่นำมาหา ค.ร.น. ถ้ามี 3 จำนวน ให้นำตัวซ้ำกัน 3 ตัวมา 1 ตัว และซ้ำกัน 2 ตัวมา  1 ตัว มาคูณกัน และคูณกับตัวที่เหลือที่ไม่ได้ซ้ำ ดังตัวอย่างข้างต้น  

จะดีกว่ามั้ยคะ ถ้ามีวิธีการที่จะสามารถหา ค.ร.น. ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคลนะคะ น้องๆ ลองศึกษาวิธีสุดท้ายได้โดยใช้วิธีที่ 1 ง่ายมากเลยใช่มั้ยค่ะ ต่อไปน้องๆ มาศึกษาวิธี การหา ค.ร.น. โดยการแยกตัวประกอบ ได้เลยคะ

วิธีที่ 3 การหา ค.ร.น. โดยการหาร (หารสั้น)   

หลักการ

  1. ในแต่ละขั้นตอนของการหาร จะต้องเลือกตัวหาร โดยเลือกจากจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วมอย่างน้อยสองจำนวน ซึ่งอาจมีหลายจำนวน ให้เลือกจำนวนใดไปหารก่อนก็ได้
  2. นำตัวหารที่ได้จากข้อ 1. มาหาร
  3. หารต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งไม่มีจำนวนเฉพาะที่เป็นตัวประกอบร่วมของสองจำนวนใด ๆ 
  4. ค.ร.น. คือ ผลคูณของจำนวนเฉพาะที่นำไปหารในแต่ละขั้นตอน และจำนวนที่เหลือจากการหารทั้งหมด

ตัวอย่างที่ 5 จงหา ค.ร.น. ของ 18, 24 และ 48

วิธีทำ        2) 18         24            48

3)  9        12         24

2) 3          4           8

2)  3          2           4

    3          1            2

ดังนั้น ค.ร.น. ของ 18, 24 และ 48 คือ 2 x 3 x 2 x 2 x 3 x 1 x 2 = 144

ตัวอย่างที่ 6 จงหา ค.ร.น. ของ 30, 18 และ 20                                 

วิธีทำ              2 )30    18     20    

5 )15      9     10

3 )  3     9      2

      1     3      2

ดังนั้น  ค.ร.น.  ของ   30, 18 และ 20  คือ  2 x 5 x 3 x 1 x 3 x 2 = 180

ตัวอย่างที่ 7 จงหา ค.ร.น. ของ 40, 48 และ 18

วิธีทำ          2 )40    48      18    

2 )20    24       9

3 )10    12       9

2 )10      4       3

     5      2       3

ดังนั้น  ค.ร.น.  ของ   40, 48 และ 18  คือ 2 x 2 x 3 x 2 x 5 x 2 x 3 = 720

ตัวอย่างเพิ่มเติม

ตัวอย่างที่ 8 จงหา ค.ร.น. ของ 13 และ 29

วิธีทำ  เนื่องจาก  13  เป็นจำนวนเฉพาะ  และ 13 หาร 29 ไม่ลงตัว

   จะได้ว่า  พหุคูณร่วมที่น้อยที่สุดของ  13 หาร 29 คือ 13 x 29 = 377

ดังนั้น ค.ร.น.  ของ  13  และ  29 คือ  377

ตัวอย่างที่ 9 จงหา ค.ร.น. ของ 53 และ 69

 วิธีทำ  เนื่องจาก  53  เป็นจำนวนเฉพาะ  และ 53 หาร 69 ไม่ลงตัว

   จะได้ว่า  พหุคูณร่วมที่น้อยที่สุดของ  53 หาร 69  คือ 53 x 69 = 3,657

ดังนั้น ค.ร.น.  ของ  53  และ  69 คือ  3,657

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่อง ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) จาก ตัวอย่าง ค.ร.น. หลายๆตัวอย่าง จะเห็นได้ชัดว่า การหา ค.ร.น. ไม่ได้เป็นเรื่องยากอย่างที่คิด ลำดับต่อไปที่น้องๆต้องเรียนรู้คือ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับ ห.ร.ม. และ ค.ร.น. ซึ่งจะเป็นการฝึกน้องๆได้การวิเคราะห์โจทย์และเลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาของโจทย์แต่ละข้อได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

คลิปวิดีโอ การหา ค.ร.น.

        คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธีการหา ตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค การหา ค.ร.น. รวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง ค.ร.น. และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การใช้ Tenses : Present Simple Tense/ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู “การใช้ Tenses : Present simple/ Present Continuous” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย ทบทวน Present Simple Tense       ความหมาย: Present แปลว่า ปัจจุบัน ดังนั้น Present

เรียนรู้กลวิธีการสรรคำ ความสวยงามทางภาษา

ในการแต่งบทประพันธ์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะบทร้อยกรอง การสรรคำ จะช่วยทำให้บทประพันธ์นั้น ๆ มีความไพเราะมากขึ้น บทเรียนเรื่องการเสริมสร้างความรู้ทางภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปศึกษาเกี่ยวกับการสรรคำ ว่ามีความหมายและวิธีการเลือกคำมาใช้อย่างได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ   การสรรคำ ความหมายและความสำคัญ     การสรรคำ คือ การเลือกใช้คำให้สื่อความคิด ความเข้าใจ ความรู้สึก และอารมณ์ได้อย่างงดงาม โดยคำนึงถึงความงามด้านเสียง โวหาร

Imperative for Advice

Imperative for Advice: การให้คำแนะนำ

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องง่ายๆ อย่าง Imperative for Advice กัน จะง่ายขนาดไหนเราลองไปดูกันเลยครับ

บทพากย์เอราวัณ

ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องบทพากย์เอราวัณ

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน กลับเข้าสู่เนื้อหาภาษาไทยสนุก ๆ อีกแล้ว สำหรับเรื่องที่เราจะมาเรียนรู้กันวันนี้ เป็นบทเรียนที่ต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องความเป็นมาของวรรณคดีอย่างบทพากย์เอราวัณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมาศึกษาตัวบทที่น่าสนใจในเรื่องนี้กัน ถ้าน้อง ๆ คนไหนพร้อมแล้วก็เตรียมตัวเข้าสู่เนื้อหากันได้เลย ศึกษาตัวบทที่น่าสนใจ คำศัพท์ กายิน         หมายถึง    กาย, ร่างกาย อมรินทร์   

ารบวก-ลบ-คูณ-หารจำนวนเต็ม

การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม

บทความนี้จะทำให้น้องๆ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม มากยิ่งขึ้น ซึ่งได้รวบรวมตัวอย่างไว้อย่างหลากหลายและอธิบายไว้อย่างละเอียด โดยก่อนที่น้องๆจะเรียนเรื่องนี้จะต้องเรียนรู้เรื่อง จำนวนตรงข้าม และ ค่าสัมบูรณ์ เพื่อใช้ในการบวก ลบ จำนวนเต็ม ซึ่งมีวิธีการดังตัวอย่างต่อไปนี้ การบวกจำนวนเต็ม การบวกจำนวนเต็มบวก โดยใช้ค่าสัมบูรณ์ ให้น้องๆทบทวนการหาค่าสัมบูรณ์ ดังนี้ |-12|=   12 |4|=   4

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1