โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง
Picture of tucksaga
tucksaga
โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ในบทเรียนเรื่องการนำเสนอข้อมูล การเขียนนำข้อมูลมานำเสนอในรูปแบบต่างๆเช่น แผนภูมิแท่ง หรือกราฟเส้น เมื่อเราทำการศึกษาและสามารถอ่านข้อมูลจากส่งเหล่านั้นได้แล้ว บทเรียนต่อไปจะเป็นเรื่องของโจทย์ปัญหาในการนำเสนอข้อมูล ที่จะมาในรูปแบบของคำถามที่ต้องหาคำตอบจาก แผนภูมิแท่งหรือกราฟเส้นที่โจทย์กำหนดมานั่นเอง

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล ป.5

ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่องการนำเสนอข้อมูลนั้น คุณต้องมีพื้นฐานการอ่านข้อมูลจาก แผนภูมิ หรือกราฟก่อนจึงจะสามารถแก้ไขโจทย์และหาคำตอบออกมาได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างโจทย์ดังนี้

ตัวอย่างที่ 1 โจทย์ปัญหาแผนภูมิแท่ง

แผนภูมิแท่ง

จากแผนภูมิแท่งจงคำถามต่อไปนี้

ข้อที่ 1.) พ.ศ.2558 – พ.ศ.2560 สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดกับน้อยที่สุดต่างกันเท่าใด

วิธีทำ สินค้าที่มีมูลค้าการส่งออกมาที่สุดคือ ข้าว ในปี พ.ศ.2560 มีมูลค่าเท่ากับ 174,000 ล้านบาท และสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกที่น้อยที่สุดคือ ผลไม้สดและแห้ง ในปีพ.ศ. 2558 มีมูลค่าเท่ากับ 45,000 ล้านบาท

ดังนั้นมีมูลค่าต่างกันอยู่ที่ 174,000 –  45,000 = 129,000 ล้านบาท

ตอบ 129,000 ล้านบาท

ข้อที่ 2.) สินค้าที่มีมูลการส่งออกทั้งสามปีน้อยกว่า 200,000 ล้านบาทได้แก่อะไรบ้าง

วิธีทำ มูลค่าทั้งสามปีของข้าวเท่ากับ 156,000 + 155,000 + 174,000

                                                 = 485,000 ล้านบาท 

มูลค่าทั้งสามปีของผลิตภันฑ์มันสำปะหลังเท่ากับ  117,000 + 103,000 + 95,000

                                                 = 315,000 ล้านบาท

มูลค่าทั้งสามปีของไก่แปรรูปเท่ากับ 66,000 + 71,000 + 76,000

                                                 = 143,000 ล้านบาท

มูลค่าทั้งสามปีของผลไม้สดและแห้งเท่ากับ 45,000 + 54,000 + 77,000

                                                 = 176,000 ล้านบาท

ตอบ ไก่แปรรูป และ ผลไม้สดและแห้ง

ตัวอย่างที่ 2 โจทย์ปัญหากราฟเส้น

กราฟเส้น

จากกราฟเส้นจงคำถามต่อไปนี้

คำถาม: ตั้งแต่ พ.ศ.2556 – พ.ศ.2560 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยใช้ถ่านหินลิกไนต์เฉลี่ยปีละกี่ล้านตัน

วิธีทำ นำปริมาณถ่านหินลิกไนต์ที่ใช้ไปของปีพ.ศ.2556 – พ.ศ.2560มารวมกัน

จะได้      16.9 + 20.4 + 14.36 + 16.41 + 15.91 = 83.98 ล้านตัน

จากนั้นรวมปริมาณที่รวมกันข้างต้นเฉลี่ยให้กับ 5 ปี เท่าๆกัน

จะได้      83.98 ล้านตัน ÷ 5 = 16.796 ล้านตัน

ตอบ เฉลี่ยปีละ 16.796 ล้านตัน

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ความสัมพันธ์ที่ “รู้จักฉัน รู้จักเธอ” ของเศษส่วนและทศนิยม

เศษส่วนและทศนิยมมีความสัมพันธ์กันคือสามารถเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมหรือเขียนทศนิยมให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้โดยค่าของเศษส่วน และทศนิยมนั้นจะมีค่าเท่ากัน บทความนี้จะอธิบายหลักการความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมพร้อมวิธีคิดที่เห็นภาพ ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้ คือการเปลี่ยนเศษส่วนให้เป็นทศนิยมและการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้วยังมีเทคนิคการสังเกตง่ายๆที่จะสามารถทำให้เราทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

Comparison of Adjectives

การใช้ประโยค Comparative Adjectives

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บทเรียนเรื่องคำคุณศัพท์กันนะคะ วันนี้ครูได้ สรุปเรื่อง การใช้ ประโยค ประโยค Comparative Adjectives หรือ อีกชื่อหนึ่งคือ Comparison of Adjectives: การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษ มาฝาก ไปลุยกันเลยจร้า   คำศัพท์สำคัญ: Comparative VS Comparison comparative (Adj.)

NokAcademy_Past Tense และ Present Continuous Tense

เรียนรู้ เรื่อง Past Tense และ Present Continuous Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ เรื่อง Past Tense และ Present Continuous Tense  ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด มาเริ่มกันกับ Past Tenses   ก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักก่อนว่า การเล่าถึงงเหตุการณ์ในอดีตนั้นเราสามารถเล่าได้หลายแบบ ครูจะขอยกตัวอย่างจากสถาณการณ์การใช้ไปหาโครงสร้างและคำศัพท์ที่จำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจความสำคัของ Tense นั้นๆ ร่วมกับเทคนิค “Situational usage”

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

Three-word Phrasal Verbs

Three-word Phrasal verbs

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูมีกริยาวลีที่ใช้บ่อยแบบ 3 คำ หรือ Three-word Phrasal Verbs มาฝากกันจ้า ด้านล่างเลยน๊า ขอให้ท่องศัพท์ให้สนุกจ้า ตารางคำศัพท์Three-word Phrasal Verbs ต้องรู้   ask somebody out ชวนออกเดท/ชวนออกไปข้างนอก add up to something ทำให้สมน้ำสมเนื้อ/ทำให้เท่ากัน back something up

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1