จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด เป็นเรื่องที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และสิ่งที่น้องๆจะได้หลังจากอ่านบทความนี้คือ น้องๆจะสามารถทำโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกของเซตจำกัดได้ และอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

บทความนี้จะใช้เนื้อหาเรื่องการดำเนินการของเซตด้วยเล็กน้อย ก่อนอื่นเรามารู้จักกับ สัญลักษณ์ จำนวนของสมาชิกก่อนนะคะ

ให้A เป็นเซตจำกัด เราจะใช้ n(A) แทนจำนวนสมาชิกของเซต A

เช่น A = {a,b,c,d} จะได้ n(A) = 4

B = {5,6,7,8,9,10} จะได้ n(B) = 6

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัดสองเซต


กรณีที่ 1 ถ้า A  และ B เป็นเซตที่ไม่มีสมาชิกร่วมกัน

จะได้ว่า n(A∪B) = n(A)+n(B)

เช่น ให้ A = {1,2,3,4,5}, B = {6,7,8,9,10} จะได้ n(A) = 5, n(B) = 5

พิจารณา A∪B = {1,2,3,4,5,6,7,8,9,10} จะได้ n(A∪B) = 10

พิจารณา n(A)+n(B) = 5+5 = 10

ดังนั้นจะได้ว่า ถ้า A และ B ไม่มีสมาชิกร่วมกัน จะได้ n(A∪B) = n(A)+n(B)

กรณีที่ 2 ถ้า A และ B มีสมาชิกร่วมกัน

จะได้ว่า n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)

เช่น ให้ A ={1,2,3,4,5}, B = {4,5,6,7,8} จะได้ n(A) = 5 , n(B) = 5

พิจารณา A∪B = {1,2,3,4,5,5,6,7,8} จะได้ n(A∪B) = 8

พิจาณรา A∩B = {4,5} จะได้ n(A∩B) = 2

พิจารณา n(A)+n(B) = 5+5 = 10

พิจารณา n(A)+n(B)-n(A∩B) = 5+5-2 = 8

จะเห็นกว่า n(A∪B) ≠ n(A)+n(B) แต่ n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)

ดังนั้น ถ้า A,B มีสมาชิกร่วมกัน จะได้ว่า n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)

กรณีที่ 3 ถ้า A และ B เป็นเซตจำกัด จะได้ว่า n(A-B) = n(A) – n(A∩B)

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัดสามเซต

ให้ A = {3,4,5,6} , B = {4,5,6,7}, C = {4,5,9}

ถ้าให้ A และ B เป็นเซตจำกัด

จะได้ว่า n(A-B-C) = n(A)-n(A∩B)-n(A∩C)+n(A∩B∩C)

สรุปสูตรการหาจำนวนสมาชิกของเซตจำกัด

ถ้า A, B และ C เป็นเซตจำกัด

1.) n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)

2.) n(A-B) = n(A) – n(A∩B)

3.) n(A∪B∪C) = n(A)+n(B)+n(C)-n(A∩B)-n(A∩C)-n(B∩C)+n(A∩B∩C)

4.) n(A-B-C) = n(A)-n(A∩B)-n(A∩C)+n(A∩B∩C)

 

ตัวอย่าง

1.) ถ้า A และ B มีจำนวนสมาชิกเท่ากัน A∪B มีสมาชิก 15 ตัว และ A∩B มีสมาชิก 5 ตัว จงหาจำนวนสมาชิกของ A-B และ B-A

วิธีทำ จากโจทย์ n(A∪B) = 15 และ n(A∩B) = 5

 จากสูตร n(A∪B) = n(A)+n(B)-n(A∩B)

จะได้ว่า 15 = n(A)+n(B)-5

บวก 5 เข้าทั้งสองข้างของสมการ จะได้

 20 = n(A)+n(B) 

จากที่เรารู้ว่า A และ B มีจำนวนสมาชิกเท่ากัน ทำให้ได้ว่า 

n(A) = n(B) ดังนั้น เราจะแทน n(A) = n(B) ในสมการ 20 = n(A)+n(B) 

จะได้ว่า 20 = n(A)+n(A)

  20 = 2n(A)

หารด้วย 2 ทั้งสมการ จะได้

n(A) = 10 ทำให้ได้ว่า n(B) = 10

แต่โจทย์อยากได้ n(A-B) และ n(B-A) 

จาก n(A-B) = n(A) – n(A∩B)

จะได้ว่า n(A-B) = 10-5 = 5

และ n(B-A) = n(B)-n(A∩B) = 10-5 = 5

ตอบ จำนวนสมาชิกของ A-B และ B-A เท่ากับ 5 

เราสามารถหาคำตอบโดยการใช้แผนภาพได้ ดังนี้

2.) จากผลสำรวจความชอบเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทย และอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมด ผลเป็นดังนี้

ไม่ชอบคณิตศาสตร์ 70 คน

ไม่ชอบภาษาไทย 90 คน

ไม่ชอบอังกฤษ 40 คน

ไม่ชอบคณิตศาสตร์และไม่ชอบภาษาไทย 40 คน

ไม่ชอบคณิตศาสตร์และอังกฤษ 20 คน

ไม่ชอบภาษาไทยและอังกฤษ 15 คน

ไม่ชอบทั้งสามวิชา 10 คน

ชอบทั้งสามวิชาวิชา 0 คน

อยากทราบว่า มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทั้งหมดกี่คน

วิธีทำ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บวก ลบ ทศนิยมอย่างไรให้ตรงหลัก

การบวกและการลบทศนิยมมีหลักการเดียวกันกับการบวกและการลบจำนวนนับคือ ต้องบวกและลบให้ตรงหลัก ดังนั้นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้คือต้องเขียนตำแหน่งของตัวเลขให้ตรงหลักไม่ว่าจะเป็นหน้าจุดทศนิยมและหลัดจุดทศนิยม บทความมนี้จะมาบอกหลักการตั้งบวกและตั้งลบให้ถูกวิธี และยกตัวอย่างการบวกการลบทศนิยมที่ทำให้น้อง ๆเห็นภาพและเข้าใจได้อย่างดี

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์

พื้นที่ผิวทรงกรวยและลูกบาศก์ การหาพื้นที่ผิวทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้นมักเป็นสิ่งที่เราอาจได้ใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเรื่องการออกเเบบทางวิศวกรรม หรือสถาปัตยกรรม ที่ต้องนำพื้นที่ผิวมาประเมินค่าใช้จ่ายในการทาสี, การปูกระเบื้อง, หรือเเม้กระทั่งปริมาณการใช้วัสดุในการสร้างชิ้นงานต่าง ๆ รูปร่างทรงกรวยเเละลูกบาศก์สามารถเห็นได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน เช่น โคนไอติม, กรวยจราจร, หมวกปาร์ตี้ ที่มีลักษณะเป็นทรงกรวย เเละลูกเต๋า, ก้อนน้ำเเข็ง ที่มีลักษณะเป็นลูกบาศก์ ซึ่งการหาพื้นที่ผิวทั้งหมดของทรงกรวยเเละลูกบาศก์นั้น มีวิธีง่ายๆ คือ ให้เรามองรูปสามมิติกลายเป็นรูปประกอบของเรขาสองมิติ พื้นที่ผิวทรงกรวย ทรงกรวย คือ รูปทรงเรขาคณิต

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t

การใช้ Auxiliary Verb: can, can’t  บทนำแสนแซ่บ สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องสุดปังทุกท่าน วันนี้เรามาคุยกันเรื่องของคำกริยาช่วยที่ทำให้เรารู้ว่าคนนั้น ๆ สิ่งนั้น หรืออันนั้นมีความสามารถในการทำอะไรได้บ้างกันดีกว่า  ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรามีความสามารถอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา… ทำได้” หรือ “เราสามารถ….ทำได้” โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยเค้าใช้คำว่า Can มาช่วย โดยเราจะเรียกคำกริยาช่วยเหลือนี้ว่า Auxiliary verb หรือ

Question Tag

การใช้ Tag Questions หรือ Question Tag ในการถาม – ตอบ เกี่ยวกับประเทศและสัญชาติ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป. 6 ที่น่ารักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้ในหัวข้อเรื่อง การใช้ Tag Questions หรือ Question Tag ในการถาม – ตอบ เกี่ยวกับประเทศและสัญชาติ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย ความหมาย Question แปลว่า คำถาม ส่วนคำว่า Tag จะแปลว่า วลี ที่นำมาใช้ต่อท้ายประโยค เพื่อทำให้เป็นประโยคคำถาม ดังนั้น

การถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

สวัสดีค่ะนักเรียนป.6 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ ไปลุยกันเลย   การถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English   การถามทิศทางจะต้องมีประโยคเกริ่นก่อนเพื่อให้คนที่เราถาม ตั้งตัวได้ว่า กำลังจะโดนถามอะไร ยังไง ซึ่งเราสามารถถามได้ทั้ง คำถามแบบสุภาพเมื่อพูดกับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ คำถามทั่วไปเมื่อพูดกับคนใกล้ตัว  

_ม2 Present Continuous Tense Profile

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคนค่า วันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และข้อสอบวัดความเข้าใจหลังเรียนแบบปังๆกันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย เริ่มกับการใช้ Present Continuous Tense   อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at the moment.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1