การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
บทความนี้ได้รวมรวมเนื้อหาและตัวอย่างเกี่ยวกับ การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ไว้อย่างหลากหลายและแสดงวิธีทำอย่างละเอียด แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้เรื่องนี้น้องสามารถทบทวน การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก และ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก (กดลิ้งค์ที่ข้อความได้เลยค่ะ) ซึ่งจะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์
ฝึกการเขียนจำนวนในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็น 10 ดังนี้
10 = 10 = 10¹
100 = 10 x 10 = 10²
1,000 = 10 x 10 x 10 =10³
10,000 =10 x 10 x 10 x 10 = 10⁴
100,000 = 10 x 10 x 10 x 10 x 10 = 10⁵
1,000,000 = 10 x 10 x 10 x 10 x 10 x 10 = 10⁶
สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ใช้เพื่อแสดงการเขียนแทนจำนวนที่มีค่ามากๆ และจำนวนที่มีค่าน้อยมากๆ โดยเขียนในรูปการคูณของเลขยกกำลังที่มีฐานเป็นสิบ และมีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม มีรูปทั่วไป คือ
A x 10n เมื่อ 1 ≤ A < 10 และ n เป็นจำนวนเต็มใดๆ
การเขียนจำนวนที่มีค่ามากๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนจำนวนต่อไปนี้ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
1. 200
2. 50,000
3. 38,000
4. 157,000
5. 320,000
วิธีทำ
1. 200 = 2 x 100
= 2 x 10²
ดังนั้น 200 = 2 x 10²
2. 50,000 = 5 x 10,000
= 5 x 10⁴
ดังนั้น 50,000 = 5 x 10⁴
3. 38,000 = 38 x 1000
= 38 x 10³
= (3.8 x 10) x 10³
= 3.8 x 10⁴
ดังนั้น 38,000 = 3.8 x 10⁴
4. 157,000 = 157 x 1000
= (1.57 x 100) x 1000
= 1.57 x 10² x 10³
= 1.57 x 10⁵
ดังนั้น 157,000 = 1.57 X 10⁵
5. 320,000 = 32 x 10,000
= 32 x 10⁵
= (3.2 x 10) x 10⁵
= 3.2 x 10⁶
ดังนั้น 320,000 = 3.2 x 10⁶
การเขียนจำนวนที่อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ให้เป็นจำนวนเต็ม
ตัวอย่างที่ 2 สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ในแต่ละข้อต่อไปนี้แทนจำนวนใด
1) 7 x 10 ⁸
2) 33 x 10⁴
3) 8.12 x 10⁷
วิธีทำ
1) 7 x 10⁸ = 7 x 100,000,000
= 700,000,000 ดังนั้น 7 x 10⁸ = 700,000,000
2) 33 x 10⁴ = 3.3 x 10000
= 33,000 ดังนั้น 33 x 10⁴ = 33,000
3) 8.12 x 10⁷ = 8.12 x 10,000,000
= 81,200,000 ดังนั้น 8.12 x 10⁷ = 81,200,000
ตัวอย่างที่ 3 ไฮโครเจน 1 กรัม มีจำนวนโมเลกุลประมาณ 6 x 10²³ โมเลกุล ไฮโครเจน 18 กรัม มีจำนวนโมเลกุลประมาณกี่โมเลกุล
วิธีทำ ไฮโครเจน 1 กรัม มีจำนวนโมเลกุลประมาณ 6 x 10²³ โมเลกุล
ดังนั้น ไฮโครเจน 18 กรัม มีจำนวนโมเลกุลประมาณ
18 x 6 x 10²³ = 108 x 10²³ โมเลกุล
= 1.08 x 10² x 10²³ โมเลกุล
= 1.08 x 10²⁵ โมเลกุล
นั่นคือ ไฮโครเจน 18 กรัม มีจำนวนโมเลกุลประมาณ 1.08 x 10²⁵ โมเลกุล
ตัวอย่างที่ 4 ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพุธประมาณ 6 x 10⁸ กิโลเมตร แต่ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพลูโตประมาณ 5.9 x 10⁹ กิโลเมตร จงหาว่าดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากดาวพลูโตมากกว่าที่อยู่ห่างจากดาวพุธประมาณกี่กิโลเมตร
วิธีทำ ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพุธประมาณ 6 x 10⁸ กิโลเมตร
ระยะทางจากดวงอาทิตย์ถึงดาวพลูโตประมาณ 5.9 x 10⁹ กิโลเมตร
ดังนั้น ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากดาวพลูโตมากกว่าอยู่ห่างจากคาวพุธประมาณ
(5.9 x 10⁹) – (6 x 10⁸) = (5.9 x 10 x 10⁸) – (6 x 10⁸) กิโลเมตร
= (59 – 6) x 10⁸ กิโลเมตร
= 53 x 10⁸ กิโลเมตร
= 5.3 x 10 x 10⁸ กิโลเมตร
= 5.3 x 10⁹ กิโลเมตร
นั่นคือ ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากดาวพลูโตมากกว่าที่อยู่ห่างจากคาวพุธประมาณ 5.3 x 10⁹ กิโลเมตร
การเขียนจำนวนที่มีค่าน้อยๆ ให้อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
ตัวอย่างที่ 5 จงเขียนจำนวนต่อไปนี้ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
1. 0.05
2. 0.00009
วิธีทำ
1. 0.05 = ⁵⁄₁₀₀
= ⁵⁄₁₀²
= 5 x ¹⁄₁₀²
= 5 x 10⁻²
ดังนั้น 0.05 = 5 x 10⁻²
2. 0.00009 = ⁹⁄₁₀₀₀₀₀
= ⁹⁄₁₀⁵
= 9 x ¹⁄₁₀⁵
= 9 x 10⁻⁵
ดังนั้น 0.00009 = 9 x 10⁻⁵
การเขียนจำนวนที่อยู่ในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ให้เป็นทศนิยม
ตัวอย่างที่ 6 สัญกรณ์วิทยาศาสตร์ในแต่ละข้อต่อไปนี้แทนจำนวนใด
1) 6 x 10⁻⁴
2) 8.23 x 10⁻³
3) 7.504 x 10⁻⁶
4) 5.601 x 10⁻⁷
วิธีทำ
1) 6 x 10⁻⁴ = 6 x ¹⁄₁₀⁴
= ⁶⁄₁₀₀₀₀
= 0.0006
ดังนั้น 6 x 10⁻⁴ = 0.0006
2) 8.23 x 10⁻³ = 8.23 x ¹⁄₁₀³
= ⁸·²³⁄₁₀₀₀
= 0.00823
ดังนั้น 8.23 x 10⁻³ = 0.00823
3) 7.504 x 10⁻⁶ = 7.504 x ¹⁄₁₀⁶
= ⁷·⁵⁰⁴⁄₁₀₀₀₀₀₀
= 0.000007504
ดังนั้น 7.504 x 10⁻⁶ = 0.000007504
4) 5.601 x 10⁻⁷ = 5.601 x ¹⁄₁₀⁷
= ⁵·⁶⁰¹⁄₁₀₀₀₀₀₀₀
= 0.0000005601
ดังนั้น 5.601 x 10⁻⁷ = 0.0000005601
ตัวอย่างที่ 7 ถ้ามดตัวหนึ่งหนัก 0.0000000012 กรัม อยากทราบว่าถ้ามดมีน้ำหนักเท่ากันทุกตัว จำนวน 5 ตัว จะมีน้ำหนักเท่ากับกี่กรัม
วิธีทำ มดตัวหนึ่งหนัก 0.0000000012 กรัม = 1.2 x 10⁻⁹ กรัม
มด 5 ตัว มีน้ำหนัก = 5 x (1.2 x 10⁻⁹) กรัม
= (5 x 1.2) x 10⁻⁹ กรัม
= 6 x 10⁻⁹ กรัม
นั่นคือ มดจำนวน 5 ตัว จะมีน้ำหนักเท่ากับ 6 x 10⁻⁹ กรัม
ตัวอย่างที่ 8 เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัด แต่ละตัวยาวประมาณ 2 x 10⁻⁷ เมตร ถ้าไวรัสชนิดนี้ เรียงต่อกันเป็นสายยาวประมาณ 8 x 10⁻³ เมตร จงหาว่ามีไวรัสอยู่ประมาณกี่ตัว
วิธีทำ ไวรัสเรียงต่อกันเป็นสายยาวประมาณ 8 x 10⁻³ เมตร
ไวรัสแต่ละตัวยาวประมาณ 2 x 10⁻⁷ เมตร
จะมีไวรัสอยู่ต่อกันอยู่ประมาณ = 4 x 10⁽⁻³⁾⁻⁽⁻⁷⁾ ตัว
= 4 x 10⁽⁻³⁾⁺⁷ ตัว
= 4 x 10⁴ ตัว
= 40,000 ตัว
ดังนั้น ไวรัสเรียงต่อกันอยู่ประมาณ 40,000 ตัว
เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่อง การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งรูปทั่วไปของสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ จะเขียนอยู่ในรูป A x 10n เมื่อ 1 ≤ A < 10 และ n เป็นจำนวนเต็มใดๆ (A มากกว่าหรือเท่ากับ 1 แต่น้อยกว่า 10 และเลขชี้กำลังของ 10 เป็นจำนวนเต็ม) ซึ่งจากตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง ทำให้น้องๆ สามารถเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
คลิปวิดีโอ การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์
คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวม การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ โดยแสดงวิธีคิดไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยสาระความรู้ และเทคนิค รวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง และสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย