จากบทความที่แล้วได้พูดถึงเรื่องการคูณทศนิยมไปแล้ว เนื้อหาต่อมาของทศนิยมก็จะเป็นเรื่องการหารทศนิยม สามารถจำแนกรูปแบบารหารออกเป็น 2 รูปแบบ สิ่งสำคัญของทั้ง 2 รูปแบบคือ ต้องทำตัวหารที่เป็นทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็มก่อนเสมอ จึงจะสามารถนำไปหาร
ความหมายของการหารทศนิยม
สรุปความหมายของการหารออกมาแบบง่ายๆ ก็คือ การแบ่งจำนวนหนึ่งออกมาที่ละเท่า ๆกัน เช่น 9 หาร 3 คือ นำเลข 9 แบ่งออกทีละ 3 จนกว่าจะไม่สามารถแบ่งได้ ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็น 3 ครั้ง ดังนั้นคำตอบของ 9 หาร 3 คือ 3 การหารทศนิยมมีหลักการเดียวกันกับการหารจำนวนเต็ม เพียงแต่เป็นการแบ่งทศนิยมออกทีละเท่า ๆกัน ยกตัวอย่างตามภาพข้างล่าง
รูปแบบของการหารทศนิยม
1.การหารทศนิยมด้วยจำนวนเต็ม
รูปแบบการหารทศนิยมที่ตัวหารเป็นจำนวนเต็ม สามารถทำการหารได้เลยเหมือนกันการหารจำนวนเต็ม โดยสามารถใช้วิธีหารยาว หรือหารสั้น ก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือผลลัพธ์ที่ได้ต้องวางจุดทศนิยมให้ตรงกับของตัวตั้ง
2.การหารทศนิยมด้วยทศนิยม
กรณีที่ตัวหารยังเป็นทศนิยม ต้องทำตัวหารให้เป็นจำนวนเต็ม โดยใช้หลักการคูณด้วย 10, 100 หรือ 1,000 ขึ้นอยู่กับจำนวนตำแหน่งของทศนิยมที่เป็นตัวหาร สิ่งสำคัญคือต้องคูณทั้งตัวหารและตัวตั้ง
หรืออีกวิธีที่สามารถทำตัวหารที่เป็นทศนิยมให้เป็นจำนวนเต็ม คือการเลื่อนจุดทศนิยมให้ตัวหารให้เป็นจำนวนเต็ม สิ่งสำคัญคือต้องเลื่อนตำแหน่งจุดทศนิยมของตัวตั้งให้เท่ากับจำนวนครั้งที่เลื่อนของตัวหารด้วย
เมื่อทำตัวหารให้เป็นจำนวนเต็มเรียบร้อยแล้วก็สามารถหารด้วยวิธีตั้งหารยาวหรือหารสั้นก็ได้ตาม รูปแบบที่ 1