ในสมัยโบราณมนุษย์เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นก็รู้ว่าวันใหม่เริ่มขึ้นแล้ว และการบอกเวลาว่าเป็นเช้า สาย บ่าย หรือเย็น ก็อาจดูจากความยาวของเงาที่เปลี่ยนไป ทำให้เกิดแนวคิดในการกำหนดเวลา หรือเรียกอีกอย่างว่าการวัดเวลา ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและเป็นมาตรฐานร่วมกัน
การกำหนดเวลา
ในการกำหนดเวลามีข้อตกลงว่า 1 วันมี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง มี 60 นาที และ 1 นาที มี 60 วินาที ที่มาของ 1 วัน คือ เวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบพอดี และ 1 ปีทางสุริยคติกำหนดว่าเป็นเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบพอดี
ในสมัยแรกใช้ระบบปฏิทินจูเลียนซึ่งกำหนดว่า 1 ปีมี 365.25 วันปัจจุบันได้ปรับปรุงเป็นระบบปฏิทินเกรกอเรียน ซึ่งใช้กันแพร่หลาย
ในปัจจุบันกำหนดให้ 1 ปีมี 365.2425 วันโดยกำหนดว่าใน 1 ปีมี 365 วัน แต่ในปีอธิกสุรทินซึ่งเป็นปีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในปีนั้น 1 ปีจะมี 366 วันการกำหนดปีอธิกสุรทินมีหลักดังนี้
1. ถ้าปี ค.ศ. ใดหารด้วย 4 ไม่ลงตัวจะไม่เป็นปีอธิกสุรทิน
2. ถ้าปี ค.ศ. ใดหารด้วย 4 และ 100 ลงตัว แต่หารด้วย 400 ไม่ลงตัวจะไม่เป็นปีอธิกสุรทิน
3. ถ้าปี ค.ศ. ใดหารด้วย 4 ลงตัว แต่หารด้วย 100 ไม่ลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน
4. ถ้าปี ค.ศ. ใดหารด้วย 4 ลงตัวและหารด้วย 400 ลงตัวจะเป็นปีอธิกสุรทิน
หน่วยเวลาที่ควรทราบ
ตัวอย่าง ตัวอย่างวิธีทำในเดือนเมษายน 2547 กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 222 ปีอยากทราบว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประกาศสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. ใดและตรงกับปี ค.ศ. ใด
ตัวอย่าง วิธีทำโรงเรียนแห่งหนึ่งประกาศเปิดเรียนประจำภาคเรียนที่ 1 ในวันที่ 16 พฤษภาคมและปิดภาคเรียนในวันที่ 30 กันยายนในปีเดียวกันถามว่าในภาคเรียนที่หนึ่งใช้เวลาในการเรียนการสอนนานกี่วัน (รวมวันเสาร์-อาทิตย์ ด้วย)
ตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553 คิดเป็นเวลากี่ปี กี่เดือน และกี่วัน
ตัวอย่าง ดารณีเกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2542 นับจนถึงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ดารณีมีอายุกี่ปี กี่เดือน และกี่วัน
ตัวอย่าง แดงออกเดินทางจากบ้านที่จังหวัดอ่างทองเพื่อไปกรุงเทพฯ โดยนับเวลาตั้งแต่รถออกจากสถานีขนส่งที่ จ.อ่างทองเวลา 14.00 น. และถึงสถานีขนส่งหมอชิตใหม่เวลา 16.25 น. ตามเวลาแดงใช้เวลาอยู่บนรถนานเท่าไร