การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยการเเบ่งพื้นที่ของวงกลมออกเป็นส่วน ๆ เเละมีขนาดของสัดส่วนตามข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ การนำเสนอด้วยเเผนภูมิวงกลมเป็นการนำเสนอข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างน่าสนใจ สามารถวิเคราะห์เเละเเปรข้อมูลได้ง่ายขึ้น

การสร้างแผนภูมิรูปวงกลมเพื่อนำเสนอข้อมูล

การสร้างแผนภูมิวงกลม ทำได้โดยการเเบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา ออกเป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า มุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม ตามขนาดที่ได้จากการเทียบส่วนกับปริมาณทั้งหมดในข้อมูล
มุมที่จุดศูนย์กลาง = (จำนวนที่สนใจ/จำนวนทั้งหมด) x 360 องศา

ตัวอย่างการสร้างแผนภูมิวงกลม

จากข้อมูลการสำรวจที่ได้เก็บรวมรวบข้อมูลจากนักเรียนทั้งหมด 200 คน เกี่ยวกับเครื่องดื่มที่นักเรียนชื่นชอบ โดยนักเรียนเเต่ละคนสามารถเลือกได้เพียง 1 ตัวเลือก พบว่านักเรียนเเต่ละคนชอบเครื่องดื่มดังนี้

วิธีทำ เริ่มจากการหามุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม สำหรับข้อมูลเเต่ละชุดก่อน โดยมุมภายในทั้งหมดรวมกันต้องได้ 360 องศา

หลังจากนั้นให้เราสร้างวงกลมขึ้น เเละลากเส้นรัศมีของวงกลมให้ทำมุมกันตาม มุมภายในวงกลม ที่ได้จากการคำนวณ

สุดท้ายให้เรานำข้อมูลที่อยู่ในตารางลงไปใส่ในวงกลม อาจจะเป็น จำนวนคนหรือเเปลงเป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อความสวยงามเเละง่ายต่อการอ่านข้อมูล


ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

ตัวอย่าง จากการสำรวจข้อมูลประชากรสัญชาติไทยที่เล่นเกม ROW ในปีพ.ศ. 2565 มีผู้เล่นเกมเป็นดังนี้

คำถามที่ 1 ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เล่นเกม ROW มีอายุเท่าใดเเละประชากรกลุ่มใดเล่นเกม ROW น้อยที่สุด

ตอบ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยที่เล่นเกม ROW มีอายุ 21-30 ปี เเละประชากรที่เล่นเกม ROW น้อยที่สุดมีอายุ 51 – 60 ปี

คำถามที่ 2 ถ้าช่วงประชากรไทยช่วงอายุ 11-20 ปีที่เล่น ROW มีจำนวน 3.32 ล้านคน จะมีประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีที่เล่น ROW จำนวนกี่คน

วิธีทำ จากแผนภูมิวงกลมอัตราส่วนระหว่างประชากรไทยช่วงอายุ 11-20 ปีที่เล่น ROW ต่อประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีที่เล่น ROW จะมีค่า
= 33.2 : 12.1
ถ้าประชากรไทยช่วงอายุ 11-20 ปีที่เล่น ROW มีจำนวน 3.32 ล้านคน
อัตราส่วนใหม่จะมีค่า
= 3,320,000 : a  (ให้จำนวนประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีมีค่าเป็น a)
ดังนั้นประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีที่เล่น ROW จะมีจำนวน
= (3,320,000/33.2) x 12.1
= 1,210,000 คน

ตอบ ประชากรไทยช่วงอายุ 31-40 ปีที่เล่น ROW มีจำนวน 1,210,000 คน

คำถามที่ 3 ถ้าจำนวนประชากรในปีที่ทำการสำรวจนี้เท่ากับ 12 ล้านคน เเล้วจำนวนประชากรในช่วงอายุ 21-30 ปี ที่เล่นเกม ROW มีทั้งหมดกี่คน

วิธีทำ จากแผนภูมิวงกลมจำนวนประชากรในช่วงอายุ 21-30 ปีมีจำนวน 44.8%
ดังนั้นจำนวนประชากรในช่วงอายุ 21-30 ปีมีจำนวน = (44.8 x 12 ล้านคน)/100
= 5,376,000 คน

ตอบ จำนวนประชากรในช่วงอายุ 21-30 ปี ที่เล่นเกม ROW มีทั้งหมด 5,376,000 คน

การนำเสนอด้วยเเผนภูมิรูปวงกลม เหมาะสำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลเชิงคุณภาพเเต่ละกลุ่มกับภาพรวมของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งหากข้อมูลมีจำนวนเยอะมาก ๆ การนำเสนอด้วยแผนภูมิรูปวงกลมอาจไม่เหมาะ เพราะว่าเราต้องเเบ่งวงกลมออกเป็นหลาย ๆ ส่วนทำให้เปรียบเทียบความต่างของข้อมูลได้ยาก

บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิวงกลม จะเห็นได้ว่ามีส่วนสำคัญในการเเก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ หากวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนของการสร้างแผนภูมิวงกลมเเละตัวอย่างการเเปรความหมายน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอนี้


คลิปวิดีโอ การนำเสนอข้อมูลเเละเเปรความหมายข้อมูลด้วยเเผนภูมิวงกลม

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยแผนภูมิวงกลม ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

ความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ เกิดจากสิ่งสองสิ่งมาเกี่ยวข้องกันภายใต้กฎเกณฑ์บางอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของ a กับ b ซึ่ง a มากกว่า b เป็นต้น ก่อนที่เราจะเริ่มเนื้อหาของความสำคัญพี่อยากให้น้องๆรู้จักกับคู่อันดับ และผลคูณคาร์ทีเซียนก่อนนะคะ คู่อันดับ ในการเขียนคู่อันดับเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญเลยทีเดียว เพราะถ้าน้องๆเขียนคู่อันดับผิดตำแหน่งนั่นหมายความว่า ความหมายของมันจะเปลี่ยนไปทันที เช่น คู่อันดับ (x, y) โดย x

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

การเขียนคำอวยพร

การเขียนคำอวยพร เขียนอย่างไรให้เหมาะสมกับผู้รับ

  วัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และภาษาก็เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม คนเราทุกคนต่างต้องการในสิ่งดีงาม เมื่อถึงโอกาสสำคัญอย่างวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นบ้านใหม่ จึงต้องการคำอวยพรที่สร้างกำลังใจ และเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง คำอวยพรจึงเป็นเหมือนสิ่งสะท้อนวัฒนธรรม ที่คนใช้สื่อสาร ถ่ายทอดเพื่อมอบสิ่งดี ๆ ให้แก่กัน บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การเขียนคำอวยพร เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะว่าการเขียนประเภทนี้จะมีลักษณะและวิธีอย่างไรบ้าง   การเขียนคำอวยพร   ความหมายของคำอวยพร คำอวยพร

NokAcademy_ม3 การใช้ Yes_No Questions  และ Wh-Questions

การใช้ Yes/No Questions  และ Wh-Questions

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุยตัวอย่างและวิธีการแต่งประโยคคำถาม 2กลุ่ม ได้แก่ “การใช้  Yes/No Questions  และ Wh-Questions” หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Yes/No Questions คืออะไร?   Yes/ No Questions ก็คือ กลุ่มคำถามที่ต้องการคำตอบแน่ชัดว่า Yes ใช่  หรือ

การทดลองสุ่มและเหตุการณ์

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงในลักษณะของความหมายและยกตัวอย่างประกอบ และอธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ น้องๆสามารถทบทวน ความน่าจะเป็น ได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็น ⇐⇐ การทดลองสุ่ม การทดลองสุ่ม  คือ การทดลองซึ่งทราบว่าผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอาจจะเป็นอะไรได้บ้าง  แต่ไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องแน่นอนว่าในแต่ละครั้งที่ทำการทดลอง  ผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองจะเป็นอะไรในบรรดาผลลัพธ์ที่อาจเป็นไปได้เหล่านั้น  เช่น การโยนเหรียญซึ่งมีผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ หัวหรือก้อย เมื่อโยนเหรียญ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1