สัญลักษณ์พื้นฐานเกี่ยวกับเซต

สัญลักษณ์ของเซตจะช่วยให้เราไม่ต้องเขียนประโยคยาวซ้ำๆ และใช้ได้เกือบทุกบทของวิชาคณิตศาสตร์ ช่วยให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่บนกระดาษมากๆ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

ความสำคัญของสัญลักษณ์พื้นฐานเกี่ยวกับเซต

เราจะใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับเซตแทนข้อความหลายๆข้อความ เพื่อความเข้าใจง่าย ทำให้ข้อความดูสั้นลง ในเนื้อหาคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่จะใช้สัญลักษณ์เกี่ยวกับเซตค่อนข้างเยอะ เราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อที่จะทำความเข้าใจเนื้อหาต่างๆได้ง่ายขึ้น

สัญลักษณ์พื้นฐานเกี่ยวกับเซต

 

1.) ∈,∉

 แทน เป็นสมาชิกของเซต

แทน ไม่เป็นสมาชิกของเซต

เช่น a เป็นสมาชิกของเซต A จะเขียนแทนด้วย a ∈ A

a ไม่เป็นสมาชิกของเซต A จะเขียนแทนด้วย a ∉ A

2.) =, ≠

= แทน การเท่ากัน

≠ แทนการไม่เท่ากัน

การที่เซตแต่ละเซตจะเท่ากันนั้น สมาชิกทุกตัวในเซตแต่ละเซตต้องเหมือนกัน

เช่น ให้ A = {a,b,c} , B = {c,a,b} และ C = {a,c,f}

จะเห็นกว่า A  และ B มีสมาชิกเหมือนกันทุกตัว

ดังนั้น เซต A เท่ากับ เซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ A = B

แต่ สมาชิกในเซตC มีสมาชิกบางตัวที่ไม่เหมือนกับเซตA และ B

ดังนั้น A ≠ C และ B ≠ C

3.) Ø หรือ { } แทน การเป็นเซตว่าง

เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก

เช่น  A = {x | x เป็นจำนวนนับ และ x<0 }

จากที่เรารู้กันอยู่แล้วว่าจำนวนนับคือ ตัวเลขตั้งแต่ 1,2,3… จะเห็นว่าไม่มีจำนวนนับที่น้อยกว่า 0 ดังนั้น A จึงไม่มีสมาชิก จะได้ว่า A = Ø หรือ จะเขียนว่า A = { } ก็ได้

4.) ⊂ แทน เป็นสับเซตของเซต

เช่น ให้ A = {a,b} B = {a,b,c,d}

จะเห็นกว่า สมาชิกทุกตัวใน A เป็นสมาชิกใน B ด้วย

ดังนั้น A เป็นสับเซตของ B เขียนแทนด้วย A ⊂ B

5.) เรียกว่า ยูเนียน คือ การรวมสมาชิกของเซตหลายเซตมารวมกัน

6.) ∩ เรียกว่า อินเตอร์เซกชัน

ดูเนื้อหาเรื่องสับเซต

ดูเนื้อหาเรื่องการยูเนียนและการอินเตอร์เซคชัน

สัญลักษณ์อื่นๆที่อาจจะเกี่ยวข้อง

สัญลักษณ์ที่เราควรรู้ไว้ เพราะเราจะต้องเจอสัญลักษณ์เหล่านี้ในการเรียนคณิตศาสตร์

R แทน เซตของจำนวนจริง

 แทน จำนวนเต็มศูนย์

I¯แทน เซตของจำนวนเต็มลบ

แทน เซตของจำนวนนับ

 

ตัวอย่าง

 

1.) ให้ A = { x| x เป็นจำนวนนับ และ 1<x<4} และ B = {2,3}

จากโจทย์ จะได้ว่า 2 ∈ A และ 3 ∈ A เพราะ เงื่อนไขบอกว่า x ต้องเป็นจำนวนนับที่มากกว่า 1 และ น้อยกว่า 4 ดังนั้น ค่า x ที่เป็นไปได้คือ 2 และ 3 เท่านั้น

และจากที่เรารู้ว่า สมาชิกของ A ประกอบด้วย 2 และ 3 เราจะสังเกตเห็นว่า สมาชิกทุกตัวของ A เหมือนกับสมาชิกทั้งหมดใน B ดังนั้น เราสามารถสรุปได้ว่า A = B

2.) ให้ C {x,x,x,y} และ D = {x,y}

จากโจทย์ เราจะได้ว่า

 1. x ∈ C , x ∈ D , y ∈ C และ y ∈ D

2. C = D เพราะจะเห็นว่า {x,x,x,y} มีสมาชิกซ้ำกัน  โดยปกติแล้ว ถ้ามีสมาชิกในเซตซ้ำกันเราจะนิยมเขียนเพียงตัวเดียว ดังนั้น {x,x,x,y} สามารถเขียนได้อีกแบบ คือ {x,y}

3.) กำหนดให้ A  = {5,6,7}

B = { x | x เป็นจำนวนเต็มที่สอดคล้องกับสมการ (x-5)(x-6)(x-7) = 0}

C = { x | x เป็นจำนวนเต็ม และ 4< x < 8}
D = { x | x เป็นจำนวนเต็มคี่ที่น้อยกว่า 9 }

พิจารณาข้อความว่าสมาชิกแต่ละเซตมีอะไรบ้าง เซตใดเท่ากันและเซตไหนไม่เท่ากัน

วิธีทำ หาสมาชิกของเซต  B, C และ D

พิจารณา B  ; x เป็นจำนวนเต็มที่สอดคล้องกับสมาการ                    (x-5)(x-6)(x-7) = 0 จะได้ว่า x = 5,6,7

ดังนั้น 5 ∈ B , 6 ∈ B และ 7 ∈ B เขียนเซต B แบบแจกแจงสมาชิกจะได้         B = {5,6,7}

พิจารณา C ; x เป็นจำนวนเต็มที่มากกว่า 4 และน้อยกว่า 8 ดังนั้น       x = 5,6,7

จะได้ว่า 5,6,7 ∈ C เขียนเซต C แบบแจกแจงสมาชิกจะได้ C = {5,6,7}

พิจารณา D ; x เป็นจำนวนเต็มคี่ที่น้อยกว่า 9 ดังนั้น D = {…,-3,-1,1,3,5,7}

จาก B = {5,6,7}, C = {5,6,7} และ D = {…,-3,-1,1,3,5,7}

ดังนั้น A=B=C แต่ A ≠ D , B ≠ D และ C ≠ D

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

_ม2 Present Continuous Tense Profile

Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคนค่า วันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง ” Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และข้อสอบวัดความเข้าใจหลังเรียนแบบปังๆกันจร้า หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย เริ่มกับการใช้ Present Continuous Tense   อธิบายสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น เช่น Danniel is playing a football at the moment.

should have

I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์

การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ บทความนี้ได้รวมรวมเนื้อหาและตัวอย่างเกี่ยวกับ การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ ไว้อย่างหลากหลายและแสดงวิธีทำอย่างละเอียด  แต่ก่อนที่น้องๆจะได้เรียนรู้เรื่องนี้น้องสามารถทบทวน การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก และ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก (กดลิ้งค์ที่ข้อความได้เลยค่ะ)  ซึ่งจะทำให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องต่างๆอย่างง่ายดาย ซึ่งได้นำเสนออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทำให้น้องๆสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ฝึกการเขียนจำนวนในรูปเลขยกกำลังที่มีฐานเป็น 10 ดังนี้ 10 = 10 = 10¹ 100 = 10

การใช้ Why and because + want + infinitive

การใช้ Why and because + want + infinitive เกริ่นนำเกริ่นใจ กลับมาอีกครั้ง กับนักเขียนเจ้าเก่าคนเดิม คนที่พร้อมจะพาทุกคนเข้าสู่โลกของการเรียนรู้และความหัวปวดด้วยภาษาที่สองอย่างภาษาอังกฤษ เช้าที่สดใสแบบนี้จะมีอะไรดีไปกว่าการได้มานั่งเขียนเรื่องราวดี ๆ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่นอีกละ จริงมั้ย? คำถามคือ ทำไมต้องมาเขียนอะไรแบบนี้ทุกเช้าด้วยละ? สงสัยใช่มั้ยละ? นั่นก็เพราะว่า คนเขียนนั้นรักในการเขียนและอยากจะแบ่งปันความรู้ให้กับคนอ่านทุกคนยังไงละ Easy เลย แค่นั้นเลย คนบนโลกจะเข้าใจกันมากหากเรามีเหตุผลในสิ่งที่ทำ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1