ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐

ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้  แทนด้วย +2  และเงิน 3 บาทที่พีชจะต้องเสียเป็นผลตอบแทนที่เสีย  แทนด้วย -3

ค่าคาดหมาย  หมายถึง การนำความน่าจะเป็นของเหตุการณ์และผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้นมาพิจารณาประกอบกันในทางสถิติ ซึ่งหาได้จาก ผลรวมของผลคูณระหว่างความน่าจะเป็นของเหตุการณ์กับผลตอบแทนของเหตุการณ์

ตัวอย่างที่ 1 

ตัวอย่างที่ 1   ในงานเลี้ยงแห่งหนึ่งอานนท์และธีรเทพนั่งโต๊ะเดียวกัน ในระหว่างนั่งรออาหารนั้น  อานนท์หยิบเหรียญบาทออกมาสองเหรียญ  แล้วท้าพนันธีรเทพโดยมีกติกาว่า  ให้อานนท์โยนเหรียญ 2 เหรียญ  พร้อมกัน 1 ครั้ง ถ้าเหรียญที่โยนออกก้อยทั้งคู่แล้วอานนท์จะจ่ายให้ธีรเทพ 5 บาท แต่ถ้าเหรียญออกเป็นอย่างอื่นธีรเทพต้องจ่ายให้อานนท์ 3 บาท  ถ้ามีการพนันโยนเหรียญกันแบบนี้ไปเรื่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง  จงหาค่าคาดหมายที่ธีรเทพจะได้เงินในครั้งนี้  และคิดว่าใครจะได้เงินมากกว่ากัน

วิธีทำ     ในการโยนเหรียญบาทที่เที่ยงตรง 2 เหรียญพร้อมกัน 1 ครั้ง  ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้มี 4 แบบ คือ HH, TT, HT หรือ TH

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยทั้งคู่ เท่ากับ  \frac{1}{4}

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญไม่ออกก้อยทั้งคู่ เท่ากับ  \frac{3}{4}

เนื่องจากแต่ละครั้งที่อานนท์โยนเหรียญ ถ้าเหรียญที่โยนออกเป็น TT อานนท์จะจ่ายเงินให้ธีรเทพ 5 บาท

ดังนั้น ผลตอบแทนของเหตุการณ์เป็นการที่ธีรเทพได้เงิน 5 บาท จึงแทนด้วย +5

เนื่องจากแต่ละครั้งที่โยนเหรียญ ถ้าเหรียญที่โยนไม่ออก TT ธีรเทพต้องจ่ายเงินให้อานนท์ 3 บาท

ดังนั้น ผลตอบแทนของเหตุการณ์เป็นการที่ธีรเทพเสียเงิน 3 บาท จึงแทนด้วย -3

การพนันโยนเหรียญหนึ่งครั้งค่าคาดหมายของธีรเทพ เป็นดังนี้

ค่าคาดหมาย =  (ผลตอบแทนที่ได้ × ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกก้อยทั้งคู่)                                                          + (ผลตอบแทนที่เสีย × ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญไม่ออกก้อยทั้งคู่)

    = (5 × ¹⁄₄) + (-3 × ³⁄₄)

    = ⁵⁄₄ + (-9⁄₄)

    = -⁴⁄₄

    = -1

นั่นคือ ค่าคาดหมายของธีรเทพ เท่ากับ -1 บาท

แสดงว่า ถ้ามีการพนันโยนเหรียญกันแบบนี้ไปเรื่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง โดยเฉลี่ยธีรเทพเสียเงินครั้งละ 1 บาท หรือกล่าวได้ว่า อานนท์ได้เงินมากกว่าธีรเทพ

ตัวอย่างที่ 2

ตัวอย่างที่ 2   จากตัวอย่างที่ 1 ถ้าการพนันโยนเหรียญสองเหรียญ เปลี่ยนกติกาเป็นดังนี้ให้อานนท์โยนเหรียญ 2 เหรียญพร้อมกัน 1 ครั้ง ถ้าเหรียญที่โยนออกหัวทั้งคู่ แล้วธีรเทพจะจ่ายเงินให้อานนท์ 3 บาท แต่ถ้าเหรียญออกอย่างอื่น อานนท์ต้องจ่ายให้ธีรเทพ 1 บาท ถ้าโยนเหรียญไปเรื่อย ๆ หลาย ๆ ครั้งใครจะได้เงินมากกว่ากัน

วิธีทำ     การพนันโยนเหรียญหนึ่งครั้ง จะมีค่าคาดหมายของธีรเทพเปลี่ยนแปลงเป็นดังนี้

ค่าคาดหมาย = (ผลตอบแทนที่ได้ × ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวทั้งคู่)                                                            + (ผลตอบแทนที่เสีย × ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญไม่ออกหัวทั้งคู่)

    = (1 × ³⁄₄) + (-3 × ¹⁄₄)

    = ³⁄₄ + (⁻³⁄₄)

    = 0

นั่นคือ ค่าคาดหมายของธีรเทพเท่ากับ 0 บาท

แสดงว่า  ถ้ามีการพนันโยนเหรียญกันแบบนี้ไปเรื่อย ๆ หลาย ๆ ครั้ง โดยเฉลี่ยทั้งอานนท์และธีรเทพจะเสมอตัว ไม่มีใครได้เงินมากกว่ากัน

ตัวอย่างที่ 3 

ตัวอย่างที่ 3   ในรายการเกมเศรษฐี  ลลิตาต้องตอบคำถามข้อสุดท้ายมี 4 ตัวเลือก หากตอบถูกจะได้เงิน 100,000 บาท ตอบผิดจะได้เงิน 5,000 บาท ถ้าไม่ตอบจะได้เงิน 10,000 บาท ลลิตาใช้ตัวช่วยหมดแล้ว และไม่ทราบคำตอบเลย  ถ้านักเรียนเป็นลลิตานักเรียนจะตอบคำถามหรือหยุดเล่น

วิธีทำ     ในการตอบคำถาม 4 ตัวเลือก 1 ข้อ จะมีข้อถูก 1 ข้อและข้อผิด 3 ข้อ

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะตอบถูก  เท่ากับ  \frac{1}{4}

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะตอบผิด  เท่ากับ \frac{3}{4}

เนื่องจาก ถ้าลลิตาตอบถูกลลิตาจะได้เงิน 100,000 บาท

ดังนั้น ผลตอบแทนของเหตุการณ์ที่ลลิตาได้เงิน 100,000 บาท จึงแทนด้วย +100000

เนื่องจาก ถ้าลลิตาตอบผิดลลิตาจะเสียเงิน 5,000 บาท

ดังนั้น ผลตอบแทนของเหตุการณ์ที่ลลิตาเสียเงิน 5000 บาท จึงแทนด้วย -5000

เนื่องจาก ถ้าลลิตาไม่ตอบลลิตาจะได้เงิน 10,000 บาท

ดังนั้น ผลตอบแทนของเหตุการณ์ที่ลลิตาได้เงิน 10,000 บาท จึงแทนด้วย +10000

การตอบคำถามข้อสุดท้าย ค่าคาดหมายของลลิตา เป็นดังนี้

ค่าคาดหมาย  = (ผลตอบแทนที่ได้ × ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่จะตอบคำถามถูก)                                                              + (ผลตอบแทนที่เสีย × ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ตอบคำถามผิด)

    = (100,000 × ¹⁄₄) + (-5,000 × ³⁄₄)

    = ¹⁰⁰⁰⁰⁰⁄₄ + (⁻¹⁵⁰⁰⁰⁄₄)

    = ⁸⁵⁰⁰⁰⁄₄

    = 21,250

นั่นคือ ค่าคาดหมายของลลิตา เท่ากับ 21,250 บาท

แสดงว่า ลลิตาควรเล่นต่อไป

ตัวอย่างที่ 4 

ตัวอย่างที่ 4  แป้นวงกลมปาเป้าผู้เล่นจะเสียค่าเล่นครั้งละ  20 บาท  โดยมีรางวัล  ดังนี้

เป้า ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ถ้าปาโดนหมายเลข 1 จะไม่ได้รับเงิน

ถ้าปาโดนหมายเลข 2 จะได้รับเงิน 100 บาท

ถ้าพิมพ์เล่นแป้นวงกลมปาเป้า จงหาว่าแต่ละครั้งที่พิมพ์เล่นมีค่าคาดหมายที่จะได้รับเงินเป็นเท่าใด

วิธีทำ     จำนวนผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมดเท่ากับ 8

จำนวนเหตุการณ์ที่จะปาเป้าโดนหมายเลข  1 เท่ากับ 6

ความน่าจะเป็นที่พิมพ์จะปาเป้าโดนหมายเลข 1 เท่ากับ ⁶⁄₈ = ³⁄₄

จำนวนเหตุการณ์ที่จะปาเป้าโดนหมายเลข 2 เท่ากับ 2

ความน่าจะเป็นที่พิมพ์จะปาเป้าโดนหมายเลข 2 เท่ากับ ²⁄₈ = ¹⁄₄

ผลตอบแทนที่ได้เท่ากับ 100

ผลตอบแทนที่เสียเท่ากับ -20

ค่าคาดหมาย  = (ผลรวมของผลคูณระหว่างความน่าจะเป็นของเหตุการณ์กับผลตอบแทนของเหตุการณ์)

    = (¹⁄₄ × 100) + (³⁄₄ × (-20)

                         = ¹⁰⁰⁄₄ – ⁶⁰⁄₄

                            = 25 – 15

     = 10

               ดังนั้น พิมพ์เล่นแป้นวงกลมปาเป้า พิมพ์มีค่าคาดหมายที่จะได้รับเงิน เท่ากับ 10

ตัวอย่างที่ 5

ตัวอย่างที่ 5  ในการจัดงานวัดแห่งหนึ่ง  พ่อค้าได้นำวงล้อเสี่ยงโชคเพื่อการกุศล มีตัวเลข 1 – 8 เรียงกันตามช่องที่แบ่งเท่ากันบนแป้นวงกลม  และมีลูกศรชี้ช่องตัวเลข ดังรูป มาให้ลูกค้าหมุนเสี่ยงโชค  โดยมีกติกาว่า ถ้าลูกค้าหมุนเสี่ยงโชคหนึ่งครั้ง ถ้าลูกศรชี้ที่ตัวเลข 2 หรือ 4 แล้ว ทางพ่อค้าจะจ่ายเงินให้ลูกค้า 100 บาท และแต่ละครั้งที่หมุนวงล้อ ลูกค้าต้องจ่ายเงินซื้อตั๋วหนึ่งใบราคา 50 บาท ถ้ามดดำซื้อตั๋วหมุนวงล้อเสี่ยงโชคหนึ่งใบ จงตอบคำถามต่อไปนี้

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ เป้า 2

1) ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มดดำจะได้รับรางวัลเป็นเท่าไร

2) ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มดดำจะไม่ได้รับรางวัลเป็นเท่าไร

3) การหมุนวงล้อเสี่ยงโชคหนึ่งครั้ง ค่าคาดหมายที่มดดำจะได้เงินเป็นเท่าไร และหมายความว่าอย่างไร จงอธิบาย

วิธีทำ    1) ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มดดำจะได้รับรางวัลเป็นเท่าไร

ในการหมุนวงล้อเสี่ยงโชคหนึ่งครั้ง  ผลลัพธ์ทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้นได้มี 8 แบบ คือ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 , 8

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มดดำจะได้รับรางวัล  เท่ากับ ²⁄₈  หรือ ¹⁄₄ 

     2) ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มดดำจะไม่ได้รับรางวัลเป็นเท่าไร

     ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่มดดำจะไม่ได้รับรางวัล  เท่ากับ ⁶⁄₈  หรือ ³⁄₄

     3) การหมุนวงล้อเสี่ยงโชคหนึ่งครั้ง ค่าคาดหมายที่มดดำจะได้เงินเป็นเท่าไร และหมายความว่าอย่างไรจงอธิบาย

               เนื่องจาก ถ้ามดดำหมุนเสี่ยงโชคชี้ที่ตัวเลข 2 หรือ 4 มดดำจะได้เงิน 100 บาท

     ดังนั้น ผลตอบแทนของเหตุการณ์ที่มดดำได้เงิน 100 บาท จึงแทนด้วย +100

     เนื่องจาก ถ้ามดดำหมุนเสี่ยงโชคชี้ที่ตัวเลข 1, 3, 5,6,7 และ 8 มดดำไม่ต้องเสียเงิน

     ดังนั้น ผลตอบแทนของเหตุการณ์ที่มดดำไม่ต้องเสียเงิน จึงแทนด้วย 0

               ค่าคาดหมาย = (ผลตอบแทนที่ได้ × ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ได้รับรางวัล)

                                          + (ผลตอบแทนที่เสีย × ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ไม่ได้รับรางวัล)

                  = (100 × ¹⁄₄) + (0 × ³⁄₄

                  = ¹⁰⁰⁄₄

                                            = 25

     ดังนั้น ค่าคาดหมายของมดดำ เท่ากับ 25 บาท

     เนื่องจากในการซื้อตั๋วหมุนวงล้อเสี่ยงโชค 1 ใบ ราคา 50 บาท มีค่าคาดหมายที่จะได้เงิน 25 บาท     แสดงว่ามดดำเสียเปรียบอยู่ 50 – 25 = 25 บาท

     นั่นคือ ถ้ามดดำซื้อตั๋วหมุนวงล้อเสี่ยงโชคหลาย ๆ ใบ โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละใบมดดำจะเสียเปรียบ หรือพ่อค้าได้กำไร

เมื่อน้องๆเรียนรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ จะทำให้น้องๆสามารถนำความรู้ไปใช้ในการตัดสินใจในเหตุการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

วิดีโอ ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Profile where + preposition P6

การใช้ประโยค Where’s the + (Building) + ? It’s + (Preposition Of Place)

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาทุกคนไปเรียนรู้เกี่ยวกับ ประโยค การถามทิศทาง แต่เอ้ะ Where is the building? แปลว่า ตึกอยู่ที่ไหน ประโยคนี้เป็นการถามทางแบบห้วนๆ ที่ใช้กับคนที่เราคุ้นชินหรือคนที่เรารู้จัก แต่หากนักเรียนต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องถามกับคนแปลกหน้าโดยเฉพาะฝรั่ง คงต้องมาฝึกถามให้สุภาพมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องมีการเกริ่นขึ้นก่อนที่เราจะถามนั่นเองค่ะ ซึ่งนักเรียนที่รักทุกคนได้เรียนรู้ในบทเรียนนี้นะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย รูปแบบการถามทิศทาง   โครงสร้างประโยคถามแบบตรงๆ (Direct Question) “

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า ความเป็นมาของวรรณคดีที่แปลจากภาษาอังกฤษ

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า เป็นวรรณคดีที่ไทยที่ถูกแปลมาจากภาษาอังกฤษ น้อง ๆ คงจะสงสัยกันใช่ไหมคะว่าทำไมเราถึงได้เรียนวรรณคดีที่ถูกแปลจากภาษาอื่นด้วย บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักวรรณคดีที่ทรงคุณค่าอีกเรื่องหนึ่งว่ามีที่มาและเรื่องย่ออย่างไร ใครเป็นผู้แต่งในฉบับภาษาไทย ถ้าพร้อมที่จะเรียนรู้แล้วก็ไปดูกันเลยค่ะ   ความเป็นมา กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า     วรรณคดีเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า วรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาจากกวีนิพนธ์อังกฤษชื่อ Elegy Written in a country churchyard ของ ธอร์มัส

Life is Simple: ทำความรู้จัก Present Simple Tense

เรื่อง Tense (กาล) ในภาษาอังกฤษเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ อีกเรื่องหนึ่ง และ Tense ที่เป็นพื้นฐานสุดๆ และน้องๆ จะพบเจอบ่อยที่สุดก็คือ Present Simple นั่นเอง วันนี้เราจะมาปูพื้นฐานและทบทวนความรู้เรื่องนี้กันครับ

เรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องประโยคซับซ้อนอย่างง่าย

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้โครงสร้างของประโยคกันอยู่แล้ว คือจะมีประธาน กริยา กรรม เป็นส่วนประกอบ แต่ในชีวิตจริงเราไม่ได้พูดกันตามโครงสร้างเสมอไป เพราะจะมีส่วนขยายมาเพิ่มความมากขึ้นเพื่อให้ผู้พูดและผู้รับฟังสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจมากขึ้นจนบางครั้งก็อาจทำให้ดูซับซ้อนจนไม่รู้ว่าเป็นประโยคแบบไหนและอะไรคือใจความสำคัญของประโยค บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับเรื่อง ประโยคซับซ้อน ทั้งประโยคความเดียวซับซ้อน ประโยคความรวมซับซ้อน และประโยคความซ้อนซับซ้อน ประโยคแต่ละชนิดจะเป็นอย่างไร ไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ ประโยคเอย จงซับซ้อนยิ่งขึ้น !   ประโยคซับซ้อน

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1