การให้เหตุผลแบบนิรนัย

จากบทความที่แล้วเราได้เรียนเรื่องการให้เหตุผลแบบอุปนัยไปแล้ว บทความนี้พี่จะพูดถึงการให้เหตผลแบบนิรนัย ซึ่งแน่นอนว่ามักจะเจอในข้อสอบ O-Net แต่น้องๆไม่ต้องกังวลว่าจะทำไม่ได้ หากน้องได้อ่านบทความนี้แล้วน้องๆจะทำข้อสอบเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้แน่นอนค่ะ
การให้เหตุผลแบบนิรนัย

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การให้เหตุผลแบบนิรันัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือ การมองจากสิ่งใหญ่ๆว่ามันเป็นจริง ทำให้สิ่งที่อยู่ในนั้น จริงตามไปด้วย

การสรุปผลของนิรนัยจะถูกต้องก็ต่อเมื่อเป็นการสรุปที่สมเหตุสมผล

เช่น เราไปซื้อผลไม้ แล้วแม่ค้าบอกว่า ผลไม้กองนี้หวาน แสดงว่า ถ้าหยิบมา 2 ลูก เราสามารถบอกได้เลยว่า ผลไม้ 2 ลูกนั้นหวาน

การให้เหตุผลแบบนิรนัยนั้น จะแตกต่างกับ การให้เหตุผลแบบอุปนัย

อุปนัย มองจากเล็ก ไปหา ใหญ่

นิรนัย มองจาก ใหญ่ ไปหา เล็ก

การตรวจสอบความสมเหตุสมผล ของการให้เหตุผลแบบนิรนัย

วิธีการตรวจสอบมีหลายวิธี แต่พี่จะแนะนำการตรวจสอบที่ทำให้น้องๆเข้าใจง่ายที่สุด ซึ่งก็คือตรวจสอบโดยใช้แผนภาพเวนน์-ออยเลอร์

ถ้าแผนภาพที่เราวาด เป็นไปตามผลสรุป(ตามที่โจทย์บอก)ทุกกรณี แสดงว่า ผลสรุปนั้นสมเหตุสมผล

แต่ถ้าแผนภาพที่เราวาดนั้นไม่เป็นตามที่สรุปไว้ คืออาจจะมีบางกรณีที่ไม่จริง ผลสรุปนั้นจะไม่สมเหตุสมผล

เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่าค่ะ

ตัวอย่าง การให้เหตผลแบบนิรนัย

โจทย์เกี่ยวกับการให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นโจทย์ที่ถ้าเราเข้าใจมันจะสนุกมากๆ ลองไปดูตัวอย่างกันค่ะ

1.)

เหตุ 1.สัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย

2. สุนัขเป็นสัตว์

ผล        สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย

ตอบ การให้เหตุผลนี้ สมเหตุสมผล

คำอธิบาย การให้เหตุผลแบบนิรนัย คือเราจะยอมรับว่าเหตุที่ 1 เป็นจริง แล้ว เหตุที่ 2 เกิดจากเราสร้างขึ้นมา เหมือนกับข้อนี้ ที่บอกว่าสัตว์ทุกตัวเป็นสัตว์ดุร้าย เราเลยสร้างเหตที่ 2 ขึ้นมาว่า ถ้าสุนัขเป็นสัตว์ล่ะ เราเลยสรุปผลว่า สุนัขเป็นสัตว์ดุร้าย

มาดูภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นค่ะ

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

 

2.)

เหตุ 1. เรือทุกลำลอยน้ำได้

2. ขวดลอยน้ำได้

ผล            ขวดเป็นเรือ

ตอบ ไม่สมเหตสมผล

ข้อนี้เราจะใช้รูปภาพในการอธิบาย เพื่อไม่ให้น้องๆงงกันนะคะ

 

3.) เหตุ

  1. เด็กที่ขาดสารไอโอดีนทุกคนเป็นโรคคอพอก
  2. เด็กที่อยู่ไกลทะเลทุกคน ขาดสารไอโอดีน
  3. หมู่บ้าน ค อยู่ไกลจากทะเล
  4. ธิดา อยู่หมู่บ้าน ก

ผล.       ธิดาเป็นโรคคอพอก

ตอบ ข้อความข้างต้นสมเหตุสมผล

อธิบายตัวอย่างข้างต้น

4.) เหตุ

  1. จำนวนนับทุกจำนวนเป็นจำนวนเต็ม
  2. จำนวนเต็มบางจำนวนเป็นจำนวนเต็มลบ

ผล        จำนวนนับบางตัวเป็นจำนวนเต็มลบ

พิจารณา จากภาพ ดังนี้

4.) เหตุ

  1. ไม่มีจำนวนเฉพาะใดที่หารด้วย 2 ลงตัว
  2. 27 หารด้วย 2 ไม่ลงตัว

ผล.      27 เป็นจำนวนเฉพาะ

ตอบ ไม่สมเหตุสมผล

อธิบายด้วยภาพ ดังนี้

การให้เหตุผลแบบอุปนัย กับ การให้เหตุผลแบบนิรนัย

อุปนัย

ใช้ประสบการณ์ หรือทำซ้ำๆ แล้วคาดคะเนผลสรุป

ไม่มีขอบเขตที่ชัดเจน

ผลสรุปอาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

ยิ่งประสบการณ์มาก ผลสรุปยิ่งหน้าเชื่อถือ

น้องๆสามารถเข้าไปดูเนื้อหา การให้เหตุผลแบบอุปนัย ได้เลยนะคะ

นิรนัย

ยอมรับว่า เหตุที่ 1 เป็นจริง และสร้างเหตุการณ์ที่ 2 ขึ้นมา แล้วมาสรุปผล

ผลสรุปจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ มันสมเหตุสมผล

ตรวจการสมเหตุสมผลได้ด้วย แผนภาพ เวนน์-ออยเลอร์ (ตรวจสอบง่ายสุด)

วีดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การให้เหตุผลแบบนิรัย

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

พันธกิจของภาษา

พันธกิจของภาษา ความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์

ภาษาที่มนุษย์ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ไม่เพียงแต่เป็นเครื่องมือสื่อสาร แต่ยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย ความต้องการ และความคิดของคน บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง พันธกิจของภาษา พร้อมความสำคัญและอิทธิพลของภาษาที่มีต่อมนุษย์ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พันธกิจของภาษา   พันธกิจของภาษาคืออะไร?   พันธกิจของภาษา หมายถึง ประโยชน์หรือความสำคัญของภาษา ซึ่งประกอบไปด้วยความสำคัญหลัก ๆ ดังนี้ 1. ภาษาช่วยธำรงสังคม

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

NokAcademy_ม3 มารู้จักกับ Signal Words

การใช้ Signal words : First, Second, Firstly, Secondly, Finally, Then, Next etc.

มารู้จักกับ Signal Words หรือ อีกชื่อที่รู้จักกันคือ Connective Words: คำเชื่อมประโยค/วลี ในภาษาอังกฤษ สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูมีเทคนิคที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อม (connective words) ในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing)

เสภาขุนช้างขุนแผน

เสภาขุนช้างขุนแผน จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนัก

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของกลอนเสภาและเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวรรณคดีว่าเป็นเลิศทั้งในด้านเนื้อเรื่องและการประพันธ์ มีมากมายหลายตอน หลายสำนวนและหลายผู้แต่ง แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้ศึกษากันในวันนี้เป็น เสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา จะมีเนื้อหาและความเป็นมาอย่างไรเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของ เสภาขุนช้างขุนแผน   ขุนช้างขุนแผนสันนิษฐานว่าเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา จากพงศาวดารทำให้ทราบว่าขุนแผนรับราชการอยู่ในสมัยสมเด็จพระพันวษา หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2034-พ.ศ 2072 ต่อมามีการนำเรื่องขุนช้างขุนแผนมาแต่งเป็นกลอนสุภาพและบทเสภาโดยใช้กรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ

สังข์ทอง จากนิทานชาดกสู่วรรณคดีไทยอันเลื่องชื่อ

สังข์ทอง เป็นวรรณคดีที่แพร่หลายและโด่งดังอย่างมากในสังคมไทย ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยปี ความนิยมของวรรณคดีเรื่องดังกล่าวนี้ก็ยังไม่เสื่อมคลาย ดูได้จากการที่ถูกผลิตซ้ำตั้งแต่เป็นกลอนบทละครจนถึงละครโทรทัศน์ ที่น้อง ๆ หลายคนก็คงจะเดินเห็นผ่านตากันมาแล้วบ้าง บทเรียนในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ถึงความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้ พร้อมเรื่องย่อหนึ่งตอนสำคัญที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดอย่างตอน กำเนิดพระสังข์ กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยนะคะ   สังข์ทอง ความเป็นมา     สังข์ทอง มีที่มาจาก สุวรรณสังขชาดก

การอ่านบทร้อยแก้ว อ่านอย่างไรให้น่าฟัง

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องการบทร้อยกรองไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงบทร้อยแก้วกันบ้าง ซึ่งน้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักบทร้อยแก้วกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่า การอ่านบทร้อยแก้ว ก็มีวิธีอ่านที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะการที่เราอ่านไม่ถูกต้องนั้นก็อาจจะทำให้ไม่น่าฟัง น่าเบื่อ รวมไปถึงอาจทำให้ใจความที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อสารคลาดเคลื่อนได้อีกด้วย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีหลักเกณฑ์และวิธีอ่านอย่างไร ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ร้อยแก้วคืออะไร ?   บทข้อความทั่วๆ ไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยต้องเขียนเป็นประโยค ข้อความติดต่อกัน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1