การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การอ่านแผนภูมิรูปวงกลมรวมทั้งส่วนประกอบต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูล(presentation of data) เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ มาจัดให้เป็น ระบบเพื่อแสดงข้อเท็จจริง รายละเอียดและข้อเปรียบเทียบต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจในข้อมูลนั้นๆ ทราบได้โดยง่าย ชัดเจน รวดเร็วทั้งยังมีความเชื่อมั่นในข้อเท็จจริงเหล่านั้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยนิยมคิดข้อมูลให้อยู่ในรูปร้อยละ   

การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

เนื่องจากการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความมีลักษณะเป็นข้อความทำให้ข้อมูลที่เป็นปริมาณไม่เด่นชัดต้องใช้เวลาในการอ่านและวิเคราะห์

ส่วนการนำเสนอข้อมูลในรูปข้อความ รวมถึงตารางมีการแยกข้อมูลที่เป็นปริมาณให้เห็นเด่นชัด ถ้าต้องการนำเสนอข้อมูลที่เป็นปริมาณให้ชัดเจนน่าสนใจและสามารถเปรียบเทียบข้อมูลให้เห็นเป็นรูปภาพดูง่ายขึ้น

เรานิยมนำเสนอด้วยแผนภูมิรูปวงกลมโดยแทนปริมาณในข้อมูลทั้งหมดด้วยพื้นที่ในรูปวงกลมวงหนึ่งและแบ่งพื้นที่ในรูปวงกลมจากจุดศูนย์กลางออกเป็นส่วนของวงกลมย่อยตามส่วนของปริมาณที่นำเสนอแล้วเขียนตัวเลขแสดงข้อมูลกำกับไว้

ถ้าข้อมูลที่ต้องการนำเสนอโดยแผนภูมิรูปวงกลมเป็นปริมาณที่มีค่ามากเรานิยมแสดงข้อมูลเหล่านั้นในรูปร้อยละของปริมาณในข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์และให้เห็นเปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

1. ส่วนประกอบของแผนภูมิรูปวงกลม 

1.1 ชื่อเรื่อง มีไว้เพื่อบอกว่าแผนภูมิวงกลมนี้ได้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องอะไร เมื่อไร จะเขียนไว้เหนือหรือใต้แผนภูมิก็ได้

1.2 รูปวงกลม โดยแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ แสดงรายละเอียดที่สอดคล้องกับชื่อเรื่อง

 1.3 ที่มาหรือแหล่งข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าข้อมูลนั้นได้มาจากแหล่งใด เพื่อความน่าเชื่อถือและสะดวกในการค้นคว้าต่อไป

2. การเขียนแผนภูมิรูปวงกลม

หลักการเขียนแผนภูมิรูปวงกลม มีขั้นตอนดังนี้

2.1 หาปริมาณของข้อมูลทั้งหมด  และให้ปริมาณของข้อมูลทั้งหมดแทนมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลม ที่มีขนาด 360  องศา

2.2 นำปริมาณของข้อมูลแต่ละประเภท มาเทียบหาขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม

2.3 เขียนรูปวงกลม แล้วลากรัศมีของวงกลมเพื่อแบ่งพื้นที่ของรูปวงกลมเป็นส่วนๆตามขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่หาได้

 

หมายเหตุ 

  • ข้อมูล 1% คิดเป็นขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม 3.6 องศา
  • ไม่นิยมเขียนขนาดของมุมลงในแผนภูมิ แต่นิยมเขียนตัวเลขแสดงปริมาณจริงของข้อมูลหรือ ร้อยละของข้อมูลแต่ละประเภทกำกับไว้ เพื่อความสะดวกในการอ่านปริมาณของข้อมูลได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

 แผนภูมิรูปวงกลมนิยมใช้เมื่อต้องการเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆกับจำนวนทั้งหมดพร้อมกับการเปรียบเทียบจำนวนย่อยๆด้วยกันเองเหมาะแก่การนำเสนอข้อมูลจำนวนร้อยละ(เปอร์เซ็นต์)มากกว่าแผนภูมิแบบอื่นๆ สามารถแผนภูมิรูปวงกลมได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.หาปริมาณของข้อมูลทั้งหมดและให้ปริมาณของข้อมูลทั้งหมดแทนมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมที่มีขนาด 360 องศา

2.นำปริมาณของข้อมูลแต่ละประเภทมาเทียบหาขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม

3.เขียนรูปวงกลม แล้วลากรัศมีของวงกลมเพื่อแบ่งพื้นที่ของรูปวงกลมเป็นส่วนๆตามขนาดของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลมที่หาได้ การเขียนแผนภูมิรูปวงกลม อาจเรียกสั้น ๆว่า แผนภูมิวงกลม

ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิรูปวงกลม

การนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิรูปวงกลมอาจมีได้หลายลักษณะเช่นอาจเป็นภาพสามมิติเพื่อข้อมูลที่นำเสนอให้เห็นชัดเจนและดูสวยงามโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการเขียนดังตัวอย่างที่จะพบต่อไปนี้

ตัวอย่าง ให้นักเรียนพิจารณาแผนภูมิต่อไปนี้แผนภูมิแสดงร้อยละของรายได้จากการจัดงานการกุศลของโรงเรียนแห่งหนึ่งในปี พ.ศ. 2553

แผนภูมิรูปวงกลม

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. รายได้จากการรับบริจาคเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของการขายอาหาร

2. ถ้ารายได้ทั้งหมดจากการจัดงานเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 425,420 บาทขายบัตรชิงโชคเป็นเงินเท่าไร

3. รายได้จากการขายสินค้ากับรายได้จากการขายบัตรชิงโชครวมกันมากกว่าการรับบริจาคเท่าไรถ้ารายได้จากการขายอาหารเป็นเงิน 90,000 บาท

แผนภูมิรูปวงกลม

คลิปตัวอย่างเรื่องแผนภูมิรูปวงกลม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

Vtodo+Present Simple Tense

การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ V. to do ในรูปแบบของ Present Simple Tense หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ Let’s go! V. to do คืออะไร   ปรกติแล้วคำว่า do นั้นแปลว่าทำ แต่เมื่ออยู่ในประโยคแล้ว V. to do

หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense

สวัสดีนักเรียนชั้นม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง” หลักการใช้ Simple Present Tense+ Present Continuous Tense” พร้อมทั้งตัวอย่างสถานการณ์ใกล้ตัว และเทคนิคการจำและนำ Tense ไปใช้กันจร้า ซึ่ง Simple Present Tenseและ Present Continuous Tense นั้นมีสิ่งที่เหมือนกันคือ อยู่ในรูปปัจจุบัน (Present) เหมือนกัน

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ

โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ บทความนี้ ได้รวบรวม โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ซึ่งการแก้โจทย์ปัญหานั้น น้องๆจะต้องอ่านทำความเข้าใจกับโจทย์ให้ละเอียด และพิจารณาอย่างรอบคอบว่าโจทย์กำหนดอะไรมาให้บ้างและโจทย์ต้องการให้หาอะไร จากนั้นจะสามารถหาค่าของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้โดยใช้ความรู้เรื่องการคูณไขว้ สัดส่วน และร้อยละ ก่อนจะเรียนรู้เรื่องนี้ น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง สัดส่วน เพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สัดส่วน ⇐⇐ โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับสัดส่วน ตัวอย่างที่ 1  อัตราส่วนของอายุของนิวต่ออายุของแนน เป็น 2

อิเหนา

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

Daily Conversation P6

บทสนทนาในชีวิตประจำวันที่ควรรู้

  สวัสดีค่ะนักเรียนป. 6 ที่รักทุกคน เมื่อก่อนการคุยกันผ่านออนไลน์ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าในปัจจุบันที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในสถานการณ์ยุคโควิด เป็นเรื่องที่น่าเศร้าเวลาที่เราออกไปไหนไม่ได้ บทสนทนาออนไลน์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากแต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงสักเท่าไหร่ วันนี้ครูจะพาไปดูบทสนทนาที่อัพเดทแล้วในปัจจุบันรวมทั้งประโยคและวลีที่เราเจอบ่อยในชีวิตประจำวันทั้งชีวิตจริงและบนโลกออนไลน์กันค่ะ ไปลุยกันเลยค่า      การเริ่มบทสนทนากับคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย     Hi/ Hello/ Is that …? = สวัสดี ที่นั่น ..(เบอร์/ สถานที่)… ใช่ไหม

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่

จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เขียนอย่างไรให้ถูกกาลเทศะ

​จดหมายเป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบเฉพาะ โดยผู้เขียนจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้ถูกต้อง เหมาะสมแก่ผู้รับ การเขียนจดหมายนั้นมีหลายแบบ แต่บทเรียนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือ จดหมายถึงญาติผู้ใหญ่ เราจะมีวิธีเขียนจดหมายอย่างให้ถูกต้องและถูกกาลเทศะมากที่สุด เราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนจดหมายถึงญาติผู้ใหญ่   การเขียนจดหมาย   1. ผู้ส่งจดหมาย 2. จดหมาย 3. ผู้รับจดหมาย   ตัวอย่างการเขียนจดหมาย   ​

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1