การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น เป็นกราฟที่นิยมใช้เเสดงความเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลของข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเรียงข้อมูลตามลำดับก่อนหลังของเวลาที่ข้อมูลนั้น ๆ เกิดขึ้น ทำให้เห็นเเนวโน้มของข้อมูลเเละช่วยให้เห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงเเสดงถึงความสัมพันธ์ต่าง ๆ ของข้อมูล ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์เกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ได้

ตัวอย่างรูปเเบบของกราฟเส้นที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน


ตัวอย่างการนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น 

ตัวอย่างที่ 1 จงเขียนกราฟเเสดงจำนวนผลไม้ที่ถูกขายตามข้อมูลดังนี้

วิธีทำ เริ่มจากการสร้างเเกน x เเละเเกน y โดยให้เเกน x เป็น วันที่ เเละให้เเกน y เป็นจำนวนผลไม้ที่ถูกขาย
เเละใส่ตัวเลขใต้เส้นเเกน x เเละเเกน y ตามขนาดของข้อมูลที่อยู่ในตาราง

หลังจากนั้นให้เรานำข้อมูลมากำหนดจุดบนกราฟ โดยในเเต่ละจุด วันที่ เเละ จำนวนผลไม้ที่ถูกขาย ต้องตรงตามในตารางข้อมูล ดังรูปนี้

สุดท้ายลากเส้นเชื่อมกันระหว่างจุดที่เกิดขึ้น โดยเริ่มจากจุดเเรกสุดไปยังจุดสุดท้ายจะได้เป็น เส้นกราฟ เเละได้เป็นกราฟเส้นเเสดงข้อมูลของผลไม้ที่ถูกขาย

ตัวอย่างที่ 2 จากกราฟด้านล่างจงตอบคำถามต่อไปนี้

วิธีคิด ก่อนเริ่มตอบคำถามให้เริ่มต้นด้วยการหาจำนวนการส่งออกของเเต่ละปี เเล้วเขียนลงบนจุดในกราฟเส้นของโจทย์

คำถามที่ 1 ปีพ.ศ. 2560 มีการส่งออกข้าวสารจำนวนเท่าใด

ตอบ 37 ล้านตัน

คำถามที่ 2 ปีที่มีจำนวนการส่งออกเท่ากัน เเละส่งออกเป็นจำนวนเท่าใด

ตอบ ปีพ.ศ. 2560 กับ พ.ศ. 2564 เเละส่งออกเป็นจำนวน 37 ล้านตัน

คำถามที่ 3 การส่งออกข้าวสารตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2565 มีการเปลี่ยนเเปลงอย่างไร

ตอบ ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตั้งเเต่ปีพ.ศ. 2558 จนถึง ปีพ.ศ. 2562 เเละค่อย ๆ ลดลงหลังจากปีพ.ศ. 2562 จนถึงปีพ.ศ. 2565

คำถามที่ 4 ปีพ.ศ. ใดที่เริ่มมีการส่งออกข้าวสารลดลง

ตอบ ปีพ.ศ. 2563

คำถามที่ 5 ปีที่มีจำนวนการส่งออกข้าวสารเปลี่ยนเเปลงจากปีก่อนมากที่สุด คือปีใด เเละเพราะเหตุใด

ตอบ ปีพ.ศ. 2563 เป็นเพราะว่ามีการส่งออกข้าวสารลดลงจากปีพ.ศ. 2562 ทั้งหมด 9 ล้านตัน

คำถามที่ 6 หากนักวิชาการคาดว่าปีพ.ศ. 2566 ประเทศไทยจะมีการส่งออกเพิ่มจากปีพ.ศ. 2565 คิดเป็น 150% อยากทราบว่าจำนวนส่งออกข้าวสารของปีพ.ศ. 2566 จะมีจำนวนเท่าใด

วิธีทำ จำนวนการส่งออกข้าวสารปีพ.ศ. 2565 มีจำนวน 36 ล้านตัน
จะได้ว่า จำนวนการส่งออกข้าวสารปีพ.ศ. 2566 จะมีค่า   = (150 x 36 ล้านตัน)/100

= 54 ล้านตัน

ตอบ 54 ล้านตัน

การนำเสนอข้อมูลเเละเเปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น จะเห็นได้ว่ากราฟเส้นจะทำให้เราเห็นการเปลี่ยนเเปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว เพราะว่า เราสามารถรู้ได้ว่ากราฟเส้นนี้ เพิ่มขึ้น หรือ ลดลง หรือ คงที่ ทำให้เห็นเเนวโน้มต่าง ๆ ของข้อมูล

บทความนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของ การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น มีส่วนสำคัญในการคาดการณ์อนาคตที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลนั้น ๆ เช่น การคาดการณ์ราคาของหุ้น, การคาดการณ์ระดับความสูงของน้ำในประเทศ, การคาดการณ์ราคาน้ำมันของตลาดโลก เป็นต้น

ในส่วนของการสร้างกราฟเส้นเเละตัวอย่างการเเปรความหมายน้อง ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากวิดีโอนี้


คลิปวิดีโอ การนำเสนอข้อมูลเเละเเปรความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น

คลิปวิดีโอนี้ได้รวบรวมวิธี การนำเสนอข้อมูลและแปลความหมายข้อมูลด้วยกราฟเส้น ไว้อย่างละเอียด ซึ่งเป็นคลิปสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย แฝงไปด้วยความรู้ เเละเทคนิครวมถึงการอธิบาย ตัวอย่าง เเละสอนวิธีคิดที่จะทำให้วิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องง่าย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.)

             ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) ของจำนวนนับตั้งแต่สองจำนวนขึ้นไปนั้น  เป็นการหาตัวหารร่วมหรือตัวประกอบร่วมที่มีค่ามากที่สุดของจำนวนนับเหล่านั้น ในบทความนี้ได้รวบรวมวิธี การหา ห.ร.ม. ไว้ทั้งหมด 3 วิธี น้องๆอาจคุ้นชินกับ การหา ห.ร.ม. โดยวิธีตั้งหาร แต่น้องๆทราบหรือไม่ว่าวิธีการหา ห.ร.ม. มีวิธีการดังต่อไปนี้ การหา ห.ร.ม. โดยการหาผลคูณร่วม การหา ห.ร.ม.

การดำเนินการของเซต

การดำเนินการของเซตประกอบไปด้วย ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน คอมพลีเมนต์ของเซต และผลต่าง เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราจะได้ใช้ในบทต่อๆไป เรื่องนี้จึงค่อนข้างมีประโยชน์ในเรื่องของการเรียนเนื้อหาบทต่อไปง่ายขึ้น

สมบัติของการเท่ากัน

สมบัติของการเท่ากัน

          การหาคำตอบของสมการนั้น ต้องใช้สมบัติการเท่ากันมาช่วยในการหาคำตอบ จะรวดเร็วกว่าการแทนค่าตัวแปรในสมการซึ่งสมบัติการเท่ากันที่ใช้ในการแก้สมการได้แก่ สมบัติสมมาตร สมบัติถ่ายทอด สมบัติการบวก และสมบัติการคูณ เรามาทำความรู้จักสมบัติเหล่านี้กันค่ะ สมบัติสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a เมื่อ a และ

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญอย่างไร

  เสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีความสำคัญไม่แพ้เสียงพยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์เลยค่ะ น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยเรานั้นเป็นเหมือนตัวกำหนดความหมายของคำเลยก็ว่าได้ ทำไมถึงเป็นแบบนั้น วันนี้เรามีคำตอบให้แล้วค่ะ เราไปเรียนรู้เกี่ยวเสียงวรรณยุกต์พร้อมๆ กันเลยค่ะว่าทำไมถึงมีความสำคัญ   เสียงวรรณยุกต์คืออะไร   เสียงวรรณยุกต์ หมายถึง เสียงที่ใช้บอกระดับสูงต่ำของคำ มี 4 รูป 5 เสียง   รูปวรรณยุกต์   รูปวรรณยุกต์มี 4

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1