การใช้ There is และ There are ในประโยคคำถาม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.2 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ

 

There is/There are คืออะไร

 

M2 There is VS There are (2)

There is และ There are แปลว่า “มี”
“มีสิ่งใดดำรงอยู่” หรือ
“มีสิ่งใดเกิดขึ้น” นั่นเองจ้า
เมื่ออยู่ในประโยคคำถาม
จะแปลว่า มี…หรือเปล่า/มี…ไหม นั่นเอง

 

การสร้างประโยคคำถาม

M2 There is VS There are (3)

การทำให้ประโยคบอกเล่ากลายเป็นประโยคคำถามนั้นทำได้ ตามขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้น
ดังนี้เลยจ้า

1) นำ V. to be (Is/Are) ขึ้นหน้าประโยค
– Is ใช้กับประธานเอกพจน์ เช่น Tom, a cat, a person, etc.
– Are ใช้กับประธานพหูพจน์ เช่น students, members, people, etc.
2) ตามด้วย there
3) ตามด้วยคำนามที่เป็นประธานของประโยคบอกเล่า
4) แล้วใส่เครื่องหมาย Question mark (?) 

 

ตัวอย่างประโยคบอกเล่า
(รูปปัจจุบัน)
There+ is/are +N.

ประโยคคำถาม

Is/Are + there + N. ?

There is a bird on the tree.

มีนกอยู่บนต้นไม้

Is there a bird on the tree?
มีนกอยู่บนต้นไม้ไหม
There are students at the library.

มีนักเรียนอยู่ที่ห้องสมุด

Are there students at the library?
มีนักเรียน (หลายคน) อยู่ในห้องสมุดไหม
There are your family members here.

มีใครอยู่ที่นี่ไหม

Are there your family members here?
มีสมาชิกในครอบครัวของคุณอยู่ที่นี่หรือเปล่า
There are people at the park.

มีคนอยู่ที่สวนสาธารณะ

Are there people at the park?

ที่สวนสาธารณะมีคนไหม

จากตารางสามารถสรุปโครงสร้างการถามได้ดังนี้

 

  • ประโยคคำถามในความหมายว่า “มีหรือไม่”

ในการถามว่ามีสิ่งใดหรือไม่
เราจะใช้
Is there… และ Are there…
โดยโครงสร้างที่ใช้หลักๆแล้ว
จะมี 3โครงสร้าง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

Structure: “Is there + a/an + คำนามนับได้เอกพจน์”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Is there a car to rent?
มีรถให้เช่าไหม

Is there a dog in that house?
บ้านหลังนั้นมีสุนัขไหม

Is there a car on the road?
บนถนนมีรถไหม

Structure: “Is there + any + คำนามนับไม่ได้ ”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Is there any juice in the kitchen?
มีน้ำผลไม้ในครัวไหม

Is there any salt on the table?
มีเกลืออยู่บนโต๊ะไหม

Is there any water left?
มีน้ำเหลือไหม

Structure: “Are there + any + คำนามนับได้พหูพจน์”
แปลว่า มี…ไหม/มี…หรือเปล่า/มี…หรือไม่

 

Are there any gas stations nearby?
มีปั๊มน้ำมันใกล้ๆหรือเปล่า

Are there any schools for special students?
มีโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษหรือไม่

Are there any dangerous animals at the park?
มีสัตว์ที่เป็นอันตรายที่สวนสาธารณะหรือไม่

สรุปโครงสร้างการถาม-ตอบ

M2 There is VS There are (4)

Is there…?

Is there…?

Are there…?

Are there…?

Yes, there is. 

No, there isn’t.
Yes, there are.

No, there aren’t.

เทคนิคคือ  ถาม Is..ตอบ is ถาม Are…ตอบ are

การตอบคำถาม

 

M2 There is VS There are (5)

สำหรับคำนามนับไม่ได้ ซึ่งไม่มีรูปพหูพจน์ เราจะต้องใช้ there is เท่านั้น

There is/are ใช้กับ ตัวอย่างประโยคการตอบคำถาม
There is คำนามนับได้ เอกพจน์ There is one book on the cabinet.

มีหนังสือเล่มหนึ่งอยู่ในตู้

คำนามนับไม่ได้ There is some sugar on the table.

มีน้ำตาลอยู่บนโต๊ะ

There are คำนามนับได้ พหูพจน์ There are birds on the sky.

บนท้องฟ้ามีนก

 

  • ประโยคปฏิเสธ

การใช้ there is และ there are ในประโยคปฏิเสธ
หลักๆแล้วเราสามารถใช้ได้ 2 แบบ คือ

 

  • ใช้ not หลัง there is และ there are

 

เราสามารถใช้ there is not (เขียนย่อเป็น there isn’t) และ there are not
(เขียนย่อเป็น there aren’t) เพื่อสื่อว่า “ไม่ได้มีสิ่งใดอยู่”

 

โครงสร้าง:
“There isn’t/aren’t + ปริมาณ + คำนามนับได้”
เพื่อบอกว่าไม่ได้มีสิ่งนั้นในปริมาณเท่านั้น แต่มีมากหรือน้อยกว่า

ข้อควรรู้:

  • isn’t ย่อมาจาก is not + นามนับได้เอกพจน์ เช่น a rat, a cat
  • aren’t ย่อมาจาก are not + นามนับได้พหูพจน์ rats, cats
  • โครงสร้าง “There isn’t any + คำนามนับไม่ได้”
    หากต้องการบอกว่า ไม่มีสิ่งนั้นอยู่เลย ดังในตัวอย่างประโยคด้านล่าง

 

There isn’t any money left.
ไม่มีเงินเหลือแล้ว

 

  • ใช้โครงสร้าง “There aren’t any + คำนามนับได้พหูพจน์”
    เพื่อบอกว่าไม่มีสิ่งนั้นอยู่เลย
    ดังในตัวอย่างประโยคด้านล่าง

There aren’t any people here.
ไม่มีคนที่นี่เลย

 

  • นักเรียนสามารถบอกว่าไม่ได้มีสิ่งใด หรือ ใคร อยู่
    ในโครงสร้าง
    “There is no + คำนามนับได้เอกพจน์”
    ดังตัวอย่างประโยค

There is no one in the classroom.
ไม่มีใครอยู่ในห้องเรียน

 

  • ใช้โครงสร้าง “There is no + คำนามนับไม่ได้”
    แปลว่า ไม่มี…+ คำนามนั้นๆ
    ดังตัวอย่างประโยค

There is no juice in the refrigerator this week.
สัปดาห์นี้ไม่มีน้ำผลไม้ในตู้เย็น

 

  • ใช้โครงสร้าง “There are no + คำนามนับได้พหูพจน์”
    แปลว่า ไม่มี…+ คำนามนั้นๆ
    ดังตัวอย่างประโยค

There are no cows in the rice field.
ไม่มีวัวในนาข้าว

 

แบบฝึกหัด


M2 There is VS There are (7)

คำสั่ง: จงเติมคำในช่องว่างโดยเลือกใช้
There is/There are/Are there/Is there

 

  1. __________________any mistakes in this text?
  2. _________________ one question left.
  3. ___________________ no snails in my garden.
  4. ___________________ anybody here?
  5. _____________________nothing to do?
  6. ________________________seven days in a week?
  7. ____________________a lot of tea in the kitchen.

เป็นยังไงกันบ้างคะนักเรียน พอจะเข้าใจไวยากรณ์เรื่อง การใช้ There is There are ในประโยคคำถาม กันมากขึ้นมั้ยคะ
อย่าลืมดูคลิปวีดีโอเพื่อเป็นการทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมได้ที่ด้านล่างเลยนะคะ สนุกมากๆเลย

คลิกปุ่มเพลย์ แล้วไปเรียนให้สนุกกับทีเชอร์กรีซได้เลยจ้า 

Have a good day!

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ประเมินคุณค่าและสรุปความรู้

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร เป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์ จากบทเรียนครั้งก่อนที่เราได้ศึกษาที่มาและเนื้อเรื่องอย่างคร่าว ๆ กันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ย้อนอดีตกลับไปอีกครั้งเพื่อศึกษาคุณค่าด้านต่าง ๆ ในโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ไปเรียนรู้คุณค่าของวรรณคดีเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง     คุณค่าด้านเนื้อหา เนื้อหาในตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง กล่าวถึงตอนที่พระสุริโยทัยแต่งตัวเป็นชายแล้วออกไปรบกับกองทัพของพระเจ้าบุเรนอง และตัดสินใจเข้าไปช่วยพระมหาจักรพรรดิหรือพระสวามีในตอนที่กำลังเสียทีให้กับพระเจ้าแปรจนสิ้นพระชนม์คาคอช้าง

comparison of adjectives

Comparison of Adjectives

สวัสดีน้องๆ ม. 1 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเรื่องของ Comparison of Adjectives ซึ่งจะคืออะไรและเอาไปใช้อะไรได้บ้าง เราลองไปดูกันเลยครับ

อิเหนา

อิเหนา จากนิทานปันหยีสู่วรรณคดีเลื่องชื่อของไทย

อิเหนา เป็นวรรณคดีที่ถูกเผยแพร่เข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา น้อง ๆ สงสัยไหมคะว่าจุดเริ่มต้นของนิทานของชาวชวานี้มีจุดเริ่มต้นในไทยอย่างไร เหตุใดถึงถูกประพันธ์ขึ้นเป็นบทละครให้ได้เล่นกันในราชสำนัก ถ้าน้อง ๆ พร้อมหาคำตอบแล้ว เราไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิงกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   อิเหนามีความเป็นมาจากนิทานปันหยี หรือที่เรียกว่า อิเหนาปันหยีรัตปาตี ซึ่งเป็นนิทานที่เล่าแพร่หลายกันมากในชวา เชื่อกันว่าเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ของชวา ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ปรุงแต่งมาจากพงศาวดารชวา อิทธิพลของเรื่องอิเหนาเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา จากการที่เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง

อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง เรียนรู้ตัวบทและคุณค่าในเรื่อง

จากที่ได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเรื่องย่อของอิเหนากันไปแล้ว บทเรียนภาษาไทยในวันนี้เราจะยังอยู่กับอิเหนากันนะคะ เพราะนอกจากที่มาและเรื่องย่อแล้ว วรรณคดีเรื่องนี้ก็ยังมีเรื่องอื่นให้น่าสนใจและน่าศึกษาเช่นกัน ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาตัวบทและคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ในอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง   บทที่ 1    ถอดความ เป็นตอนที่ท้าวกะหมังกุหนิงให้ราชทูตนำสาส์นไปมอบให้ท้าวดาหาเพื่อสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำ โดยบทนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ท้าวกะหมังกุหนิงเขียนถึงท้าวดาหา โดยเปรียบว่าตนเป็นเหมือนรองเท้าที่จะอยู่เคียงกับท้าวดาหา ดังนั้นจึงจะขอสู่ขอพระธิดาให้กับวิหยาสะกำ  

ระดับภาษา เรียนรู้วิธีใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม

ระดับภาษา มีความสำคัญอย่างมากในภาษาไทย น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ก็มีระดับของมันที่จะเป็นตัวบ่งบอกความเหมาะสม ให้เราได้เลือกใช้กันอย่างถูกกาลเทศะ อยากรู้ไหมคะว่ามีกี่ระดับ แต่ละระดับเป็นอย่างไร ต้องใช้แบบไหน ใช้กับใครจึงจะถูก ถ้าพร้อมแล้ว ไปเรียนรู้บทเรียนภาษาไทยในวันนี้กันเลยค่ะ   ความหมายของ ระดับภาษา     ระดับภาษา หมายถึง ความลดหลั่นของถ้อยคำและการเรียบเรียงถ้อยคำที่ใช้โดยพิจารณาตามโอกาสหรือกาลเทศะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เป็นผู้สื่อสาร ผู้รับสาร และเนื้อหาที่สื่อสาร  

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะยกตัวอย่างของโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์โจทย์ การแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล หลังจากอ่านบทความนี้จบน้อง ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละและแก้โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1