Verb To Do ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Verb to do ที่ใช้ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
verb to do

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Present Simple คืออะไร?

คือประโยคที่ใช้บอกเหตุการณ์ในปัจจุบัน ความจริง หรือกิจวัตร เช่น

She wakes up at 6 o’clock every day.

(เธอตื่นเวลาหกโมงเช้าทุกวัน)

The sun rises every morning.

(พระอาทิตย์ขึ้นทุกเช้า)

โดยสิ่งที่ต้องจำของ Tense นี้ก็คือว่า หาก Subject ของประโยคเป็น he, she, it ชื่อคน หรือสิ่งของที่เป็นเอกพจน์ (มีสิ่งเดียว) กริยาที่ตามมาจะต้องเติม -s หรือ -es ด้วย

น้องสามารถดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Present Simple Tense ได้ ที่นี่

 

Verb to do คืออะไร?

ใน Present Simple นั้น Verb to do (do, does) จะทำหน้าที่หลักๆ อยู่ 2 แบบคือ

1) เป็นกริยาแท้ที่แปลว่า “ทำ” ในประโยคบอกเล่า

2) เป็นกริยาช่วยในประโยคคำถามและปฏิเสธ

โดย Verb to do ในประโยค Present Simple นั้นก็จะเติม -es หากประธานเป็นเอกพจน์ตามที่กล่าวไปด้านบน (ออกเสียงว่า does /ด๊าส/)

 

หลักการใช้ Do/Does

1) Do ในประโยคบอกเล่า

ดูที่เป็นกริยาแท้ในประโยคบอกเล่านั้นจะมีความหมายว่าทำ เช่น

I do my homework every evening.

(ฉันทำการบ้านทุกวัน)

 

She does the housework every Saturday.

(เธอทำงานบ้านทุกวันเสาร์)

affirmative

 

2) Do ในประโยคคำถามและปฏิเสธ

เราจะใช้ do/does not ตามด้วยกริยาในรูปปกติ (infinitive) เพื่อแสดงถึงความเป็นประโยคปฏิเสธ โดยมีโครงสร้างดังนี้

verb to do negative

ตัวอย่าง

Mary does not want to go to school.

(แมรี่ไม่อยากไปโรงเรียน)

 

We do not like this movie.

(พวกเราไม่ชอบภาพยนตร์เรื่องนี้)

 

It does not rain this morning.

(เช้านี้ฝนไม่ตก)

negative

 

นอกจากนั้น do/does ยังใช้ในประโยคคำถามที่เป็น Yes/No Question โดยมีโครงสร้างดังนี้

do question

ตัวอย่าง

Do you speak English?

(คุณพูดภาษาอังกฤษไหม?)

สามารถตอบได้ว่า Yes, I do. หรือ No, I do not.

 

Does she live nearby?

(เธออาศัยอยู่ใกล้ๆ นี้หรือเปล่า?)

สามารถตอบได้ว่า Yes, she does. หรือ No, she does not.

 

Do Johnny and Dave study hard?

(จอห์นนี่กับเดฟเรียนหนักหรือเปล่า?)

สามารถตอบได้ว่า Yes, they do. หรือ No, they do not.

negative

 

นี่ก็เป็นการใช้ Verb to do ง่ายๆ ในประโยค Present Simple Tense หวังว่าน้องๆ จะเข้าใจมากขึ้นและหมั่นทบทวนอยู่ตลอดเวลา โดยน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เสียงพยัญชนะ

การออกเสียงพยัญชนะต้นคำและพยัญชนะท้ายคำที่ออกเสียงยากในภาษาอังกฤษ

สวัสดีน้องๆ ม.​ 3 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้การออกเสียงพยัญชนะต่างๆ ที่ขึ้นชื่อว่าออกเสียง “ยาก” ในภาษาอังกฤษ จะมีตัวอะไรกันบ้างนั้นเราไปดูกันเลยครับ

Profile-Have has got P.5

ทบทวนการใช้ ” Have/has got “

สวัสดีค่ะนักเรียนป. 5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปทบทวนการใช้  Have/has got ในภาษาอังกฤษกันค่ะ ซึ่งก่อนอื่นต้อง มาทำความรู้จักกับ Verb to have กันก่อนซึ่ง เจ้า Verb to have ที่เราอาจจะคุ้นหูบ่อยๆ เช่น  Have a wonderful day. ขอให้มีวันที่ดีนะ เมื่อเราต้องการจบบทสนทนา

เรียนรู้และเข้าใจเรื่องคำซ้อนในภาษาไทย

คำซ้อน เป็นหนึ่งในบทเรียนหลักภาษาไทยเรื่องการสร้างคำ น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยสับสนกับวิธีสร้างคำซ้อน ไม่รู้ว่าแบบไหนกันแน่ที่เรียกว่าคำซ้อน เพราะภาษาไทยเรานั้นก็มีคำมากมายเหลือเกิน วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่องคำซ้อนให้มากขึ้น รับรองว่าไม่ยากแน่นอนค่ะ   คำซ้อน     ความหมายของคำซ้อน   คำซ้อน คือ คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ 2 คำ ขึ้นไปมาเรียงต่อกัน โดยคำที่นำมาซ้อนกันจะต้องเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกัน ตรงข้ามกัน หรืออาจมีเสียงที่คล้ายกัน

ดีเทอร์มิแนนต์

ดีเทอร์มิแนนต์ ดีเทอร์มิแนนต์ (Determinant) คือ ค่าของตัวเลขที่สอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส ถ้า A เป็นเมทริกซ์จัตุรัส จะเขียนแทนดีเทอร์มิแนนต์ของ A ด้วย det(A) หรือ โดยทั่วไปการหาค่าดีเทอร์มิแนนต์ที่เจอในข้อสอบจะไม่เกินเมทริกซ์ 3×3 เพราะถ้ามากกว่า 3 แล้ว จะเริ่มมีความยุ่งยาก **ค่าของดีเทอร์มิแนนต์จะเป็นจำนวนจริงและมีเพียงค่าเดียวเท่านั้นที่จะสอดคล้องกับเมทริกซ์จัตุรัส เช่น เมทริกซ์ B ก็จะมีค่าดีเทอร์มิแนนต์เพียงค่าเดียวเท่านั้น**  

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ซึ่งได้กล่าวถึงขั้นตอนและวิธีการหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ และยกตัวอย่างประกอบ อธิบายอย่างละเอียด ซึ่งก่อนจะเรียนเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์น้องๆสามารถทบทวน การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ได้ที่  ⇒⇒ การทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ⇐⇐ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ (probability) คือ  อัตราส่วนระหว่างจำนวนเหตุการณ์ที่สนใจ (n(E)) กับจำนวนแซมเปิลสเปซ (n(S)) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กัน ใช้สัญลักษณ์ “P(E)”  แทนความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์ที่สนใจ โดยที่ 

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1