Verb To Do ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Verb to do ที่ใช้ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
verb to do

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Present Simple คืออะไร?

คือประโยคที่ใช้บอกเหตุการณ์ในปัจจุบัน ความจริง หรือกิจวัตร เช่น

She wakes up at 6 o’clock every day.

(เธอตื่นเวลาหกโมงเช้าทุกวัน)

The sun rises every morning.

(พระอาทิตย์ขึ้นทุกเช้า)

โดยสิ่งที่ต้องจำของ Tense นี้ก็คือว่า หาก Subject ของประโยคเป็น he, she, it ชื่อคน หรือสิ่งของที่เป็นเอกพจน์ (มีสิ่งเดียว) กริยาที่ตามมาจะต้องเติม -s หรือ -es ด้วย

น้องสามารถดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Present Simple Tense ได้ ที่นี่

 

Verb to do คืออะไร?

ใน Present Simple นั้น Verb to do (do, does) จะทำหน้าที่หลักๆ อยู่ 2 แบบคือ

1) เป็นกริยาแท้ที่แปลว่า “ทำ” ในประโยคบอกเล่า

2) เป็นกริยาช่วยในประโยคคำถามและปฏิเสธ

โดย Verb to do ในประโยค Present Simple นั้นก็จะเติม -es หากประธานเป็นเอกพจน์ตามที่กล่าวไปด้านบน (ออกเสียงว่า does /ด๊าส/)

 

หลักการใช้ Do/Does

1) Do ในประโยคบอกเล่า

ดูที่เป็นกริยาแท้ในประโยคบอกเล่านั้นจะมีความหมายว่าทำ เช่น

I do my homework every evening.

(ฉันทำการบ้านทุกวัน)

 

She does the housework every Saturday.

(เธอทำงานบ้านทุกวันเสาร์)

affirmative

 

2) Do ในประโยคคำถามและปฏิเสธ

เราจะใช้ do/does not ตามด้วยกริยาในรูปปกติ (infinitive) เพื่อแสดงถึงความเป็นประโยคปฏิเสธ โดยมีโครงสร้างดังนี้

verb to do negative

ตัวอย่าง

Mary does not want to go to school.

(แมรี่ไม่อยากไปโรงเรียน)

 

We do not like this movie.

(พวกเราไม่ชอบภาพยนตร์เรื่องนี้)

 

It does not rain this morning.

(เช้านี้ฝนไม่ตก)

negative

 

นอกจากนั้น do/does ยังใช้ในประโยคคำถามที่เป็น Yes/No Question โดยมีโครงสร้างดังนี้

do question

ตัวอย่าง

Do you speak English?

(คุณพูดภาษาอังกฤษไหม?)

สามารถตอบได้ว่า Yes, I do. หรือ No, I do not.

 

Does she live nearby?

(เธออาศัยอยู่ใกล้ๆ นี้หรือเปล่า?)

สามารถตอบได้ว่า Yes, she does. หรือ No, she does not.

 

Do Johnny and Dave study hard?

(จอห์นนี่กับเดฟเรียนหนักหรือเปล่า?)

สามารถตอบได้ว่า Yes, they do. หรือ No, they do not.

negative

 

นี่ก็เป็นการใช้ Verb to do ง่ายๆ ในประโยค Present Simple Tense หวังว่าน้องๆ จะเข้าใจมากขึ้นและหมั่นทบทวนอยู่ตลอดเวลา โดยน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลย

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่

การแจกแจงความถี่ของข้อมูล (Frequency distribution)              การแจกแจงความถี่ของข้อมูล  เป็นวิธีการทางสถิติอย่างหนึ่งที่ใช้ในการจัดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อความสะดวกในการนำเสนอและการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้น  มี 2 ลักษณะ คือ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น และ ตารางแจกแจงความถี่แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การสร้างตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น การนำเสนอข้อมูลในรูปตารางแจกแจงความถี่ แบบไม่เป็นอันตรภาคชั้น เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีค่าจาการสังเกตไม่มากนักหรือไม่ซับซ้อน  1.

Direct Object

Direct and Indirect Objects

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่อง Direct และ Indirect Objects กันครับว่าคืออะไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

เรียนรู้การเขียนเชิงวิชาการ อย่างง่ายเพียง 4 ขั้นตอน

การเขียนเชิงวิชาการ อาจจะดูเป็นการเขียนที่ยากในความคิดของหลาย ๆ คน เพราะดันมีคำว่า วิชาการ อยู่ด้วยนั่นเอง แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่าที่จริงแล้วการเขียนเชิงวิชาการนั้นไม่ได้ยุ่งยากและซับซ้อนเลย แถมยังมีวิธีขั้นตอนการเขียนที่ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่ามันจะง่ายขนาดนั้นจริงหรือ? เราไปหาคำตอบของเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนเชิงวิชาการ คืออะไร?   คือ องค์ความรู้เชิงวิชาการที่ได้จากการตกผลึกทางความคิดของผู้เขียนที่ต้องการถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ผ่านกระบวนการเรียบเรียง โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า สำรวจ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1