Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ
past tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Time Expressions

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำที่ใช้บอกเวลาในอดีต หรือ Time Expressions ใน Past Tense กันก่อนนะครับ คำเหล่านี้ได้แก่

Time Expressions in the Past

Meaning

yesterday

เมื่อวานนี้

last …

Ex: last week, last month, last Friday, etc.

เมื่อ … ที่แล้ว

เช่น สัปดาห์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว วันศุกร์ที่แล้ว ฯลฯ

… ago

Ex: two days ago, three weeks ago, etc.

เมื่อ … ก่อน

เช่น สองวันก่อน สามสัปดาห์ก่อน ฯลฯ

โดยคำเหล่านี้จะมีหรือไม่มีในประโยคก็ได้ แต่หากเราต้องการเน้นและบ่งบอกเวลาที่ชัดเจนเราจึงจะนำคำเหล่านี้มาใช้ในประโยคนั่นเองครับ

 

Past Tense ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

ในภาษาอังกฤษเราจะใช้ Past Tense ในการพูดถึงเรื่องในอดีต หรือเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วอย่างสมบูรณ์ หรือเวลาที่น้องๆ เล่าเรื่อง หรือเล่านิทานก็สามารถใช้ Tense นี้ในการเล่าได้เช่นกัน และจากหัวข้อเรื่อง Time Expressions ด้านบนนั้นโดยส่วนมากเราจะใช้คำเหล่านี้ วางไว้ข้างหลังประโยคครับ เราลองมาดูรูปแบบประโยคแบบต่างๆ กันดีกว่าครับ

 

ประโยคบอกเล่า

กริยาที่ใช้ในประโยคที่พูดถึงอดีต นั้นจะเป็นกริยาช่องที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเติม -ed และถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้ was และ were นั่นเองครับ (อย่าลืมทบทวนกริยา 3 ช่องกันด้วยนะครับ)

ตัวอย่าง

I went to Phuket last week.

(ฉันไปภูเก็ตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)

John played football yesterday.

(จอห์นเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้)

He visited his grandparents last month.

(เขาไปเยี่ยมคุณปู่คุณย่าของเขาเมื่อเดือนที่แล้ว)

past tense

 

ประโยคปฏิเสธ

ในประโยคปฏิเสธแบบอดีตนั้นเราจะใช้ did not หรือ didn’t เขามาช่วยตามหลังประธานและตามด้วยกริยาไม่ผัน (Infinitive) ครับ

ตัวอย่าง

I didn’t go to school last Monday.

(ฉันไม่ได้ไปโรงเรียนเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว)

Maria didn’t pass the exam last semester.

(มาเรียสอบไม่ผ่านเมื่อเทอมที่แล้ว)

Jake didn’t want to play basketball two weeks ago.

(เจคไม่อยากเล่นฟุตบอลเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว)

past negative

 

นี่ก็เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับ Past Tense ที่มี Time Expressions แบบเข้าใจง่ายๆ ที่น้องสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยครับ และน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมจากช่อง NockAcademy ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ม.1 There is_There are ทั้งประโยคบอกเล่า_ คำถาม_ปฏิเสธ

การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ม.1 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ “การใช้ There is/There are ทั้งประโยคบอกเล่า/คำถาม/ปฏิเสธ” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ ตารางแสดงความแตกต่างของ  There is/There are และ  Have/Has นักเรียนลองสังเกตดูความแตกต่างของการใช้ There is/There are กับ Have/has จากตารางด้านล่าง ดูนะคะ

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด

จำนวนสมาชิกของเซตจำกัด เป็นเรื่องที่สามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และสิ่งที่น้องๆจะได้หลังจากอ่านบทความนี้คือ น้องๆจะสามารถทำโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกของเซตจำกัดได้ และอาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

บทความนี้น้องๆจะได้เรียนรู้กี่ยวกับการพิสูจน์ที่ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก กำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉากเท่ากับผลรวมของกำลังสองของอีกสองด้านที่เหลือในแง่ของพื้นที่

Suggesting Profile

การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม. 3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิค การแสดงความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ต่างๆ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า การแสดงความต้องการ     Question: สงสัยมั้ยว่า need/want /would like to have สามคำนี้ต่างกันยังไง? ตัวอย่างการใช้ need VS want  ในประโยคบอกเล่า เช่น

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ถอดความหมายพร้อมเรียนรู้คุณค่าในเรื่อง

ศิลาจารึกหลักที่ 1มีความเป็นมาอย่างไร น้อง ๆ ก็คงจะได้เรียนรู้กันไปแล้ว วันนี้เรื่องที่เราจะมาศึกษากันต่อก็คือเนื้อหาเด่น ๆ ที่น่าสนใจและคุณค่าที่อยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กันค่ะ ไปดูพร้อมๆ กันเลยว่าในศิลาจารึกจะบันทึกเรื่องเล่าอะไรไว้บ้าง และมีคุณค่าด้านใด   ศิลาจารึกหลักที่ 1 : ตัวบทที่น่าสนใจ       พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง ตูมีพี่น้องท้องเดียวห้าคน

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1