Future Continuous Tense การกล่าวถึงสิ่งที่กำลังทำในอนาคต

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนเกี่ยวกับ Tense หนึ่งในภาษาอังกฤษนั่นคือ Future Continuous Tense ครับ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย
future continuous

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Future Continuous Tense

Future Continuous Tense หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Future Progressive แปลตามก็ตัวก็ง่ายๆ เลยครับว่าคือสิ่งที่กำลังทำในอนาคต Tense นี้จะใช้บอกสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตเหมือน Future Simple Tense แต่จะระบุว่าสิ่งที่ทำนั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยครับ ซึ่งโครงสร้างก็ Tense นี้ก็คือ

future continuous structure

 

ตัวอย่างประโยคและการใช้งาน

ในโครงสร้างนี้นั้นมักจะมี “ตัวบอกเวลา” ในประโยคเพื่อเจาะจงช่วงเวลาในอนาคตที่เรากำลังทำกริยานั้นๆ ลองดูประโยคนี้ครับ

At five o’clock tomorrow, I will be having dinner with my family.
(เวลาห้าโมงเย็นพรุ่งนี้ ฉันจะกำลังรับประทานอาหารเย็นกับครอบครัว)

Will be having คือโครงสร้างของ Future Progressive กริยาที่ใช้ก็คือ to have (รับประทาน) แสดงให้เห็นการกระทำที่ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งในอนาคต (กำลังรับประทานอาหารนั่นเองครับ)

future progressive example

 

ตัวอย่างอื่นๆ

Jane will be working for her project tomorrow night.
(เจนจะกำลังทำโปรเจ็คของเธอในคืนวันพรุ่งนี้)

Kim will be watching a football match on Friday.
(คิมจะกำลังดูฟุตบอลวันศุกร์นี้)

At midnight, she will be going to the airport.
(ในเวลาเที่ยงคืน เธอจะกำลังไปที่สนามบิน)

future cont example

 

ข้อควรจำ

กริยาที่ใช้ในโครงสร้างนี้จะต้องเป็น Action Verbs เท่านั้น กล่าวอย่างง่ายคือต้องเป็นกริยาที่สามารถแสดงการกระทำที่ต่อเนื่องได้ เช่น

 

After I read the book, I will be knowing all the answers for tomorrow’s test.
(หลังจากฉันอ่านหนังสือ ฉันจะกำลังรู้คำตอบของข้อสอบวันพรุ่งนี้ทั้งหมด)

ประโยคด้านบนนั้นผิดหลักไวยากรณ์เพราะคำว่า know นั้นไม่สามารถแสดงอาการอย่างต่อเนื่องได้ (รู้ก็คือรู้เลย ไม่สามารถ “กำลังรู้” ได้) ฉะนั้นต้องแก้เป็น Future Simple ธรรมดา

After I read the book, I will know all the answers for tomorrow’s test.
(หลังจากฉันอ่านหนังสือ ฉันจะรู้คำตอบของข้อสอบวันพรุ่งนี้ทั้งหมด)

 

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Future Continuous หรือ Future Progressive ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ แต่ถ้าน้องๆ คนไหนอยากทบทวนเพิ่มเติมก็สามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ได้ด้านล่างเลยครับ ไว้เจอกันใหม่ครับผม

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

จำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ

ในบทความนี้เราจะได้รู้จักความหมายของจำนวนตรรกยะ และการเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยมหรือทศนิยมเป็นเศษส่วน

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

ความสัมพันธ์ที่ “รู้จักฉัน รู้จักเธอ” ของเศษส่วนและทศนิยม

เศษส่วนและทศนิยมมีความสัมพันธ์กันคือสามารถเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมหรือเขียนทศนิยมให้อยู่ในรูปของเศษส่วนได้โดยค่าของเศษส่วน และทศนิยมนั้นจะมีค่าเท่ากัน บทความนี้จะอธิบายหลักการความสัมพันธ์ของเศษส่วนและทศนิยมพร้อมวิธีคิดที่เห็นภาพ ดังนั้นสิ่งที่น้อง ๆจะได้รับจากบทความนี้ คือการเปลี่ยนเศษส่วนให้เป็นทศนิยมและการเปลี่ยนทศนิยมให้เป็นเศษส่วนแล้วยังมีเทคนิคการสังเกตง่ายๆที่จะสามารถทำให้เราทำได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ

ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง ความน่าจะเป็นกับการตัดสินใจ สำหรับบางเหตุการณ์ความรู้เรื่องความน่าจะเป็นเพียงอย่างเดียว  อาจไม่เพียงพอที่จะช่วยตัดสินใจได้  จำเป็นจะต้องหาองค์ประกอบอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย  นั่นคือผลตอบแทนของการเกิดเหตุการณ์นั้น ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ ⇐⇐ ผลตอบแทนของเหตุการณ์อาจหมายถึง ผลตอบแทนที่ได้หรือผลตอบแทนที่เสีย  เช่น  ในการเล่นแทงหัวก้อย  ถ้าออกหัว พีชจะได้เงิน 2 บาท และถ้าออกก้อย พอลจะต้องเสียเงิน 3 บาท เงิน 2 บาทที่พอลจะได้รับเป็นผลตอบแทนที่ได้ 

NokAcademy_ ม5 Passive Modals

Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals“ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยเด้อ   Passive Modals คืออะไร   Passive Modals หรือ Modal Verbs in the Passive Voice คือ 

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์

ตัวผกผันของความสัมพันธ์ ตัวผกผันของความสัมพันธ์ r คือความสัมพันธ์ใหม่ที่เกิดจากการสลับตำแหน่งของสมาชิกตัวหน้ากับสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย   ซึ่ง = {(y, x) : (x, y ) ∈ r} เช่น r = {(1, 2), (3, 4), (5,

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1