ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนเรื่อง ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time Expressions ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

มาเริ่มกับ Past Tenses

ปฏิเสธ

 

 

การพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดในอดีตนั้นสามารถพูดได้หลายรูปแบบ แต่จะพูดอย่างไรให้สอดคล้องกับบริบทนั้นย่อมสำคัญเช่นกัน และก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักก่อนว่า การเล่าถึงเหตุการณ์ในอดีตนั้นเราสามารถเล่าได้หลายแบบ ครูจะขอยกตัวอย่างจากสถานการณ์การใช้ไปหาโครงสร้างและคำศัพท์ที่จำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจความสำคัญของ Tense นั้นๆ ร่วมกับเทคนิค “Situational usage” บทสนทนาที่ใช้ ใน Past Tenses ทั้งสี่รูปแบบของประโยคปฏิเสธ ไปลุยกันเลยเด้อ

 

Time Expressions ในประโยคปฏิเสธ

 

ประโยคปฏิเสธ

 

 

 

อดีตกาล
(Past Tenses)
การใช้
(
Usage)
โครงสร้าง
(
Structure)
คำกำกับเวลา

 

1) Past Simple Tense ใช้กับเหตุการณ์ที่เราทำในอดีตย้ำว่า

เกิดขึ้นและจบลงไปแล้ว

 

ปฏิเสธ:

“Subject + did not + v.inf…”

 

Ex:

You did not go home last week.

คุณไม่ได้กลับบ้านสัปดาห์ที่แล้ว

เวลาในอดีต 1990

3 days ago  (สามวันที่แล้ว)
last  month (เดือนที่แล้ว)
yesterday (เมื่อวานนี้)
in 1997 (ในปี ค.ศ. 1997 ที่เป็นอดีตมาแล้ว)

2. Past Continuous  

โครงสร้างประโยคปฏิเสธ:

Subject + was, were + “not” (wasn’t, weren’t) + V.ing…

Ex: 

Sophia did not like durian.
แปล โซเฟียไม่ชอบทุเรียน

 

 at the moment in the past
(ณ ขณะหนึ่งในอดีต)specific time in the past
(จุดๆหนึ่งที่เฉพาะเจาะจงในอดีต)
3. Past Perfect  

ปฏิเสธ:

Subject + had not(hadn’t)+v.3

Ex:

The refugee hadn’t had breakfast since yesterday.
แปล ผู้อพยพยังไม่ได้ทานอาหารเช้าตั้งแต่เมื่อวานนี้

 

Previously (ก่อนหน้านี้)
just (พึ่งจะ)Before (ก่อน)
Recently (ไม่นานมานี้)Since (ตั้งแต่) + จุดๆหนึ่งของเวลาFor (เป็นเวลา) + ช่วงเวลาTill or until (จนกระทั่ง)
4. Past Perfect Continuous   ปฏิเสธ:

Ex.

I hadn’t been studying hard like before.
ฉันไม่ได้ขยันเรียนเหมือนแต่ก่อนเลย

 

 Past Simple Tense

 

สรุปโครงสร้างประโยคปฎิเสธ:  Subject + did + not (didn’t)+ V.inf…

เช่น I did not go to school yesterday. แปลว่า ฉันไม่ได้ไปโรงเรียนเมื่อวานนี้

ปฏิเสธ5


โครงสร้างประโยคบอกเล่า: Subject + Verb 2 หรือ Verb เติม ed
ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและจบลงในอดีต มักมีคำหรือกลุ่มคำของอดีตมากำกับเช่น yesterday, ago, last year, last month, last time

 

Situation: Rosie went to school late. โรซี่ไปโรงเรียนสาย

Dan: Why did you go to school late yesterday Rosie?
(ทำไมเมื่อวานโรซี่ไปโรงเรียนสายเหรอ)
Rosie: I was at the garage.(ฉันไปอู่ซ่อมรถมาน่ะ)
Dan: What happened? (เป็นอะไรหรือเปล่า)
Rosie: My motorbike didn’t work yesterday.
(รถมอเตอร์ไซ์ฉันพังเมื่อวานนี้)

จะสังเกตได้ว่า  yesterday (เมื่อวานนี้) คือคำบอกเวลาในอีต ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้ว

 

Past Continuous Tense

โครงสร้างประโยคปฎิเสธ: Subject + was, were + “not” (wasn’t, weren’t) + V.ing…

เช่น

Danniel was not paying attention to the class while a teacher was teaching.
แดเนียลไม่ตั้งใจเรียนขณะที่ครูกำลังสอนอยู่

ปฏิเสธ3

 

โครงสร้างประโยคบอกเล่า: Subject + was, were + V.ing…
เช่น

She was writing her diary while I was playing games.
เธอกำลังเขียนไดอารี่อยู่ขณะที่ฉันกำลังเล่นเกม

สรุปหลักการใช้ Past Continuous:

1) ใช้ร่วมกับ Past Simple Tense เมื่อมีเหตุการณ์ หรือการกระทำ 2 อย่างเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในอดีต

  • Past Simple Tense ใช้กับเหตุการณ์สั้นๆ ที่เกิดขึ้นทีหลัง
  • Past Continuous Tense ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน  และ กำลังดำเนินอยู่ ณ ขณะนั้น

Situation: While Dazy was watching a Netflix, her mom arrived at the door.
Mom: Knock knock! Dazy, could you open the door? (ก้อกๆ เดซี่เปิดประตูให้แม่หน่อย)
Mom: (Complaining) why wasn’t she openning the door?  (แม่บ่น…ทำไมเธอถึงไม่เปิดประตู)
Dazy: Wait mom, I wasn’t ready mom. (รอก่อนนะแม่ หนูยังไม่พร้อม)

 

2) อย่างที่กำลังดำเนินอยู่ในอดีตในเวลาเดียวกัน

Situation: Venus was playing her mobile phone, while her teaching was teaching.

Ohm: What were you doing Venus while your teacher was teaching?
(วีนัส เธอทำอะไรอยู่ตอนที่ครูกำลังสอน)
Venus: Um…I was playing on my mobile phone. (เอิ่ม ฉันเล่นโทรศัพท์อยู่นะ)
Ohm: No wonder why teacher was very mad at you. (ไม่น่าล่ะ ครูโกรธใหญ่เลย)

 

 

Past Perfect Tense

 

โครงสร้างประโยคปฏิเสธ: Subject + had not (hadn’t) + V.3 (Past Participle)…

 

ปฏิเสธในอดีต

 

ทวนโครงสร้างประโยคบอกเล่า ในโครงสร้าง Subject + had + Past participle (V.3)
ใช้กับเหตุการณ์ หรือการกระทำ 2 อย่างที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดแล้วลงในอดีต

  • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนให้ใช้ Past Perfect Tense
  • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทีหลังให้ใช้ Past Simple Tense

Situation: Unlce Roger is talking to his grandmother, Mali

Uncle Roger: Had you been to the USA in 90s?
(คุณเคยไปประเทศสหรัฐอเมริกาในยุค90มั้ย)
Granny Mali:
Nope, I hadn’t been to the USA during that time.
(ฉันไม่เคยไปอเมริกาในยุค 90 เลย)
Granny Mali: I had been to Italy, Sweden, Denmark, and Singapore.
(ฉันเคยไปประเทศอิตาลี สวีเดน เดนมาร์ก และสิงคโปร์)

 

 

Past Perfect Continuous Tense

โครงสร้างประโยคปฏิเสธ: Subject + had not (hadn’t) + been +V.ing

 

ปฏิเสธ02

 

ทบทวนโครงสร้างประโยคบอกเล่า: Subject + had + been + V. ing

 

Past Perfect Continuous Tense  จะเน้นความต่อเนื่องของเหตุการณ์
หรือการกระทำได้ดีกว่า Past Perfect Tense

 

Situation: Interviewing Mark Zuckerberg, the co-founder of Facebook

Interviewer: What’s your secret of becoming so “successful”?

= ความลับที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จคืออะไร

Mark Zuckerberg: I had been working hard on my dream.
= ผมทำงานหนักเพื่อความฝันของผม (อย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน หรือพักเลย)


Interviewer: Why had you been working hard like that?
= ทำไมคุณถึงทำงานหนักแบบนั้น

Mark Zuckerberg: Because I hadn’t been living in a good life-quality like today.
= เพราะว่าเมื่อก่อนผมไม่ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแบบทุกวันนี้

 

ขอให้สนุกกับการทบทวนบทเรียนกันนะคะ อย่าลืมทบทวนบทเรียนเรื่อง Past Simple Tense กับวีดีโอด้านล่างนะคะ ซึ่งทั้งอัลบั้มนี้มีให้ทบทวนบทเรียนเกือบทุกเรื่องในภาษาอังกฤษบนยูทูปฟรีๆ เลยจร้า กดดูวีดีโอทบทวนสนุกๆได้ที่ด้านล่างเลยเด้อ

Have a good day! ขอให้มีวันที่ดีค่า
See you next time! แล้วเจอกันค่า

 

 

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

สวัสดีค่ะนักเรียนป.6 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ ไปลุยกันเลย   การถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English   การถามทิศทางจะต้องมีประโยคเกริ่นก่อนเพื่อให้คนที่เราถาม ตั้งตัวได้ว่า กำลังจะโดนถามอะไร ยังไง ซึ่งเราสามารถถามได้ทั้ง คำถามแบบสุภาพเมื่อพูดกับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ คำถามทั่วไปเมื่อพูดกับคนใกล้ตัว  

ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอน นารายณ์ปราบนนทก

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนาน น้อง ๆ หลายคนก็คงจะรู้จักและเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ แต่ทราบไหมคะว่าวรรณคดีเรื่องนี้มีที่มาอย่างไร และทำไมถึงมาเป็นบทละคร มีความสำคัญอย่างไรจึงมาอยู่ในบทเรียนวิชาภาษาไทย เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ความเป็นมาของบทละครเรื่องรามเกียรติ์     รามเกียรติ์ เป็นวรรณคดีที่ได้รับอิทธิพลและมีเค้าโครงเรื่องมาจากมหากาพย์รามายณะที่ฤๅษีวาลมีกิ ชาวอินเดียเป็นคนแต่งขึ้นเป็นภาษาสันสกฤต แม้จะไม่ปรากฏปีที่วรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้ามาเผยแผ่ในไทยอย่างแน่ชัด แต่ด้วยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ทำให้นักวิชาการคาดการณ์ว่าเป็นช่วงสมัยอยุธยา และในสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินได้ทรงประพันธ์เพื่อให้ละครหลวงเล่น ก่อนที่ต่อมาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่

คติธรรมในสำนวนไทย

คติธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นแบบอย่าง เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิตซึ่งได้มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมทางจิตใจอย่างหนึ่งที่คนไทยให้ความสำคัญอย่างมากและมักจะถูกสอดแทรกอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อปลูกฝังเด็กรุ่นใหม่ให้มีคติธรรมประจำใจ ไม่ว่าจะเป็นนิทานหรือสำนวนไทย สำหรับบทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง คติธรรมในสำนวนไทย มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้าง   สำนวนที่เกี่ยวกับคติธรรม   สำนวนไทยถือเป็นภูมิปัญญาในการใช้ภาษาไทยอีกรูปแบบหนึ่ง เป็นถ้อยคำที่มิได้มีความหมายตรงไปตรงมาตามตัวอักษร หรือแปลตามรากศัพท์ แต่เป็นถ้อยคำที่มีความหมายเป็นอย่างอื่น ชวนให้ผู้อ่านได้คิด มีรูปแบบการใช้ภาษาที่ต้องผ่านการเรียบเรียงถ้อยคำ การรวมข้อความยาว ๆ ให้สั้น โดยนำถ้อยคำเพียงไม่กี่คำมาเรียงร้อย

เลขยกกำลัง

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะมีความเกี่ยวข้องกับกรณฑ์ในบทความ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จากที่เรารู้ว่า จำนวนตรรกยะคือจำนวนที่สามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มได้ เช่น , , , 2 , 3 เป็นต้น ดังนั้นเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ก็คือจำนวนจริงใดๆยกกำลังด้วยจำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม เช่น , เป็นต้น โดยนิยามของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ คือ เมื่อ k และ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1