Past Tense ที่มี Time Expressions

สวัสดีน้องๆ ม. 2 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Past Tense และ Time Expressions ในประโยคดังกล่าว ถ้าพร้อมแล้วเราไปเริ่มกันเลยครับ
past tense

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Time Expressions

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคำที่ใช้บอกเวลาในอดีต หรือ Time Expressions ใน Past Tense กันก่อนนะครับ คำเหล่านี้ได้แก่

Time Expressions in the Past

Meaning

yesterday

เมื่อวานนี้

last …

Ex: last week, last month, last Friday, etc.

เมื่อ … ที่แล้ว

เช่น สัปดาห์ที่แล้ว เดือนที่แล้ว วันศุกร์ที่แล้ว ฯลฯ

… ago

Ex: two days ago, three weeks ago, etc.

เมื่อ … ก่อน

เช่น สองวันก่อน สามสัปดาห์ก่อน ฯลฯ

โดยคำเหล่านี้จะมีหรือไม่มีในประโยคก็ได้ แต่หากเราต้องการเน้นและบ่งบอกเวลาที่ชัดเจนเราจึงจะนำคำเหล่านี้มาใช้ในประโยคนั่นเองครับ

 

Past Tense ในประโยคบอกเล่าและปฏิเสธ

ในภาษาอังกฤษเราจะใช้ Past Tense ในการพูดถึงเรื่องในอดีต หรือเหตุการณ์ที่จบลงไปแล้วอย่างสมบูรณ์ หรือเวลาที่น้องๆ เล่าเรื่อง หรือเล่านิทานก็สามารถใช้ Tense นี้ในการเล่าได้เช่นกัน และจากหัวข้อเรื่อง Time Expressions ด้านบนนั้นโดยส่วนมากเราจะใช้คำเหล่านี้ วางไว้ข้างหลังประโยคครับ เราลองมาดูรูปแบบประโยคแบบต่างๆ กันดีกว่าครับ

 

ประโยคบอกเล่า

กริยาที่ใช้ในประโยคที่พูดถึงอดีต นั้นจะเป็นกริยาช่องที่ 2 ซึ่งส่วนใหญ่จะเติม -ed และถ้าเป็น Verb to be ก็จะใช้ was และ were นั่นเองครับ (อย่าลืมทบทวนกริยา 3 ช่องกันด้วยนะครับ)

ตัวอย่าง

I went to Phuket last week.

(ฉันไปภูเก็ตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว)

John played football yesterday.

(จอห์นเล่นฟุตบอลเมื่อวานนี้)

He visited his grandparents last month.

(เขาไปเยี่ยมคุณปู่คุณย่าของเขาเมื่อเดือนที่แล้ว)

past tense

 

ประโยคปฏิเสธ

ในประโยคปฏิเสธแบบอดีตนั้นเราจะใช้ did not หรือ didn’t เขามาช่วยตามหลังประธานและตามด้วยกริยาไม่ผัน (Infinitive) ครับ

ตัวอย่าง

I didn’t go to school last Monday.

(ฉันไม่ได้ไปโรงเรียนเมื่อวันจันทร์ที่แล้ว)

Maria didn’t pass the exam last semester.

(มาเรียสอบไม่ผ่านเมื่อเทอมที่แล้ว)

Jake didn’t want to play basketball two weeks ago.

(เจคไม่อยากเล่นฟุตบอลเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว)

past negative

 

นี่ก็เป็นพื้นฐานเกี่ยวกับ Past Tense ที่มี Time Expressions แบบเข้าใจง่ายๆ ที่น้องสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยครับ และน้องๆ สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมจากช่อง NockAcademy ได้ด้านล่างนี้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

การสะท้อน

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ภาพที่ได้จากการสะท้อน ( Reflection ) ไปตามแนวแกนต่างๆ หวังว่าน้องๆ จะสามารถนำความรู้ที่ได้จากบทความนี้ ไปประยุกต์ใช้ในห้องเรียนและในชีวิตประจำวันได้อย่างแท้จริง

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

M6 Phrasal Verbs

Phrasal Verbs 

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่รักทุกคนวันนี้เราจะไปเรียนรู้กันเรื่อง “Phrasal Verbs“ กันนะคะ ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด   ความหมาย Phrasal Verbs  Phrasal Verbs คือ คำกริยา โดยเป็นกริยาที่มีคำอื่นๆ อย่างเช่น คำบุพบท (Preposition) ร่วมกันส่วนใหญ่แล้ว Phrasal Verbs จะบอกถึงการกระทำ มักจะเจอในชีวิตประจำวันในสถานการณ์ทั่วไป ไม่เป็นทางการมาก ข้อดีคือจะทำให้ภาษาใกล้เคียงกับเจ้าของภาษามากขึ้นนั่นเองจ้า

โวหารภาพพจน์ กลวิธีการสร้างจินตภาพที่ลึกซึ้งและสวยงาม

การสร้างจินตภาพอย่างการใช้ โวหารภาพพจน์ เป็นกลวิธีในการใช้ภาษาอีกอย่างหนึ่ง เลือกใช้ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ หรืออาจเรียกว่าเป็นการแทนภาพนั่นเอง น้อง ๆ คงจะพบเรื่องของโวหารภาพพจน์ได้บ่อย ๆ เวลาเรียนเรื่องวรรณคดี บทเรียนในวันนี้เลยจะพาไปทำความรู้จักกับภาพพจน์ต่าง ๆ ให้มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความหมายของภาพพจน์     ภาพพจน์ คือถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นภาพ ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด เป็นกลวิธีทางภาษาที่มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจจินตนาการ เน้นให้เกิดอรรถรสและสุนทรีย์ในการสื่อสารที่ลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าแบบตรงไปตรงมา  

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1