เทคนิคการใช้ Yes, No Questions ในภาษาอังกฤษ

เทคนิคการใช้ Yes, No Questions M.1

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.  1 ที่น่ารักทุกคนวันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการอย่างง่ายในการใช้ประโยค Yes/No questions กันค่ะไปลุยกันเลยค่า

Yes, No Questions คืออะไร

meaning of yes no question

คือ ประโยคคำถามที่ต้องการคำตอบรับ (Yes) หรือปฏิเสธ (No) เป็นการถามที่ผู้ถามอาจจะมีข้อมูลอยู่บ้างว่า ว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ หรือผู้ถามอาจจะถามเพื่อให้มั่นใจว่าเป็นจริงตามที่เข้าใจหรือเปล่า ในที่นี้ครูจึงแยกออกเป็น 3 ชนิดค่ะ คือ ประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Verb to do, Verb to be, และ Helping verb

yes-no questions usages

เทคนิคการใช้ 3 ข้อ

 

1) เราจะใช้ Do เมื่อ  ประธานเป็นพหูพจน์ซึ่งรวม ประธาน I, You  และประโยคเดิมเป็น Present Simple Tense
2) เราจะใช้ Does เมื่อ ประธานเป็นเอกพจน์ ยกเว้น ประธาน I, You และประโยคเดิมเป็น Present Simple Tense เมื่อเกิดการสลับที่แล้ว กริยาที่จากเดิมมี s, es ให้ตัดทิ้งซะ
3) ใช้ Did เมื่อประโยคเดิมเป็น Past Simple Tense จากนั้นสลับที่แล้ว กริยาจะเปลี่ยนเป็น กริยาช่องที่ 1 ไม่ผันหรือเราเรียกว่า Verb infinitive เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเราผันกริยาที่ Did ไปแล้ว ซึ่งผันกริยาหลักในประโยคได้แค่ตัวเดียวและครั้งเดียวนั่นเองค่า

 

ตัวอย่างสถานการณ์

จากที่ครูได้เกริ่นไปข้างต้นว่าเราจะเจอ Yes, No Questions  ในประโยคคำถามที่ขึ้นต้นด้วย Verb to do, Verb to be, และ Helping verb แต่นักเรียนหลายคนยังอาจจะไม่ค่อยเห็นภาพ ไปดูสถานการณ์ตัวอย่างกันค่ะ

yes-no questions usages

สถานการณ์ที่1: น้องพลอยเดินไปโรงเรียนทุกๆวัน เมื่อต้องใช้ Verb to do

Ploy walks to school every day.
Ploy ทำหน้าที่ ประธานหลัก (Main subject)
drinks ทำหน้าที่ กริยาหลัก (Main verb)

และอันดับแรกเลย Ploy มีคนเดียวสังเกตที่หลัง Ploy ไม่มี s น้องเหงา เพราะเป็นประธานเอกพจน์ (ตัวเดียวอันเดียวสิ่งเดียว) เพราะฉะนั้นจะต้องเติม s ที่หลังกริยา walks ตามกฎข้อที่ 2 ที่กริยาหลักจะต้องเติม s ใน Present Simple Tense ตามกฎข้อ 3 ในเมื่อประโยคไม่มีกริยาช่วยหรือ V. to be มาให้จึงจำเป็นต้องเลือกใส่ Does แทน เพราะว่าใช้กับ ประธานเอกพจน์ ใน Present Simple Tense จากนั้นให้ตัด s ออกจาก กริยาหลัก (walk) เพราะมี Does อยู่แล้วค่า
จะได้ประโยค Yes/No Question: Does Ploy walk to school every day?
คำอ่าน: ดาส พลอย วอคคฺ ทู สกูล เอ้ฝฝริเดย์
แปล: พลอยเดินไปโรงเรียนทุกวันเลยเหรอ
คำตอบก็จะเป็น Yes, she walks to school every day. หรือ Yes เฉยๆก็ได้ค่ะ
หรือในอีกแง่หนึ่งพลอยไม่ได้เดินไปโรงเรียนทุกวัน ก็สามารถตอบว่า No ได้นั่นเองค่า

yes-no questions usages

 สถานการณ์ที่2: โนนะเป็นลูกของกัปตัน กับ การใช้ Verb to be

Nona is Captain’s daughter
Nona = ประธานหลักของประโยค
is = กริยาช่วยในกลุ่ม Verb to be
วิเคราะห์ตามโครงสร้างประโยค
อันดับแรกเลย Nona มีคนเดียว สังเกตที่หลัง Nonaไม่มี s น้องเหงา เพราะเป็นประธานเอกพจน์ (ตัวเดียวอันเดียวสิ่งเดียว)

เพราะฉะนั้นจะต้องใช้ is
จะได้ Yes, No Question: Is  Nona Captain’s daughter?
คำอ่าน: อิส โนนะ แค้ปเทน สึ ด๊อเทอร์
คำแปล: โนนะเป็นลูกของกัปตันจริงๆใช่มั้ย (ถามเพราะสงสัย)

yes-no questions usages

สถานการณ์ที่3: น้องนกสามารถร้องเพลงได้ กับตัวอย่างการใช้ Helping verb “can”

ตัวอย่างประโยค: Nok can sing a song.

Nok = ประธานหลัก (Main subject)
can = กริยาช่วย (Helping verb)
sing = กริยาหลัก (Main verb)

เมื่อในประโยคมีกริยาช่วยอยู่แล้ว สลับตามโครงสร้างได้เลยค่าทุกคน
ตามโครงสร้างของเรา กริยาช่วย +ประธานหลัก + กริยาหลัก เราจะได้ประโยค Yes, No Question: Can Nok sing a song?
ดังนั้นคำตอบก็จะเป็น Yes, she can sing a song. หรือ Yes เฉยๆก็ได้ค่ะ หรือในอีกแง่หนึ่งพลอยไม่ได้เดินไปโรงเรียนทุกวัน ก็สามารถตอบว่า No, she cannot sing a song. หรือ No, she can’t sing a song. หรือจะตอบว่า No เฉยๆ ก็ยังได้เลยนั่นเองค่า

 คำถามแบบสุภาพ

และเมื่อเราต้องการถามคำถามแบบสุภาพสามารถใช้ชุดประโยคเหล่านี้ได้เลยค่ะ ส่วนใหญ่แล้วประโยคจะขึ้นต้นด้วย May, Could, Can เรียงตามลำดับความสุภาพเลยค่ะ

  • ขออนุญาตใช้โครงสร้าง: May + ประธานหลัก + กริยาหลัก….+please  เช่น
    May you send me an email please?
    May I borrow your book please?
  • การใช้ could ในโครงสร้างคำถามขอร้อง Could + you+กริยาหลัก….+please? เช่น
    Could you tell me your name please?
  • การใช้ Can จะฟังดูสุภาพแต่จะเบากว่าการใช้ could ในโครงสร้างประโยคคำถามขอร้อง Can + you + กริยาหลักช่องที่ 1 ไม่ผัน (Verb infinitive
    Can you stop walking please?

ทั้งสามชุดประโยคแบบสุภาพนี้เป็นเพียงตัวอย่างการใช้งานนะคะ นักเรียนจะต้องนำไปลองใช้ดูตามบริบทจริงเพื่อฝึกภาษาอังกฤษของเราให้ดีขึ้นและเป็นธรรมชาติมากขึ้นค่ะ ครูเอาใจช่วยนะคะ ต่อจากนี้ก็ไปลุยกันต่อกับแบบฝึกหัดได้เลย

 

แบบฝึกหัด

1. My parents may sleep early tonight.
คำถาม Yes, No Question: ______________________________

  1. Guy goes to school every day..
    คำถาม Yes, No Question: ______________________________
  2. Lee Min Ho will come to Thailand next year.
    คำถาม Yes, No Question: ______________________________
  3. A tiger lives in the forest.
    คำถาม Yes, No Question: ______________________________
  4. Liza is going to the concert tomorrow.
    คำถาม Yes, No Question: ______________________________
  5. Jenny is Liza’s best friend.
    คำถาม Yes, No Question: ______________________________
  6. Nui’s braces are pink.
    คำถาม: ______________________________
  7. She wants to eat banana.
    คำถาม: ______________________________
  8. Tina needs to go to the toilet.
    คำถาม: ______________________________
  9. I should get up early.
    คำถาม: ______________________________

 

เฉลย

มาทำแบบฝึกหัดทั้ง 10 ข้อกันค่ะ อย่าพึ่งเปิดดูเฉลยนะคะ

  1. คำถาม Yes, No Question: May your parents sleep early tonight?
    my = สรรพนาม ที่แปลว่าของฉันจะเปลี่ยนเป็นคำถามต้องใช้ your ของเธอ
    parents = ประธานพหูพจน์หลัก
    may = กริยาช่วย
    sleep= กริยาหลัก
  2. คำถาม Yes, No Question: Does Guy go to school every day?
    Guy = ประธานพหูพจน์หลัก
    เพิ่ม Does เข้ามาเป็นกริยาช่วย
    go = กริยาหลัก ตัด es ทิ้งเพราะ Does ได้เติม es แล้ว (Do+es)
  3. คำถาม Yes, No Question: Will Lee Min Ho come to Thailand next year?
    Lee Min Ho = ประธานหลัก
    will= กริยาช่วย
    come= กริยาหลัก
  4. คำถาม Yes, No Question: Does a tiger live in the forest?
    A tiger = ประธานเอกพจน์
    Does = กริยาช่วยประเภท Verb to do
    live = กริยาหลักไม่ต้องเติม s เพราะ Does เติมแล้ว
  1. คำถาม Yes, No Question: Is Liza going to the concert tomorrow?
    Liza = ประธานเอกพจน์
    is going to = แปลเหมือน will แต่ความเป็นไปได้มากกว่า (is เป็น Verb to be)
  2. คำถาม Yes, No Question: Is Jenny Liza’s best friend?
    Jenny = ประธานหลัก
    is = กริยาช่วย Verb to be
  3. คำถาม Yes, No Question: Are Nui’s braces pink?
    braces (เหล็กดัดฟัน) = ประธานพหูพจน์
    are = Verb to be
  4. คำถาม Yes, No Question: Does she want to eat banana?
    She = ประธานเอกพจน์
    Does = กริยาช่วย Verb to do
    want = กริยาหลักไม่ต้องเติม s เพราะ กริยาช่วยเติมแล้ว (does)
  5. คำถาม Yes, No Question: Does Tina need to go to the toilet?
    Tina = ประธานเอกพจน์
    Does = กริยาช่วย Verb to do
    go = กริยาหลักไม่ต้องเติม es เพราะว่า Does เติมแล้ว (Do + es)
  6. คำถาม Yes, No Question:Should I get up early?
    I = ประธานพหูพจน์
    should = กริยาช่วย
    get = กริยาหลัก

เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะอ๋อ มั้ยคะ ครูหวังว่านักเรียนที่รักของครูจะได้ประโยชน์และความรู้จากเทคนิคการใช้ Yes, No Questions นี้นะคะ ถ้าเกิดว่าเราอ่านยังไม่เคลียร์ ครูแนะนำให้ทบทวนบทเรียนจากวีดีโอด้านล่างเลยค่า รับรองจะร้องว่า อ๋อ มากยิ่งขึ้น Good luck guys! ขอให้ทุกคนโชคดีนะคะ ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัย สามารถคอมเม้นต์ ได้ที่ด้านล่างของบทความหรือวีดีโอได้เลยนะคะ ครูยินดีตอบเสมอ

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ศึกษาตัวบทในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา

เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีเค้าจากเรื่องจริงในสมัยอยุธยา จากนิทานชาวบ้านสู่วรรณคดีราชสำนักตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 ในตอน ขุนข้างถวายฎีกา เป็นหนึ่งในตอนที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งได้ดีที่สุด จากที่เราได้เรียนรู้ที่มาและเรื่องย่อกันไปแล้ว บทเรียนในนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปศึกษาตัวบทเด่น ๆ ที่อยู่ในเรื่องนี้เพื่อถอดความกันค่ะ รวมไปถึงคุณค่าที่ซ่อนอยู่ในเรื่อง ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ที่น่าสนใจ   ตัวบทที่ 1     ถอดความ มาจากตอนที่จมื่นไวยบุกมาหานางวันทองผู้เป็นแม่ที่เรือนขุนช้างแล้วพยายามจะพานางกลับไปอยู่ด้วยกัน

ประมาณค่าทศนิยมด้วยการปัดทิ้งและปัดทด

บทความนี้จะพูดถึงเรื่องพื้นฐานของทศนิยมอีก 1 เรื่องก็คือการประมาณค่าใกล้เคียงของทศนิยม น้อง ๆคงอาจจะเคยเรียนการประมาณค่าใกล้เคียงของจำนวนเต็มมาแล้ว การประมาณค่าทศนิยมหลักการคล้ายกับการประมาณค่าจำนวนเต็มแต่อาจจะแตกต่างกันที่คำพูดที่ใช้ เช่นจำนวนเต็มจะใช้คำว่าหลักส่วนทศนิยมจะใช้คำว่าตำแหน่ง บทความนี้จึงจะมาแนะนำหลักการประมาณค่าทศนิยมให้น้อง ๆเข้าใจ และสามารถประมาณค่าทศนิยมได้อย่างถูกต้อง

ความหมายและความสำคัญของ คำราชาศัพท์

  คำราชาศัพท์ เป็นวัฒนธรรมทางภาษาของประเทศไทยที่ให้ความสำคัญกับระดับของผู้พูดและผู้ฟัง น้อง ๆ หลายคนคงคุ้นเคยกันมาบ้างแล้วเวลาฟังข่าวในพระราชสำนัก แต่รู้หรือไม่คะว่าความหมายจริง ๆ ของคำราชาศัพท์คืออะไร มีใครบ้างที่เราต้องใช้คำราชาศัพท์ด้วย บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทบทวนเรื่องคำราชาศัพท์พร้อมเรียนรู้คำราชาศัพท์ในหมวดร่างกายที่ใช้กับพระมหากษัตริย์กันค่ะ   ความหมายของคำราชาศัพท์     คำราชาศัพท์ หมายถึง คำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ รวมไปถึงพระสงฆ์ โดยที่มีคำศัพท์และลักษณะการใช้ที่แตกต่างกันออกไปตามระดับภาษา ฐานะของบุคคลในสังคมไทยแบ่งตามวัยวุฒิและชาติวุฒิได้ดังนี้ 1.

ตัวอย่างโจทย์ปัญหา + – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะยกตัวอย่างของโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละพร้อมทั้งวิธีวิเคราะห์โจทย์ การแก้โจทย์ปัญหาและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล หลังจากอ่านบทความนี้จบน้อง ๆ จะสามารถทำความเข้าใจกับโจทย์ปัญหาบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละและแก้โจทย์ได้ดียิ่งขึ้น

การใช้คำ

เรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้คำในภาษาไทยอย่างง่ายๆ

การใช้คำในภาษาไทย มีความสำคัญมาก แม้ว่าน้อง ๆ จะคุ้นเคยกับภาษาไทยดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่แน่ใจหรือเปล่าคะว่าใช้คำกันได้อย่างถูกต้องแล้ว เพราะการใช้คำให้ถูกก็ถือเป็นเรื่องสำคัญค่ะ ดังนั้นบทเรียนหลักภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่องการใช้คำต่าง ๆ ได้ถูกต้องกันค่ะ จะมีอะไรบ้างไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การใช้คำ     การใช้คำกำกวม   คำกำกวม คือ การใช้คำหรือภาษาที่มีความหมายไม่ชัดเจน เป็นเหตุให้การสื่อสารผิดพลาด

พระอภัยมณี ความเป็นมาและเรื่องย่อของวรรณคดีที่ดีที่สุดตลอดกาล

น้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี กันอยู่แล้วใช่ไหมคะ เพราะวรรณคดีที่แต่งโดยสุนทรภู่เรื่องนี้ถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก ๆ เป็นต้นแบบในการเขียนกลอนและยังถูกไปนำดัดแปลงเป็นละคร ภาพยนตร์ และเพลงอีกมากมาย แต่ทราบไหมคะว่าเรื่องพระอภัยมณีนั้นแท้จริงแล้วมีที่มาอย่างไร ถ้าอยากรู้แล้วเราไปศึกษาเรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   พระอภัยมณี ความเป็นมา     พระอภัยมณีเป็นเรื่องที่สุนทรภู่แต่งขึ้นขณะติดคุกเพราะเมาสุราในสมัยรัชกาลที่ 2 ราว ๆ ปี พ.ศ.

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1