การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย
can could

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Can และ Could คืออะไร?

ถ้าเรียกตามหลักภาษาแล้ว Can และ Could จะอยู่ในกลุ่มกริยาที่มีชื่อว่า Modals เป็นกริยาช่วยประเภทหนึ่ง ซึ่งก็จะมีกริยาอีกหลายๆ ตัวที่เป็น Modals เช่น will, would, should, เป็นต้น

Can และ Could นั้นปกติแล้วจะแปลว่า “สามารถ” โดยจะมีหลักการใช้เบื้องต้นดังนี้

1) ใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถ (ask about ability)
2) ใช้เพื่อขออนุญาต (ask for permission)

 

การใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถ

เราสามารถใช้ Can/Could เพื่อบอกความสามารถ (ability) ของเราได้ ตัวอย่างเช่น

I can swim.

(ฉันว่ายน้ำได้)

 

Tony can dance.

(โทนี่เต้นได้)

 

หรือถ้าเป็นความสามารถที่เราทำได้ในอดีต (ปัจจุบันทำไม่ได้แล้ว) ให้ใช้คำว่า could เช่น

She could swim.

(เธอเคยว่ายน้ำได้) *ปัจจุบันว่ายน้ำไม่ได้แล้ว

 

I could speak French.

(ฉันพูดภาษาฝรั่งเศสได้) *ปัจจุบันพูดไม่ได้แล้ว

 

ดังนั้นหากเราต้องการถามใครสักคนว่า “คุณสามารถ…ได้ไหม?” เราจะทำได้ดังนี้

can could

 

ตัวอย่าง

Can you speak Thai?

(คุณพูดภาษาไทยได้ไหม?)

ตอบ: Yes, I can./No, I can’t.

 

Can Tony dance?

(โทนี่เต้นได้ไหม?)

ตอบ: Yes, he can./No, he can’t.

 

Can she roll her tongue?

(เธอม้วนลิ้นได้ไหม?)

ตอบ: Yes, she can./No, she can’t.

can you?

 

การใช้เพื่อขออนุญาต

นอกจากจะใช้ถามเกี่ยวกับความสามารถแล้ว เรามักจะใช้ can/could ในการขออนุญาตได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น

Can I borrow your rubber?

(ฉันขอยืมยางลบของคุณได้ไหม?)

 

Can I use your computer?

(ฉันขอใช้คอมพิวเตอร์ของคุณได้ไหม?)

 

Can I bring my girlfriend with me?

(ผมสามารถพาแฟนสาวไปกับผมด้วยได้ไหม?)

can I?

 

การใช้ Could นั้นมีความหมายเหมือนกับ Can แต่จะมีความเป็นทางการและสุภาพมากกว่า เรามักใช้กับการขออนุญาตผู้ที่อาวุโสกว่า หรือคนที่เราเพิ่งรู้จัก และมักลงท้ายด้วยคำว่า please ตัวอย่างเช่น

Could you pass me some sugar, please?

(คุณช่วยส่งน้ำตาลมาให้หน่อยได้ไหม?

 

Could you give us a moment, please?

(คุณช่วยให้เวลาเราสักครู่ได้ไหม?)

 

Could you explain that topic for me, please?

(คุณช่วยอธิบายหัวข้อนั้นให้ฉันทีได้ไหม?)

could you?

 

นี่ก็เป็นหลักในการใช้ Can และ Could ในการตั้งคำถามแบบเข้าใจง่ายๆ หวังว่าน้องๆ จะเอาไปลองใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ โดยน้องๆ สามารถชมวิดีโอเกี่ยวกับการใช้ Can และ Could เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นด้านล่างนี้ได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ

ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ และฟังก์ชันที่เกิดจากการดำเนินการของค่า cosθ sinθ ซึ่งก็คือ tanθ และ cotθ นอกจากนี้ยังจะกล่าวถึงโคฟังก์ชันของฟังก์ชันตรีโกณมิติอีกด้วย ในบทความนี้สิ่งที่น้องๆต้องรู้ก็คือ วิธีการหาค่า cosθ และ sinθ จตุภาคของพิกัดจุดปลายส่วนโค้ง ซึ่งสามารถอ่านได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้เลยค่ะ การวัดความยาวส่วนโค้ง ค่าของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์ หลังจากที่น้องๆมีพื้นฐาน 2 เรื่องที่กล่าวมาแล้วเราจะเริ่มทำความรู้จักกับฟังก์ชันตรีโกณมิติอื่นๆกันค่ะ   ฟังก์ชันที่เป็นส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

หลักการคูณทศนิยม พร้อมตัวอย่างที่เข้าใจง่าย

บทความนี้จะพาน้อง ๆมาทำความเข้าใจกับหลักการคูณทศนิยมในแต่ละรูปแบบ พร้อมทั้งอธิบายหลักการและยกตัวอย่างวิธีคิดในแต่ละรูปแบบของการคูณทศนิยม ให้น้อง ๆสามารถนำไปปรับใช้กับการหาคำตอบจากแบบฝึกหัดในห้องเรียนได้จริง

มัทนะพาธา

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา ที่มาและเรื่องย่อ

บทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา เป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีและมีความแปลกใหม่อีกเรื่องหนึ่ง น้อง ๆ หลายคนอาจจะเคยคุ้นหูกันมาบ้างตามสื่อต่าง ๆ เพราะวรรณคดีเรื่องนี้เป็นหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังจึงมักถูกหยิบไปทำเป็นละครทางโทรทัศน์บ่อย ๆ แต่จะมีความเป็นมาอย่างไรนั้น วันนี้เราจะไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมาของบทละครพูดคำฉันท์เรื่อง มัทนะพาธา     มัทนะพาธาเป็นบทละครพูดคำฉันท์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จเพราะมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชกุศลเพื่อสร้าง ตำนานแห่งดอกกุหลาบ จึงทรงผูกเรื่องขึ้นมาใหม่หมด ทรงให้ความสำคัญเรื่องความถูกต้อง และความสมจริงในรายละเอียดของเรื่อง

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  บางครั้งเรียกว่า

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด

ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด ฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลด สามารถตรวจสอบได้จากกราฟและนิยาม สมการหนึ่งสมการอาจจะเป็นทั้งฟังก์ชันเพิ่มและฟังก์ชันลดขึ้นอยู่กับรูปแบบของกราฟและสมการ บทนิยาม ให้ f เป็นฟังก์ชันที่ส่งจากโดเมนของฟังก์ชันไปยังจำนวนจริง โดยที่ A เป็นสับเซตของจำนวนจริง และ A เป็นสับเซตของโดเมน จะบอกว่า  f เป็นฟังก์ชันเพิ่มบนเซตเซต A ก็ต่อเมื่อ สำหรับ และ ใดๆใน A ถ้า  < 

NokAcademy_ม2การใช้ Wh-questions กับ Past Simple Tense

การใช้ Wh-questions กับ Past Simple Tense

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.2 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไปตะลุย ” การใช้ Wh-questions ร่วมกับ Past Simple Tense” กันนะคะ หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจร้า   Wh-Questions คืออะไร      เมื่อต้องถามคำถามอะไรก็ตามที่ไม่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No แบบตรงประเด็น เราจะเรียกคำถามประเภทนี้ว่า Question  word

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1