อนุประโยค Relative Clause ใช้อย่างไรในภาษาอังกฤษ

Relative Clause

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Relative Clause คืออะไร?

 

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 3 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อ

 

Relative Clause

 

ตัวอย่างประโยค

A girl is talking to Daniel. Do you know the girl?

ผู้หญิงกำลังคุยกับแดเนียล คุณรู้จักผู้หญิงมั้ย หากถามแบบนี้จะดูยาวและทะแม่งๆ ไม่คุ้นหูฝรั่งสักเท่าไหร่ โดยปกติเวลาเราจะเปลี่ยนประโยค 2 ประโยคให้เป็น Relative Clause โดยการดึงเอาส่วนที่เป็นประโยคหลักมาก่อนในที่นี้ก็คือ เราอยากรู้ว่าผู้ชายคือใคร คุณแดเนียลนั่นน่ะ

ขั้นตอนที่1 คือ แยกประโยคหลัก Do you know the girl? จากประโยคข้างต้น เราไม่มีทางรู้เลยว่าผู้หญิงที่พูดถึงเป็นใคร ดังนั้นเราจึงต้องใส่ข้อมูลเพิ่มเติม A girl is talking to Daniel. ใช้ A girl is talking to Daniel. เฉพาะในส่วนประโยคแรก และในส่วนที่สองเราแทนที่ด้วย relative pronoun
(ใช้ who ในกรณีอ้างถึงบุคคล) ดังนั้นประโยคจะเปลี่ยนเป็น

” Do you know the girl who is talking to Daniel? “

Example-What-is-relative-clause

คุณรู้จักผู้หญิงที่กำลังคุยกับแดเนียลมั้ย เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะเห็นภาพของการใช้งาน Relative Clause แล้วใช่มั้ยคะ? อย่าพึ่งท้อนะคะ ไปลุยกันต่อกับประเภทของ Relative Clause เห็นข้อดีของการใช้ Relative pronoun หรือยังล่ะทีนี้ วันนี้ยังเหลืออีกเพียบไปดูกันเลยค่ะ

ประเภทของ Relative Clause

Types-What-is-relative-clause

Relative Clause สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ Defining Relative Clause และ Non-defining Relative Clause  ขอเกริ่นก่อนว่าเราจะใช้ defining relative clause เพื่อบอกถึงสิ่งที่เรากำลังพูดถึง (หากขาดไปก็จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพูดถึงอะไร)
เช่น I like the handsome man who sits next to me.
(ถ้าเราไม่บอกว่า “who sits next to me” ก็จะไม่ทราบเลยว่าหมายถึงผู้ชายคนไหน)

เราใช้ non-defining relative clause บอกถึงข้อมูลเพิ่มเติมของสิ่งที่เรากำลังพูดถึง (เราไม่จำเป็นต้องมีข้อมูลนี้เพื่อที่จะเข้าใจว่าพูดถึงอะไร) เช่น

I live in Thailand, which has beautiful tourist attractions.
(ประเทศไทยมีหลายสิ่งหลายอย่างน่าสนใจดังนั้น “which has beautiful tourist attractions.”  ถือเป็นข้อมูลเพิ่มเติม จะมีหรือไม่มีก็ได้)

 

สรุปการใช้ Defining Relative Clauses

 

Defining relative clause

1. ทำหน้าที่คล้ายคำคุณศัพท์ (Adjective) เพื่อไปขยายนามที่อยู่ข้างหน้า ให้ได้ใจความสมบูรณ์และชัดเจนว่า หมายถึง ใคร สิ่งไหน หรือ ของใคร เป็นต้น
2. ไม่มีเครื่องหมาย comma (,) คั่นระหว่างนามกับ Defining Relative Clause
3. จะขึ้นต้นด้วยคำสรรพนาม (Relative Pronoun) ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับนามที่ขยาย เช่น ถ้าขยายนามที่เป็นคน Relative Pronoun ก็ต้องเป็นคำที่ใช้แทนคน ฯลฯ

หน้าที่ของ Relative Pronoun จะมีหน้าที่อยู่ 3 ประการหลัก คือ

ทำหน้าที่เป็นประธาน มี 2 แบบ คือ

1.1  ถ้าเป็นคนใช้ who เช่น

I’m looking for a teacher who can teach me well.

ฉันกำลังมองหาครูที่สามารถสอนได้ดี

1.2 ถ้าเป็นสัตว์หรือสิ่งของใช้ which หรือ that เช่น

The mobile phone which / that is on the yellow shelf is mine.

มือถือที่วางอยู่บนชั้นวางของสีเหลืองเป็นของฉัน

  1. ทำหน้าที่เป็นกรรม มี 2 แบบ ได้แก่

2.1 ถ้าเป็นคนใช้ whom เช่น

The woman whom I talked to yesterday is Liza from Black Pink band.

ผู้หญิงที่ผมคุยด้วยเมื่อวานคือลิซ่าจากวงแบล็คพิงค์

2.2 ถ้าเป็นสัตว์หรือสิ่งของ ใช้ which หรือ that เช่น

I like the notebook that Jenny used yesterday.

ฉันชอบสมุดจดบันทึกที่เจนนี่ใช้เมื่อวานนี้

  1. 3. ทำหน้าที่เป็น “เจ้าของ” มี 2 แบบ คือ

3.1 เป็นคน ใช้ whose เช่น

The beautiful girl whose wallet is made from leather is Angelina.

ผู้หญิงคนสวยที่ถือกระเป๋าหนังใบนั้นชื่อแองเจลลิน่า

3.2 หากเป็นสัตว์หรือ สิ่งของให้ใช้ of which เช่น

The motorbike of which hand-break is broken has already been fixed last week.

รถมอเตอร์ไซค์คันที่เบรกมันเสียถูกซ่อมแล้วนะตั้งแต่อาทิตย์ก่อน

 

การใช้ Non-defining Relative Clauses

N0n-Defining relative clause NokAcademy

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคนสำหรับการใช้  Defining relative clauses  ซึ่งจะต่างจาก Non-defining relative Clause ลองไปดูลักษณะที่สำคัญ อยู่ 3 ประการกันค่ะ
1. ลักษณะจะเป็น clause ที่เพิ่มเข้ามา ไม่มีความจำเป็นกับใจความหลักในประโยคแค่เราเพิ่มเข้ามาเพื่อให้ได้ความละเอียดมากขึ้นเฉยๆ
2. ต้องมีเครื่องหมาย Comma ข้างหน้าและข้างหลัง clause เสมอนะคะ ย้ำว่าเสมอ
3. ใช้กับ Relative pronouns ซึ่งไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ได้แก่ who, whom, whose หรือ which เท่านั้น จะใช้ that ไม่ได้เลย

ตัวอย่างเช่น

My boyfriend, who is very handsome, lives in Korea.

แฟนของฉัน คนที่หล่อๆนั่นน่ะ อยู่ที่เกาหลี

Relative pronouns:

 

Relative Pron.

 

Relative pronoun ได้แก่คำว่า who, whom, whose, which, that, where, when, why เราจะใช้ relative pronoun ในการเชื่อมประโยคหรือให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งใดๆ

ถาม: ถ้าตัด relative clause ทิ้งไป แล้วประโยคหลักไม่ได้มีใจความสำคัญเปลี่ยนไปมั้ยคะ
ตอบ: ไม่จำเป็นค่ะ เราจะใช้คอมม่าคั่นระหว่าง relative clause กับประโยคหลักแค่นั้น
Relative pronoun ส่วนใหญ่จะเป็นได้ทั้งประธานและกรรม ยกเว้น whom ที่จะเป็นได้แค่กรรมเท่านั้นนะคะ ส่วนการใช้ relative pronoun เป็นกรรม เราสามารถละ relative pronoun ได้ เช่น The person (who/whom/that) I met yesterday is Tim.

ถามอีก: การใช้ relative pronoun แทนสิ่งต่างๆ จะมีข้อกำหนดว่าเราจะใช้ตัวไหนแทนสิ่งใดได้กันบ้างล่ะ

ตอบ: ใช้กับสิ่งต่างๆเหล่านี้ค่ะ

คน – who, whom (กรรม), whose, that

สัตว์ – who (สัตว์เลี้ยง), whose, which, that

สิ่งของ, สิ่งไม่มีชีวิต, สิ่งที่เป็นนามธรรม – whose, which, that

ถาม: แล้วการใช้ Where, when, why

ตอบ: เราจะใช้ where แทนสถานที่ ใช้ when แทนเวลา และใช้ why แทนเหตุผล

เมื่อใช้เชื่อม relative pronoun เป็นกรรม การใช้ preposition ใน relative clause กับ whose และ which นั้นเราสามารถนำ preposition มาไว้ข้างหน้า whose กับ which ได้ แต่ส่วนใหญ่เราจะเจอในการเขียนที่เป็นทางการ academic writing และเมื่อใช้ whom การใช้ preposition ใน relative clause เราจะนำ preposition มาไว้ข้างหน้า whom

 

 ตัวอย่างและรูปแบบการใช้งาน Relative Adverbs 

Relative adverbs

 

Relative adverb คือคำกริยาวิเศษณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมคำ กับอนุประโยค หรือ ประโยครองเพื่อขยายความเพิ่มเติมให้รู้ว่า เมื่อไหร่ ที่ไหน ทำไม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 คำ ได้แก่ when where และ why

 

1) Relative Adverb ที่ใช้แทนสถานที่

where ใช้เป็นกรรมของประโยค แปลว่า สถานที่ซึ่ง ที่

The house where adopted children  live is very far.

บ้านหลังที่เด็กกำพร้าอาศัยอยู่ อยู่ไกลมาก

2) Relative Adverb ที่ใช้แทนเวลา

when ใช้เป็นกรรมของประโยค แปลว่า ที่

The time when I was ten years old, my mother passed away.

ตอนที่ฉันอายุได้สิบขวบ แม่ก็ได้จากไปแล้ว

3) Relative Adverb ที่ใช้แทนเหตุผล

why ใช้เป็นกรรมของประโยค แปลว่า ที่

I have no idea why Tina dumped Adwerd.

ฉันไม่รู้เหตุผลที่ตีน่าทิ้งแอดเวิร์ดเลย

เป็นยังไงกันบ้างคะอย่าลืมฝึกเขียนกันเยอะๆนะคะ เพื่อที่เราจะได้ฝึกแต่ง Relative Clause ให้เจ๋งๆ ถ้าเกิดว่าเรายังไม่เข้าใจจุดไหนสามารถโพสต์ถามได้ที่ด้านล่างเลยนะคะ ครูยินดีตอบเสมอ อย่าลืมทบทวนบทเรียนผ่านวีดีโอด้านล่างเด้อ เลิฟๆ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม ฟังก์ชันลอการิทึม คือฟังก์ชันผกผันของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล จากที่ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ส่งจากจำนวนจริงไปยังจำนวนจริงบวก โดยที่ ดังนั้นฟังก์ชันดังกล่าวซึ่งเป็นฟังก์ชันผกผันของเอกซ์โพเนนเชียล ก็คือ คู่อันดับ (y, x)  หรืออาจจะบอกได้อีกแบบคือ คู่อันดับ (x, y) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์จากจำนวนจริงบวกไปยังจำนวนจริง โดยที่ จัดรูปใหม่ ได้เป็น (อ่านว่าล็อก x ฐาน

รู้จักอาหารชาววังโบราณผ่านกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ที่น่ารักทุกคน ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวันนี้อยากให้น้อง ๆ ทานอาหารกันให้อิ่มก่อน เพราะว่าครั้งนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับอาหารชาววังทั้งของหวานอาหารคาวสารพัดเมนู ในบทเรียนวรรณคดีอันโด่งดังอย่างกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น้อง ๆ ชั้นมัธยมศึกษาต้องได้เรียนอย่างแน่นอน รับรองว่าถ้าเรียนเรื่องนี้จบแล้ว น้อง ๆ ทุกคนจะได้รู้จักอาหารโบราณน่าทานอีกหลากหลายเมนูเลย ถ้าพร้อมแล้วเราไปเข้าสู่เนื้อหากันเลยดีกว่า     ประวัติความเป็นมา ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับอาหารต่าง ๆ ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน เราจะขอพาน้อง ๆ

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

ศึกษาตัวบทและคุณค่าที่อยู่ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก

บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก เป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ประพันธ์ โดยมุ่งหวังให้ละครเป็นตัวช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชน แต่นอกจากตัวบทจะมีความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างมากแล้ว ยังแฝงแนวคิดมากมายไว้ในเรื่อง จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ไปเรียนรู้เรื่องพร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ตัวบทเด่น ๆ ใน บทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก     ตัวบทที่ 1    พระยาภักดี : ใครวะ อ้ายคำ : อ้างว่าเป็นเกลอเก่าของใต้เท้า

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์บัญญัติ เรียนรู้การยืมคำและบัญญัติขึ้นใหม่

น้อง ๆ หลายคนอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่า ศัพท์บัญญัติ สักเท่าไหร่ บทเรียนวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับศัพท์บัญญัติที่ว่านั่นกันค่ะว่าคืออะไร มีที่มาและมีหลักเกณฑ์ในการสร้างอย่างไรบ้าง ถ้าน้อง ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้กันแล้ว ก็ไปศึกษาเรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ   การบัญญัติศัพท์คืออะไร     การบัญญัติศัพท์ คือการกำหนดคำศัพท์จากภาษาต่างประเทศขึ้นมาใหม่ในภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมายบางอย่างโดยเฉพาะในศาสตร์แขนงใดแขนงหนึ่ง หรือเพื่อใช้ในการเขียนเอกสารของงานราชการ ตามเจตนาของผู้บัญญัติ ซึ่งคำศัพท์ที่เกิดจากวิธีการเช่นนี้จะเรียกว่า ศัพท์บัญญัติ โดยทั่วแล้วศัพท์บัญญัติมักจะมาจากภาษาอังกฤษ

ม3 เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did_ Was_Were_

Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.3 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง “Short question เน้นรูปอดีตโดยใช้ Did, Was, Were” ไปลุยกันโลดเด้อ   ทำไมต้องเรียนเรื่อง Did, Was, Were Did, Was, Were ใช้ถามคำถามใน Past Simple Tense กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต หรือ ถามเพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำสิ่งนั้นๆไปแล้ว

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1