การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค

Picture of rungrot
rungrot

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

การใช้ going to / will ในการสร้างประโยค

เกริ่นนำเกริ่นใจ

 

ภาพใหญ่ของ Will และ Be going to

การจะเข้าใจอะไรได้อย่างมั่นใจและคล่องตามากขึ้น เราในฐานะผู้เรียนรู้ควรที่จะต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดก่อน โดย Will เนี่ย อยู่ในตระกูล Auxiliary verb หรือ Helping verb ที่มีความหมายว่า คำกริยาที่ใช้ช่วยทำให้ประโยคนั้นไม่ห้วนแถมยังฟังแล้วดูดีขึ้น ในภาษาไทยเอง เวลาเราจะอธิบายว่าเรากำลังจะทำอะไรเราก็มักจะพูดว่า “เรา จะ หรือ กำลังจะ…นะ”  โดยภาษาอังกฤษสุดที่รักของเราเองก็มีอะไรแบบนั้นเหมือนกัน โดยการใช้คำว่า Will และ Be going to มาช่วย โดยหน้าที่ของ Auxiliary verb ก็ง่ายมาก มีแค่ 3 หน้าที่หลักก็เท่านั้นเอง นั่นก็คือ มันช่วยบอก “อารมณ์ เวลา และน้ำเสียง” ของเราและเพื่อให้จำง่ายเราจึงมักเรียกคำเหล่านี้ว่า Helping verb นั่นเองงงงง (เพราะมันช่วยเราไง)

Verb to be  Verb to have  Verb to do
Is, am, are, was, were
(เป็น อยู่ คือ)
Have, has, had (มี) Do, does, did (ทำ)
Will, Be going to, would, shall (จะ) 
Should, ought to (ควรจะ)
Can, could (สามารถ)
Have to, has to, had to
(ต้อง)
Need (จำเป็น)
Had better (ควรจะ)
Would rather (Prefer)
Used to (เคย)
Dare (ท้า/กล้า)

พอมาถึงตอนนี้ก็เยอะอยู่นะแม่ แต่วันนี้เราจะมาเรียนแค่สองคำนี้คือ Will กับ Be going to ไม่งั้นไม่ไหว ถ้าจะให้อธิบายการทำงานของแต่ละคำคงต้องใช้เวลาทั้งวัน พูดและเขียนกันจนมือหงิกกันไปเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นเรามาดูการทำงานของคำว่า Will และ Be going to กันเถอะ

การทำงานของ Will และ Be going to

I think I will be yours ฉันคิดว่าฉันจะเป็นของคุณ (อันนี้ถ้าใช้ถูกที่และเวลาคือหวานเลยนะ)

  • The exam will be over soon การสอบจะจบลงในเร็ว ๆ นี้ (ไม่รู้ตัดพ้อหรืออะไร)
  • I am going to study for an exam tonight ฉันจะเตรียมสอบคืนนี้ (มาแนวเด็กเรียนไปอีก)

เราพอจะเห็นตัวอย่างความต่างกันของทั้งสามตัวอย่างประโยคกันแล้วใช่มั้ยล่ะ มันง่ายแค่นั้นเลยนะแม่ แต่ทีนี้เนี่ย มันไม่ได้มีแค่ประโยคบอกเล่าแบบข้างบนไง มันยังมีเรื่องของการปฏิเสธ แล้วก็การตั้งประโยคคำถามอีก ซึ่งเราจะไปดูกันเลยว่ามันมีอะไรบ้างแบบเจาะลึก

Be going to ใช้บอกแผนในอนาคต.

Future With “Going to” Structure:

Positive หรือ ประโยคบอกเล่าทั่วไป  

โครงสร้างประโยค Subject + to be + going to + verb

  • I am going to attend the meeting. ฉันจะเข้าร่วมประชุมนะ
  • (He, She) is going to participate in the discussion. เขา (เธอ) จะเข้าร่วมการถกประเด็น (ประชุมนั่นแหละ)
  • (You, We, They) are going to attend the meeting. คุณ เรา พวกเขาจะเข้าร่วมประชุมนะ

Negative หรือประโยคปฏิเสธ

โครงสร้างประโยค Subject + to be + not + going to + verb

  • I’m not going to visit Bangkok next year. ฉันจะไม่ไปเที่ยวกรุงเทพปีหน้านะ
  • (He, She) isn’t going to visit Rangsit next year. เขา (เธอ) จะไม่ไปเที่ยวรังสิตปีหน้านะ
  • (You, We, They) aren’t going to visit Khon Kaen next year. คุณ เรา พวกเขา จะไม่ไปเที่ยวขอนแก่นปีหน้านะ 

Questions หรือประโยคคำถาม 

โครงสร้างประโยค (Question word) + to be + subject + going to + verb

  • Where am I going to go for a visit? ฉันจะไปเที่ยวที่ไหนได้บ้าง?
  • Where is (she, he) going to stay tonight? เขา (เธอ) จะพักที่ไหนคืนนี้?
  • Where are (you, we, they) going to speak? คุณ เรา เขา จะไปพูดที่ไหนได้บ้าง?

Will ใช้ทำนาย หรือบอกอนาคตแบบไม่ได้วางแผนเอาไว้ล่วงหน้า

Future With “Will” Structure:

Positive หรือ ประโยคบอกเล่าทั่วไป 

โครงสร้างประโยค Subject + will + verb

  • (I, You, He, She, We, They) will be here. ฉัน คุณ เขา เรา พวกเขา จะอยู่ที่นี่
  • I will go to the party with you ฉันจะไปงานปาร์ตี้กับคุณ 
  • We will go to the party with you เราจะไปงานปาร์ตี้กับคุณ

Negative หรือประโยคปฏิเสธ

โครงสร้างประโยค Subject + will + not (won’t) + verb

  • (I, You, He, She, We, They) won’t have time tomorrow. ฉัน คุณ เขา เรา พวกเขา จะไม่มีเวลาพรุ่งนี้
  • I won’t go to the part with you ฉันจะไม่ไปงานปาร์ตี้กับคุณ 
  • We won’t go to the party with you พวกเราจะไม่ไปงานปาร์ตี้กับคุณ

Questions หรือประโยคคำถาม

โครงสร้างประโยค Question word + will + subject + verb. หรือ Will + subject + Verb

  • What will (he, she, you, we, they) do? เขา คุณ เรา พวกเขา จะทำอะไร หรือ Will (he, she, you, we, they) do it? เขา คุณ เรา พวกเขาจะทำมั้ย?
  • When will we go there? เราจะไปที่นั่นเมื่อไหร่?
  • Will we go there? เราจะไปที่นั่นมั้ย?

เราใช้ตอนไหนได้บ้าง

เรื่องของอนาคตนั้นเป็นเรื่องที่เราคาดเดาไม่ได้ แต่เราสามารถคาดเดาได้ว่าคนที่กำลังเล่าเรื่องให้เราฟังนั้น กำลังวางแผน ตั้งใจ หรือแค่จะทำโดยที่ปล่อยไปตามอารมณ์ในอนาตได้ โดยเรื่องอนาคตนั้นมักถูกใช้อยู่ 2 แบบ คือ การเล่าอนาคตด้วย Will และ Be going to โดยความแตกต่างหลักของทั้งสองคำนี้ก็ง่าย ๆ เลย นั่นก็คือ Be going to ใช้เมื่อเรานั้นมีแผน และความตั้งใจที่จะทำก่อนที่จะพูดออกไป ในขณะที่คำว่า Will นั้นใช้ตอนนี้เราเล่าไปในขณะนั้น โดยที่ไม่ได้วางแผนมาก่อน จำง่าย ๆ คือ Be going to นั้น คิดก่อนพูด ในขณะที่ Will นั้นจะเป็นคือ พูดก่อนคิด(ที่จะทำ) ง่ายชะมะ?

การที่เราจำอะไรแบบนี้ ทำให้เราเข้าใจความจำเป็นและวิธีการใช้พื้นฐาน

สาระมีอยู่จริง

เอาเข้าจริง เจ้าของภาษา(อาจจะมีแค่บางคน)ไม่มาจับผิดหรือถามจี้เราหรอกนะว่าเราจะวางแผนมาก่อนแล้วก็ใช้ Be going to หรือเราเพิ่งอยากจะทำตอนพูดแล้วใช้ Will น่ะ เพราะในที่สุดแล้วมันก็สื่อความหมายว่า ฉันจะทำอะไรบางอย่างอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็ใช้สลับกันไปเลยเวลาพูด เอาให้คล่องไปก่อน จากนั้นเมื่อเราโตขึ้นกว่านี้ เช่นหากเราอยู่ในระดับมหาลัยหรือวัยทำงาน เราอาจจะให้ความสำคัญกับมันมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะเป็นพวกที่จับผิดคนอื่น เพราะถ้าเราตั้งใจที่จะแบ่งแยกความแตกต่างชัดเจนจะทำให้เรามีความคิดที่ว่า เมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว คนอื่นก็ต้องทำดีเหมือนเราด้วย ซึ่งนั่นอาจจะทำให้คนอื่นเสียความมั่นใจ แล้วไม่กล้าใช้ภาษาอังกฤษไปเลย นั่นบาปนะรู้มั้ย?

สุดท้ายนี้

ท้ายที่สุดแล้ว เรื่อง จะ มันไม่ได้ยากเลยนะ ถ้าเราตั้งความเข้าใจบนฐานว่า Will กับ Be going to ใช้กับการให้คำแนะนำ และ ใช้ตอนอยากพูดว่า “เราจะ” (น่าจะเกิดขึ้นอย่างงั้นอย่างงี้นะเป็นอารมณ์ประมาณว่า เราจะ…) แค่นี้เลย แต่ถ้าจะให้แนะนำวิธีการเรียนเรื่องนี้ให้ได้ผลดีที่สุดก็คงจะเป็นการให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ไปใช้ฝึกแนะนำคนอื่นเยอะ ๆ เอาไปใช้ในการพูดเม้ามอยว่าตอนเย็นตอนบ่าย ตอนเที่ยงเราจะทำอะไรบ้าง เพราะการฝึกฝนจะทำให้เราคุ้นชินกับสถานการณ์มากกว่าการที่จะต้องมานั่งคิดในหัวว่า ใช้ตอนนี้ดีมั้ย หรือใช้สถานการณ์ไหนดีกว่า เท่านี้เลยแม่ เหมือนภาษาไทยอ่ะแม่ ที่เราใช้ตลอดแบบใช้ทั้งวันทั้งคืนจนลืมไปแล้วว่ามันมีหลักวิชาการยังไงบ้าง ภาษาอังกฤษก็เหมือนกัน แค่นี้ชีวิตก็ง่ายขึ้นแล้วปะ แล้วเจอกันครับ Takashi (เนี่ยเปลี่ยนอารมณ์กลับมาไม่ทันเลยครับ เราเน้นสายฮาพร้อมสาระนะจ๊ะ เพื่อนักอ่าน นักเขียนเองก็พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อสื่อมันออกไปอย่างน่ารัก และถูกใจทุกคน ปล.จากการสำรวจอ่ะนะ)

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

+ – × ÷ ระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ

บทความนี้จะพูดถึงขั้นตอนการหาคำตอบของการ + – × ÷ เศษส่วนและจำนวนคละระคน ซึ่งน้อง ๆ จะสามารถหาคำตอบ แสดงวิธีทำและหาคำตอบออกมาได้อย่างสมเหตุสมผล

กระเช้าสีดา นิทานสอนใจที่สอดแทรกตำนานของพรรณไม้

น้อง ๆ รู้จัก กระเช้าสีดา กันไหมคะ พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่อินเดีย และเป็นพรรณไม้ที่มีตำนานมาจากวรรณคดีที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือเรื่อง รามเกียรติ์นั่นเองค่ะ แล้ววรรณคดีเรื่องกระเช้าสีดานี้จะมีความเป็นมาและเรื่องย่อที่เกี่ยวกับรามเกียรติ์อย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเราไปหาคำตอบด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมา กระเช้าสีดา     กระเช้าสีดาเป็นนิทานเรื่องหนึ่งในหนังสือรวมนิทานของพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) แต่เมื่อพ.ศ. 2485 มีลักษณะเป็นร้อยแก้ว เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะนิสัย ความเป็นอยู่ของพวกภูต

ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนเรื่อง ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time Expressions ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล

เลขยกกำลัง

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ

เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ เลขยกกำลัง ที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะมีความเกี่ยวข้องกับกรณฑ์ในบทความ จำนวนจริงในรูปกรณฑ์ จากที่เรารู้ว่า จำนวนตรรกยะคือจำนวนที่สามารถเขียนอยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มได้ เช่น , , , 2 , 3 เป็นต้น ดังนั้นเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ ก็คือจำนวนจริงใดๆยกกำลังด้วยจำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม เช่น , เป็นต้น โดยนิยามของเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ คือ เมื่อ k และ

การคูณเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการคูณของเลขยกกำลัง ทั้งสามสมบัติ ก่อนจะเรียนเรื่องการคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ให้น้องๆ ไปศึกษาเรื่อง การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สมบัติของการคูณเลขยกกำลัง  ถ้า a เป็นจำนวนใดๆ m และ n เป็นจำนวนเต็มบวก แล้ว  1)   am x an

can could

การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1