การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

เกริ่นนำ เกริ่นใจ

อดีต ปัจจุบันและอนาคต ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วได้รับความสำคัญในหลักไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ เอาเข้าจริง ภาษาไทยของเราเองก็มีอะไรในลักษณะนี้เหมือนกันนะ แต่จะไม่เด่นชัดในรูปประโยคจนรู้สึกว่าซับซ้อนเหมือนภาษาอังกฤษที่เรากำลังเรียน ตัวอย่างเช่น เมื่อวานไปไหนมา….หรือ ฉันไป…มา ในขณะที่ภาษาอังกฤษจะต้องมีการปรับโครงสร้างให้เป็นรูปอดีตด้วยการเปลี่ยนคำกริยาเป็นช่องที่ 2 ตัวอย่างเช่น Where “did” you go yesterday? หรือ I “went to…” เป็นต้น อย่างไรก็ดี เราคงไม่ได้จะพูดถึงการบอกเล่า และการตอบคำถาม เพราะวันนี้เราจะเรียนเรื่อง “การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม” นั่นเอง 

การตั้งคำถามนั้นสำคัญ เพราะมันทำให้เราได้คำุตอบที่เราต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องราวในอดีต และการที่เราจะรู้จักเรื่องราวของใครสักคนในอดีตนั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้จักที่จะถามด้วยคำถามในอดีตเช่นเดียวกัน และนั้นแหละคือ เหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องเรียนเรื่องนี้ การตั้งคำถามด้วยไวยากรณ์ในอดีต

เอาเข้าจริงมันไม่ใช่เรื่องง่ายนะแม่ที่จะตั้งคำถามด้วย Past simple tense เพราะเราจะต้องทำความเข้าใจทั้งการตั้งคำถามแบบ Yes-No questions และที่น่าจะยากที่สุดคือ  เรื่องของการตั้งคำถามด้วย WH-questions ที่เราอาจจะต้องทำความเข้าใจในความหมายของคำขึ้นต้นของแต่ละคำถาม

ปูพื้นฐานกันหน่อย

การที่เราจะทำความเข้าใจการตั้งคำถามใน Past simple tense เราเองก็ต้องเข้าใจโครงสร้างของประโยคทั่วไปที่เราใช้บอกเล่าเรื่องราวในอดีตด้วย เหมือนกับว่า ก่อนที่เราจะตั้งคำถามได้ เราก็ต้องพูดเล่าเรื่องเป็นนั่นเอง

โครงสร้างของ Past simple tense ก็ง่าย ๆ เลยแม่ 

Subject + Verb 2 + Object word order

บางคนที่เรียนก็จะสงสัยว่า “อาว ทำไมถึงไม่ใช้คำว่า Verb+ed ละคะ!! มันจำง่ายกว่านะครู” คำตอบก็คือ ในภาษาอังกฤษมันจะมี verb บางคำนะแม่ที่มันจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนตัวมันเลย แล้วการเปลี่ยนนั้นมันก็มากกว่าการที่เราจะเติม ED เข้าไปข้างหลังแบบไม่คิดด้วย ซึ่งเราเรียกว่า Irregular verb ไงละแม่

เจาะลึกกันหน่อยดีกว่า ปกติแล้วอ่ะพวก Irregular verb นั้นมี 2 แบบแต่ด้วยความที่เราไม่ได้เรียนภาษาศาสตร์หรืออะไรที่ต้องเจาะลึกทำให้เราเรียกรวม ๆ ไปเลยว่ามันคือ Irregular verb 

  • โดย Verb ที่ลงท้ายด้วยตัว D หรือ T เราจะเรียกว่า weak verbs อย่างเช่นคำว่า Thought
  • อีกทางหนึ่ง Verbs ที่มีการเปลี่ยนคำไปเลยแบบเหมือนเป็นคำใหม่ถ้าไม่สังเกต เราจะเรียกคำกริยาเหล่านี้ว่า Strong irregular verb อย่างเช่นคำว่า Run เปลี่ยนเป็น Ran หรือคำว่า Grow เปลี่ยนเป็น Grew 
Irregular weak verb (ลงท้ายด้วย d/t) Irregular strong verb (เปลี่ยนหน้าตาไปเลย)
Verb 1 Verb 2 Verb 1  Verb 2
Shoe (สวมใส่ปลอก) Shed Drive (ขับรถ) Drove
Sleep (นอนหลับ) Slept Run (วิ่ง) Ran
Sweep (กวาด) Swept Grow (เติบโต) Grew

พอมาถึงตรงนี้ เราไม่ต้องไปปวดหัวมาก ก็จำง่าย ๆ ไปเลยว่า Verb อะไรที่ไม่ได้ลงท้ายด้วย ED เราก็มองว่ามันคือ Irregular verb ไป จะได้ไม่เหนื่อยมากแม่ ทีนี้พอเราพอจะเข้าใจการสร้างประโยคด้วย Past simple tense แล้ว งั้นเรามาเริ่มเรียนเรื่อง 

การตั้งคำถามในอดีตด้วย Past simple

การเรียนรู้นอกจากการเรียนรู้จากการบรรยายแล้ว เรายังสามารถเรียนรู้ได้จากตัวอย่างที่ชัดเจน 

  • Did you have lunch yesterday? 
  • Did you bring your friend to the party yesterday? 
  • Where did you study yesterday?
  • What did you do yesterday?
  • Was she sick yesterday? 
  • Were you at the party yesterday?

เราพอจะเห็นอะไรที่มีเหมือนกันปะแม่ เอาจริงมันไม่ยากนะถ้าเราอ่านไปเรื่อย ๆ แต่เราจะมาทำความเข้าใจมากขึ้นโดยการแยกความต่างของประโยคเหล่านี้กัน ลุยกันเลยแม่…

YES-NO questions

Yes/no questions ถูกสร้างด้วยการใช้คำกริยาช่วย (Auxiliary verb) อย่างคำว่า DID กับเหล่า Ver to be (Was/Were) คือมันง่ายมากแม่เวลาเราเจอตัวนี้เราจะรู้เลยว่ามันคือประโยคถามว่าใช่หรือไม่ โดยคำว่า Did รวมถึง Auxiliary verb อื่นที่จะถูกวางไว้ข้างหน้า Subject เสมอถ้าเราต้องการที่จะสร้างคำถาม โดยกฎการสร้างประโยคคำถาม Yes-no เนี่ยมีหลักการสร้างดังนี้

Simple tense statement YES-NO Questions
They had a party here yesterday. Did they have a party here yesterday?
We went to school yesterday. Did we go to school yesterday?
They were here yesterday. Were they here yesterday?
She was sick yesterday. Was she sick yesterday?

WH-questions

WH-question คือกลุ่มคำขึ้นต้นประโยคคำถามที่ต้องการรายละเอียดในการตอบ เอาเข้าจริงเรื่องนี้น่าจะปวดหัวมากนะถ้าเราจะต้องไปเรียนวิธีการตอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบที่มีประสิทธิภาพ แต่เอาเข้าจริง ถ้าเราเน้นตอบสั้นก็ไม่ได้ยากอะไร แปลข้างหน้าให้ออกว่าเค้าเค้าเกี่ยวกับอะไร เค้าถามว่า What หรือเปล่า หรือ Why ที่แปลว่า ทำไม หรือยังไง หลักการสร้าง WH questions ก็ง่าย ๆ นะแม่

WH-questions + did หรือ was/were + subject + verb 1/ verb 3?

Simple tense statement WH-Questions
They had a party here yesterday. When did they have a party here yesterday? 
We went to school yesterday. Where did you go yesterday?
They were here yesterday. Where were they yesterday?
She was sick yesterday. What wrong was she yesterday?

ในส่วนของ WH-questions ก็อยากให้มองเป็น 2 ภาพใหญ่ ๆ คือ WH-questions ที่เป็น Was/were กับ ประโยคที่เป็น Did คือจำประมาณนี้พอ แล้วพอเราอยากรู้มากขึ้น เราก็ไปศึกษาในส่วนของระดับชั้นที่มากขึ้นเนาะ

สรุป การใช้ไวยากรณ์ Past Simple ในการตั้งคำถาม คือ การสร้างประโยคในอดีตส่วนใหญ่มันจะมีแค่ 2 อย่างนี้แหละคือ Yes-no questions กับ WH-questions ถ้าเราเข้าใจโครงสร้าง แล้วก็รู้ว่าจะต้องใช้ในการถามเรื่องราวในอดีตของอีกฝ่าย เท่านี้ก็จะง่ายแล้ว แบบเอาไว้ไปเม้ามอยกับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องที่มันเกิดขึ้นไปแล้ว อาจจะเป็นเรื่องตอนเด็ก เรื่องของเมื่อวาน หรือเรื่องของเมื่อกี้ที่มันจบไปแล้วอ่ะแม่ ภาษาไทยมันก็ประมาณว่า 

“เพื่อนถาม: เห้ย!! เมื่อกี้เกิดอะไรขึ้นอ่ะ?”

“เราตอบ: อ๋อ…เมื่อกี้ จอห์นมันสะดุดก้อนหินล้มหัวทิ่มที่โรงอาหารอ่ะ คนเข้าไปมุงกันเต็มเลย ตอนนี้คนหายไปหมดและ”

พอเห็นภาพปะ มันแค่นี้เลยแม่ 

พอมาถึงตรงนี้ก็คิดว่าทุกคนจะได้เห็นภาพของการสร้างประโยคคำถามด้วยการใช้ Past simple tense กันแล้วนะแม่ เอาเข้าจริงมันไม่ยากจะ เพราะเอาภาพใหญ่จริง ๆ มันมีแค่ 2 แบบเองคือ Yes-No questions กับ WH-questions แต่ถ้าถามผู้เขียนเอง ส่วนตัวจะมาสายอธิบายและการตอบมากกว่า เพราะมันทำให้เราได้คิดและสร้างประโยคการเล่าที่มากกว่า พูดง่าย ๆ คือการเม้านั่นเองละแม่ ทั้งนี้ทั้งนั้น การตั้งคำถามทีดีก็จะนำไปสู่การมีบทสนทนาที่ดี ยิ่งเป็นการตั้งคำถามที่ถูกต้องตามหลักไวยกรณ์แล้วไม่ต้องพูดถึง การพูดของเราก็จะดู Grand ขึ้นมาอีก 50% ไปกันเลยละจ้า ยังไงวันนี้ก็น่าจะเท่านี้นะครับทุกคน ขอบคุณและสวัสดีคร้าบบบ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

โจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูล

โจทย์ปัญหาการนําเสนอข้อมูล

บทความนี้จะยกตัวอย่างเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาการนำเสนอข้อมูลให้น้องๆทราบถึงวิธีคิดหรือวิธีทำเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง

สัญลักษณ์พื้นฐานเกี่ยวกับเซต

สัญลักษณ์ของเซตจะช่วยให้เราไม่ต้องเขียนประโยคยาวซ้ำๆ และใช้ได้เกือบทุกบทของวิชาคณิตศาสตร์ ช่วยให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่บนกระดาษมากๆ

ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.2 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปทบทวนเรื่อง ประโยคปฏิเสธรูปแบบอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time Expressions ในกลุ่ม Past Tenses หรือ อดีตกาล

การสร้างตารางค่าความจริง

บทความนี้เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างตารางค่าความจริงของประพจน์ เป็นเนื้อหาที่ไม่ยากมากหลังจากน้องๆได้อ่านบทความนี้แล้ว น้องๆจะสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ สามารถบอกได้ว่าประพจน์แต่ละประพจน์เป็นจริงได้กี่กรณีและเป็นเท็จได้กี่กรณี และจะทำให้น้องเรียนเนื้อหาเรื่องต่อไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

ศึกษาตัวบทและข้อคิดที่แฝงอยู่ในสามัคคีเภทคำฉันท์

สามัคคีคือพลัง เป็นคำกล่าวคุ้นหูที่หลายคนคงจะเคยได้ยินคนพูดให้ฟังอยู่บ่อย ๆ เพราะไม่ว่าเราจะทำสิ่งใดร่วมกับใคร เพื่อให้งานนั้นสำเร็จและเป็นไปอย่างราบรื่น เราก็ต้องอาศัยความสามัคคีของคนในกลุ่มช่วยกันขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเดินไปข้างหน้าได้ แต่บางครั้งคนเราก็อาจปล่อยให้อารมณ์มาบดบังจนทำให้แตกความสามัคคีกันอยู่บ่อย ๆ สามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นวรรณคดีที่ว่าด้วยผลของการแตกความสามัคคี บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้ตัวบทเด่น ๆ ที่สำคัญ ถอดบทเรียนจากตัวละครและศึกษาคุณค่าที่แฝงอยู่ในเรื่องกันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้วรรณคดีเรื่องนี้พร้อมกันเลย   ตัวบทเด่น ๆ ใน สามัคคีเภทคำฉันท์     ถอดความ

NokAcademy_ ม.5 M6 Gerund

Gerund พร้อมแนวข้อสอบ ม.6

  สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนเรื่อง “Gerund” กันจร้า พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลดเด้อ   ความหมายของ Gerund อธิบายแบบง่ายๆ เลยว่า Gerund หรือ Ing-form ในบริติชอิงลิช ที่จริงแล้ว มันก็คือ คำกริยาเติม ing (V-ing) แล้วหน้าที่เป็นคำนาม ในภาษาไทยถูกนำมาใช้ในไวยากรณ์เรียกว่า กริยานาม นั่นเองจร้า

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1