มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

สวัสดีค่ะนักเรียนป.5 ที่น่ารักทุกคน เคยมั้ยที่เราเจอฝรั่งถามทางแล้วตอบไม่ได้ ทำได้แค่ชี้ๆ แล้วก็บ๊ายบาย หากทุกคนเคยเจอปัญหานี้ ต้องท่องศัพท์และรู้โครงสร้างประโยคที่สำคัญในการถามทางแล้วล่ะ  หากพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลย

 

มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ

Asking for Direction in English

 

การถามทิศทางจะต้องมีประโยคเกริ่นก่อนเพื่อให้คนที่เราถาม ตั้งตัวได้ว่า กำลังจะโดนถามอะไร ยังไง ซึ่งเราสามารถถามได้ทั้ง คำถามแบบสุภาพเมื่อพูดกับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ คำถามทั่วไปเมื่อพูดกับคนใกล้ตัว

 

วิธีการถามทาง

โครงสร้าง:  How can I get to…(name of the place)..?
แปล ไม่ทราบว่าจะไป …ชื่อสถานที่…. ได้อย่างไร

NokAcademy_Direction

Examples:
Excuse me,
How can I get to the UK embassy building?
= ขอโทษนะคะ/ครับ
ฉัน/ผมขอถามทางไปตึกสถานทูตอังกฤษหน่อย

Excuse me. หรือ Pardon me.
แปลว่า ขอโทษค่ะ/ครับ เป็นภาษาพูดแบบสุภาพ ใช้กับคนที่เราไม่คุ้นเคย หรือ การพูดทั่วไปที่ต้องเกริ่นก่อนที่จะถาม

Do you know…

Do you know where …(destination)..?
แปล คุณรู้ไหมว่า ……. อยู่ที่ไหน

Do you know where the toilet is?
แปล คุณรู้ไหมว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน (อเมริกัน)

Do you know where the bathroom is?
แปล คุณรู้ไหมว่าห้องน้ำอยู่ที่ไหน (บริติช)

 

คำขึ้นต้นประโยคที่ใช้บ่อยเวลาถามทาง

 

มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English

 

 Could you tell me..?
= ช่วยบอกได้ไหมว่า…
Do you know..?
= คุณรู้จัก…
May I ask…?
= ขอถามหน่อยว่า…
Do you mind if I ask…?
= จะเป็นอะไรไหมถ้าจะขอถามว่า…
I’d like to know…
= ฉัน หรือ ผมต้องการทราบว่า…
I’m interested to know…

= ฉันหรือผมอยากรู้ว่า…

 Indirect Questions คืออะไร

 

Indirect Question คือ รูปแบบประโยคคำถามทางอ้อม จะไม่ถามตรงๆแบบรูปแบบประโยคทั่วไป (Direct Quetions)
เรามักจะเจอ ประโยคคำถามแบบ Indirect Questions ในสถานการณ์ที่เป็นทางการ  หรือ ในสถานการณ์ที่ต้องใช้ความสุภาพ
เช่น การถามทาง เป็นต้น

 มารู้จักกับการถามทางในภาษาอังกฤษ Asking for Direction in English (1)

 

อธิบายเพิ่มเติม:

Direct Question VS Indirect Question คืออะไร

 

  • Direct Questions คือ คำถามที่ถามตรงๆ ไม่อ้อมค้อม แบบห้วนๆเลย ตัวอย่างเช่น
    Which is the best way to school? แปลว่า ทางไปโรงเรียนที่ดีที่สุดคือทางไหน
  • Indirect Questions คือคำถามแบบอ้อม  ตัวอย่างเช่น
    Do you know which is the best way to school? แปลว่า คุณพอจะทราบ ทางไปโรงเรียนที่ดีที่สุดมั้ยคะ/ครับ

 

***ในกรณีของผู้ตอบ หากไม่รู้ก็มีวิธีปฏิเสธแบบสุภาพก็สามารถ พูดแบบตรงๆ หรืออ้อม เพื่อรักษาน้ำใจผู้ถามได้เหมือนกัน ดังตัวอย่างประโยคด้านล่างเช่น

 

Sorry, I’m also new here.
= ขอโทษด้วย ผม/ฉันก็ใหม่กับที่นี่เหมือนกัน

Let me find it on Google map for you.
= เดี๋ยวผม/ฉันช่วยหาบนกูเกิลแมพให้นะ

Sorry, I don’t know it.
=ขอโทษด้วยนะ ผม/ฉันไม่รู้จริงๆ

Let me ask my friend for you first.
= ขอถามเพื่อนให้ก่อนนะ

ตารางสรุป (Asking for direction)

เมื่อต้องมีการถามเส้นทาง เราสามารถถามคำถามได้ทั่วไป และถามแบบสุภาพ โดยการใช้ตัวอย่างประโยคด้านล่างนะคะ

NokAcademy_Direction (3)

 

ประโยคถามเส้นทาง

(Asking for direction)

แปล

(Translation)

Could you tell me how to get to..?

(get to = go to)

 

กรุณาบอกหน่อยได้ไหมครับว่าจะไป…ได้อย่างไร?
How do I find…?

 

ฉันจะหา….ได้อย่างไร? (ทางไป…)
What is the best way to…?

 

ทางไหนดีที่สุดที่จะไป…?
Pardon me, I’m lost, how do I get to…?

 

 

ขอโทษนะคะ/ครับ
ฉันหลงทาง ไม่ทราบว่าจะไป….อย่างไร?
How do I get to…?

 

ฉันจะไปที่…ได้อย่างไร?
Which way do I go to get to..?

 

ฉันจะไป…ทางไหน?
What’s the best way to..?

 

วิธีไหนที่ดีที่สุดในการไป…คือวิธีไหน
Could you direct me to…?

 

คุณสามารถบอกทางไป…ฉันหน่อยได้มั้ย?
Excuse me, How can I go to…?

 

ขอโทษนะคะ ฉันจะไปที่…ได้ยังไง?
Can you tell me the way to..?

 

ช่วยบอกทางไป…ได้มั้ย

คำบุพบทบอกตำแหน่ง (Preposition of direction)

 

NokAcademy_Direction (4)

เมื่อจะต้องบอกทาง เราต้องรู้จักกลุ่มคำศัพท์หนึ่งที่เรียกว่า Preposition หรือคำบุพบท คือ คำที่ใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม หรือเชื่อมคำนามกับ วลี/ประโยค ซึ่ง Preposition ที่สำคัญและพบกันอยู่บ่อยๆ ในการบอกทิศทาง ได้แก่ go straight (เดินตรงไป), in(ใน), on (บน), toward (ไปยัง), form (จาก), in (ใน), after (หลังจาก), among (ระหว่าง), at (ที่), move to the left (เดินไปทางซ้าย)

 

คู่คำบุพบทบอกสถานที่สับสนบ่อย

 

NokAcademy_Direction (5)

 

  • On VS On top

โดยปกติแล้ว ‘On’ จะถูกใช้กับที่ปกติที่ใช้ในการวางสิ่งของ เช่น

 The books are on the bookshelf.
แปล หนังสืออยู่บนหิ้ง

ส่วน ‘On top’ จะถูกใช้กับที่ที่ไม่ปกติในการวางสิ่งของ เช่น

 The pillows are on top of the bed.
แปล หมอนวางอยู่บนหัวเตียง

 

  • Between VS Beside

‘Between’ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีวัตถุหนึ่งอยู่ตรงกลางระหว่าง 2 วัตถุ ส่วน ‘Beside’ มีความหมายเหมือนกับ ‘Next to’ แต่ว่า ‘Beside’ จะมีความเป็นทางการมากกว่า ทั้งคู่จะถูกใช้เมื่อวัตถุ หนึ่ง อยู่ข้างๆ วัตถุ หนึ่ง

NokAcademy_Daniel DirectionP5

Situation: Daniel is asking for a parking lot.

Daniel: Where did you park your car?
แดเนียล: คุณจอดรถไว้ไหน

Jessica: It’s next to the 5th Avenue Street.
เจสสิกา: ฉันจอดไว้ที่ถนนฟิฟต์เอเวนนิว

Daniel: Is it between the coffee shop and the convenient store?
แดเนียล: ใช่ถนนที่อยู่ระหว่างร้านกาแฟกับร้านขายของชำมั้ย

Jessica: Exactly!
เจสสิกา: ใช่เลย

 

  • Under VS  Below
    ใช้ ‘Under’ เมื่อวัตถุหนึ่งถูกปกคลุมด้วยวัตถุอื่น ส่วนเราจะใช้ ‘Below’ เมื่อวัตถุหนึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าวัตถุอื่น

Situation: Tourist is asking Dao for a direction.

 

NokAcademy_DaoDirectionP5

Tourist: Excuse me, how can I go to Thai Food Restaurant?
นักท่องเที่ยว: ขอโทษนะครับ ไม่ทราบว่าร้านอาหารไทยไปทางไหนครับ

Siri: I think it is below this 3rd floor.
สิริ: ฉันคิดว่ามันอยู่ใต้ ชั้นสามนี่แหละค่ะ

Tourist: I see. And where is the nearest toilet please?
นักท่องเที่ยว: เข้าใจแล้วครับ แล้วห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดอยู่ตรงไหนครับ

Siri: You can go straight. The toilet is about 10 meters away.
สิริ: ให้คุณเดิน ตรงไป นะคะ ห้องน้ำอยู่ไกลจากตรงนี้อีกประมาณ 10 เมตร

เป็นอย่างไรกันบ้างคะทุกคน ขอให้นักเรียนที่รักเดินทางไปไหนแล้วไม่หลง หรือถ้าหลงอย่างน้อยก็ต้องกล้าที่จะถามทางกันนะคะ
Have a good day guys!

 

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

เรียนออนไลน์ คณิตศาสตร์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์

การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ การตรวจสอบคู่อันดับที่เป็นความสัมพันธ์ คือการตรวจสอบคู่อันดับว่าคู่ไหนเป็นความสัมพันธ์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่กำหนด จากที่เรารู้กันในบทความเรื่อง ความสัมพันธ์ว่า r จะเป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ A × B แต่ถ้าเราใส่เงื่อนไขบางอย่างเข้าไป ความสัมพันธ์ r ที่ได้ก็อาจจะจะเปลี่ยนไปด้วย แต่ยังคงเป็นสับเซตของ A × B เหมือนเดิม

โดเมนของความสัมพันธ์

โดเมนของความสัมพันธ์ โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับในความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย กรณีที่ r เขียนแบบแจกแจงสมาชิก เราสามารถหาโดเมนได้เลยโดย คือสมาชิกตัวหน้า เช่น = {(2, 2), (3, 4), (8, 9)} จะได้ว่า  = {2, 3, 8}

การใช้ Possessive Pronoun

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง การใช้ Possessive Pronoun ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยจ้า บทนำ Possessive pronoun (เช่น mine, yours, hers) ถือเป็นหัวข้อหนึ่งในภาษาอังกฤษที่หลายคนมักจะสับสน นั่นก็เพราะมันมีความคล้ายคลึงกับ Possessive adjective (เช่น my, your, her) ลองเปรียบเทียบประโยคเหล่านี้ดูนะคะ   A

ภาษาชวา มลายู ในภาษาไทย มีลักษณะอย่างไร?

น้อง ๆ สงสัยกันไหมคะว่าในภาษาที่เราใช้พูดและใช้เขียนกันอยู่นี้ มีคำไหนบ้างที่ถูกหยิบยืมมาจากต่างประเทศ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักและศึกษาลงลึกถึงภาษาชวาและมลายู เป็นอีกหนึ่งภาษาที่เข้ามามีอิทธิพลกับภาษาไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกันเลยค่ะ   ความเป็นมาของการยืมคำจากภาษาชวา มลายู     ทางตอนใต้ของประเทศไทยติดต่อกับประเทศมาเลเซีย จึงทำให้มีการติดต่อค้าขายสานสัมพันธ์ไมตรีกันมาตั้งแต่สมัยอดีต โดยเดิมทีชาวชวาและชาวมลายูเคยใช้ภาษามลายูร่วมกัน ต่อว่าชาวชวามีภาษาเป็นของชนชาติตัวเอง แต่ก็ยังมีบางคำที่คล้ายคลึงกับภาษามลายูอยู่ 1. คำยืมภาษาชวา เพราะอิทธิพลของวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลายเรื่องดาหลังและอิเหนา วรรณคดีเรื่องนี้เป็นที่นิยมถูกนำมาปรับปรุงและประพันธ์เป็นบทละคร โดยในเรื่องมีภาษาชวาอยู่เยอะมาก ทำให้เป็นที่รู้จักและถูกหยิบยืมมาใช้ในการประพันธ์เรื่อยมา

สุภาษิตสอนหญิง ข้อคิดเตือนใจหญิงจากยุคสู่ยุค

สุภาษิต คือถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบกันมาตั้งแต่อดีต มีความหมายเป็นคติสอนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิต ทั้งทางความคิด การพูด และการกระทำ มีสุภาษิตมากมายที่สอนถึงการปฏิบัติตัวของผู้หญิงให้ถูกต้องเหมาะสม บทเรียนในวันนี้ น้อง ๆ จะได้เรียนรู้เรื่อง สุภาษิตสอนหญิง เป็นหนึ่งในบทเรียนเรื่องสุภาษิตที่มีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างมาก จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราจะดูพร้อมกันเลยค่ะ   สุภาษิตสอนหญิง : ความเป็นมา     สุภาษิตสอนหญิง เป็นวรรณกรรมคำสอนประเภทกลอนสุภาพ แต่งโดยสุนทรภู่ ประมาณปี

สมบัติการคูณจำนวนจริง

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย การให้เหตุผลแบบอุปนัย คือ การนำประสบการณ์มาสรุปผล เช่น เราไปซื้อผลไม้แล้วเราชิมผลไม้ 2-3 ลูก ปรากฏว่า มีรสหวาน เราเลยสรุปว่าผลไม้ทั้งกองนั้นหวาน เป็นต้น ซึ่งการสรุปผลอาจจะเป็นจริงหรือเท็จก็ได้ อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สรุป ดังนั้น ผลสรุปไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เหตุ เมื่อวานแป้งตั้งใจเรียน วันนี้แป้งตั้วใจเรียน ผลสรุป  พรุ่งนี้แป้งจะตั้งใจเรียน การให้เหตุผลแบบนี้ เหมือนเป็นการคาดคะเนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไป ซึ่งการคาดคะเนนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1