I Should Have Done It! โครงสร้างประโยค “รู้งี้”

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับหลักไวยากรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์มากๆ นั่นคือเรื่องการใช้ should have + past participle นั่นเองครับ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยครับ
should have

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Should Have + Past Participle

ในภาษาอังกฤษเราจะใช้โครงสร้าง should have + past participle (กริยาช่อง 3) ในการพูดถึงเรื่องราวในอดีตที่ “ไม่ได้เกิดขึ้นจริง” บางที่อาจจะบอกว่า “ใช้เล่าถึงอดีตที่ตรงข้ามกับความจริงในปัจจุบัน” ซึ่งโครงสร้างนี้มีความหมายว่า “ควรจะ” หรือ “น่าจะ” ใช้แสดงอารมณ์เสียดาย หรือผิดหวังที่เราไม่ได้ทำสิ่งนั้นๆ นั่นเองครับ ซึ่งโครงสร้างของมันก็คือ

should have done

ซึ่งเราสามารถเขียนแบบย่อได้เป็น should’ve

 

ตัวอย่างการใช้ในประโยคบอกเล่า

I should’ve done that.
= (ในตอนนั้น)ฉันน่าจะทำมัน

I should’ve called you last night.
(ฉันน่าจะโทรหาเธอเมื่อคืนนี้)
= ความจริงคือไม่ได้โทรและรู้สึกผิด

You should’ve told me beforehand.
(คุณน่าจะบอกฉันก่อนหน้านี้นะ)
= ความจริงคือไม่ได้บอก

 

Shouldn’t Have + Past Participle

หากเราต้องการทำเป็นประโยคปฏิเสธ เราสามารถเติม not ไว้ข้างหลัง should ได้เลยครับ และสามารถเขียนย่อได้เป็น shouldn’t ซึ่งจะแปลว่า “ไม่น่า…เลย” และเราสามารถเขียนโครงสร้างของมันได้ดังนี้

shouldn't have done

 

ตัวอย่างการใช้แบบประโยคปฏิเสธ

I shouldn’t have done that.
(ฉันไม่น่าทำมันเลย)
= ความจริงคือทำลงไปแล้ว

You shouldn’t have called me. I was in an important meeting.
(คุณไม่ควรโทรหาฉันเลย ตอนนั้นฉันกำลังมีประชุมสำคัญ)
= สามารถอนุมานได้ว่าเขาโทรมาตอนที่เธอกำลังอยู่ในที่ประชุม

She shouldn’t have bought that bag. It’s on sale for 90% today.
(เธอไม่น่าซื้อกระเป๋าใบนั้นเลย ตอนนี้มันกำลังเซลล์ 90%)
= ความจริงคือเธอซื้อกระเป๋ามาแล้วในราคาเต็ม

Mike shouldn’t have left you alone in the cinema.
(ไมค์ไม่ควรทิ้งเธอไว้ในโรงภาพยนตร์คนเดียวเลย)
= ความจริงคือเขาทิ้งเธอไว้ในโรงภาพยนตร์คนเดียว

 

น้องๆ จะเห็นว่าเรื่อง Should Have + Past Participle นั้นเป็นไวยากรณ์เรื่องเล็กๆ แต่สำคัญและได้ใช้บ่อยๆ มากในชีวิตประจำวัน เพราะบางครั้งเราก็เผลอทำอะไรลงไปแล้วค่อยมานึกเสียดาย หรือรู้สึกผิดทีหลังอยู่บ่อยๆ เลยล่ะครับ แต่ถ้าไม่อยากรู้สึกเสียดายทีหลังน้องๆ สามารถตั้งใจดูวิดีโอเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ด้านล่างนี้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

บวก ลบ ทศนิยมอย่างไรให้ตรงหลัก

การบวกและการลบทศนิยมมีหลักการเดียวกันกับการบวกและการลบจำนวนนับคือ ต้องบวกและลบให้ตรงหลัก ดังนั้นหัวใจสำคัญของเรื่องนี้คือต้องเขียนตำแหน่งของตัวเลขให้ตรงหลักไม่ว่าจะเป็นหน้าจุดทศนิยมและหลัดจุดทศนิยม บทความมนี้จะมาบอกหลักการตั้งบวกและตั้งลบให้ถูกวิธี และยกตัวอย่างการบวกการลบทศนิยมที่ทำให้น้อง ๆเห็นภาพและเข้าใจได้อย่างดี

NokAcademy_ม6 Relative Clause

ทบทวนเรื่อง Relative clause + เทคนิค Error Identification

สวัสดีค่ะนักเรียนม. 6 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปดู Relative clause หรือ อนุประโยคในภาษาอังกฤษ ที่ทำหน้าที่เหมือนกันกับคำคุณศัพท์ (Adjective) ซึ่งมีหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหน้า  และจะใช้ตามหลัง Relative Pronoun เช่น  who, whom, which, that, และ whose แต่สงสัยมั้ยคะว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนี้ ลองดูตัวอย่างประโยคด้านล่างแล้วจะร้องอ๋อมากขึ้น พร้อมข้อสอบ Error

การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบกราฟเส้น

ในบทคาวมนี้จะนำเสนอเนื้อของบทเรียนเรื่องกราฟเส้น นักเรียนจะสามารถเข้าในหลักการอ่านและการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟเส้น รวมไปถึงสามารถมองความสัมพันธ์ของข้อมูลในแกนแนวตั้งและแนวนอนของกราฟเส้นได้อย่างถูกต้อง

รู้ไว้ไม่พลาด! คำที่มักเขียนผิด ในภาษาไทย มีคำว่าอะไรบ้าง?

ปัจจุบัน ปัญหาเรื่องการสะกดคำในภาษาไทยถือเป็นปัญหาใหญ่หลัก ๆ ของเด็กทุกคนในสมัยนื้ เนื่องจากว่าโลกของเรามีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เพื่อให้สะดวกต่อการใช้ในโซเชี่ยลมีเดียพูดคุยกับเพื่อน โดยการจะตัดคำให้สั้นลงหรือเปลี่ยนตัวสะกด ลดการใช้ตัวการันต์ ทำให้เมื่อต้องมาเขียนคำที่ถูกต้องกันจริง ๆ ก็มีเด็ก ๆ หลายคนที่สะกดผิด ไม่รู้ว่าคำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร น้อง ๆ อยากลองสำรวจตัวเองดูกันไหมคะว่าคำในภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เราเขียนถูกกันมากน้อยแค่ไหน อยากถามรู้แล้วเราไปดูเรื่อง คำที่มักเขียนผิด พร้อมกันเลยค่ะ   การเขียนสะกดคำ  

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ

ฟังก์ชันประกอบ ฟังก์ชันประกอบ คือฟังก์ชันที่เกิดจากการหาค่าฟังก์ชันที่ส่งจากเซต A ไปเซต C โดยที่ f คือฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไปยัง B และ g เป็นฟังก์ชันที่ส่งจาก B ไปยัง C เราเรียกฟังก์ชันที่ส่งจาก A ไป C นี้ว่า gof  จากรูป

can could

การตั้งคำถามโดยใช้ Can และ Could

สวัสดีน้องๆ ป. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้กริยาช่วยคือ Can และ Could กันครับ ถ้าพร้อมแล้วเราลองไปดูกันเลย

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1