Be Able To คืออะไร? ต่างจาก ‘can’ ‘could’ อย่างไร?

สวัสดีน้องๆ ม. 6 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ‘be able to’ ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรนั้นเราลองไปดูกันเลยครับ
Be able to

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Be able to คือ?

ในภาษาไทยนั้น ‘be able to’ จะแปลได้ว่า “สามารถ” ครับ ซึ่งน้องๆ อาจจะคุ้นเคยกับคำว่า ‘can’ หรือ ‘could’ กันมาบ้างแล้วใช่ไหมครับ ซึ่งนอกจาก 2 คำนี้แล้วนั้น น้องๆ สามารถใช้ ‘bee able to’ ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามคำเหล่านี้ก็จะมีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย เรามาเริ่มจากโครงสร้างของมันก่อนดีกว่าครับ

be able to

 

ตัวอย่างเช่น

I am able to do that for you.
= I can do that for you

ซึ่งทั้ง 2 ประโยคนี้แปลได้เหมือนกันว่า “ฉันสามารถทำให้คุณได้”

 

แตกต่างจาก ‘can’ และ ‘could’ อย่างไร

อย่างไรก็ตามคำว่า ‘be able to’ นั้นก็มีความแตกต่างจากคำว่า ‘can’ และ ‘could’ เล็กน้อย นั่นก็คือ can/could นั้นปกติจะใช้บอกถึงสิ่งที่เราทำได้/ไม่ได้ โดยเป็นความสามารถที่ติดตัวเรามาอยู่แล้ว แต่ be able to นั้นจะใช้กับสิ่งที่เราทำได้/ไม่ได้ในชั่วขณะนั้น น้องๆ ลองดูความแตกต่างระหว่างสองประโยคนี้ครับ

 

1) He cannot swim. He’s never learned how to swim.
เขาว่ายน้ำไม่ได้ เขาไม่เคยเรียนว่ายน้ำ

2) He is not able to swim. The swimming pool is closed today.
เขาว่ายน้ำไม่ได้ สระว่ายน้ำปิดวันนี้

 

น้องๆ จะสังเกตได้ว่า ประโยคที่ 1 นั้นเขาว่ายน้ำไม่ได้เนื่องจากเขาว่ายไม่เป็น ไม่เคยเรียนว่ายน้ำนั่นเอง
ต่างจากประโยคที่ 2 ที่เขาว่ายน้ำได้ แต่เนื่องจากสระว่ายน้ำปิดวันนี้ ทำให้เขาไม่สามารถว่ายน้ำได้ (ในวันนี้)นั่นเองครับ

 

นอกจากนั้น beeable to ยังสามารถใช้บอกความสามารถที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วยครับ ซึ่งต่างจาก ‘can’ ที่ใช้บอกความสามารถในปัจจุบัน และ ‘could’ ที่ใช้พูดถึงความสามารถในอดีต เช่น

 

You will be able to use your arm by the end of next month.
คุณจะสามารถใช้แขนของคุณได้ช่วงปลายเดือนหน้า

 

จากตัวอย่างน้องๆ จะสามารถเดาได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่คนๆ หนึ่งเกิดอุบัติเหตุทำให้แขนของเขาใช้งานไม่ได้ คุณหมอจึงบอกว่าแขนเขาจะกลับมาใช้งานได้ปกติในปลายเดือนหน้านั่นเองครับ

example

 

และนี้ก็เป็นวิธีการใช้โครงสร้าง ‘be able to’ และความแตกต่างจาก ‘can’ และ ‘could’ นั่นเองครับ เข้าใจไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะครับ? หากน้องๆ ต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถรับชมวิดีโอเรื่องนี้จากช่อง Nock Academy ได้ตามลิ้งก์ด้านล่างเลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
เรียนพิเศษออนไลน์ ดูได้ทั้ง 4 รายวิชา - NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

วิชชุมมาลาฉันท์

เรียนรู้การแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 ฉันท์ที่เปล่งสำเนียงยาวดุจสายฟ้า

ฉันท์ คือ ลักษณะถ้อยคำที่กวีได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อให้เกิดความไพเราะ โดยกำหนดครุ ลหุ และสัมผัสไว้เป็นมาตรฐาน มีด้วยกันมากมายหลายชนิด จากที่บทเรียนครั้งก่อนเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับที่มาและพื้นฐานการแต่งฉันท์ไปแล้ว บทเรียนในวันนี้เราจะมาเจาะลึกให้ลึกขึ้นไปอีกด้วยการฝึกแต่ง วิชชุมมาลาฉันท์ 8 กันค่ะ ฉันท์ประเภทนี้จะเป็นอย่างไร ทำไมถึงเป็น 8  ถ้าพร้อมแล้วเราไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   คำประพันธ์ประเภท ฉันท์   ฉันท์ในภาษาไทยได้แบบแผนมาจากอินเดีย ในสมัยพระเวท แต่ลักษณะฉันท์ในสมัยพระเวทไม่เคร่งครัดเรื่องครุ ลหุ นอกจากจะบังคับเรื่องจำนวนคำในแต่ละบท

การหารเลขยกกำลัง

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก

การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก บทความนี้ ได้รวบรวมตัวอย่าง การหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ซึ่งทำได้โดยการใช้สมบัติการหารของเลขยกกำลัง ก่อนจะเรียนรู้ ตัวอย่างการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก น้องๆจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่อง การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ การคูณเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก ⇐⇐ สมบัติของการหารเลขยกกำลัง  am ÷ an  = am – n     (ถ้าเลขยกกำลังฐานเหมือนกันหารกัน ให้นำเลขชี้กำลังมาลบกัน)

past simple tense

Past Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ม. 4 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่อง Past Simple Tense ในภาษาอังกฤษ จะเป็นอย่างไรลองไปดูกันเลยดีกว่าครับ

Modal Auxiliaries ที่สำคัญ

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.4 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Modal Auxiliaries หรือ Modal verbs “ ที่ใช้บ่อยพร้อมเทคนิคการใช้งานง่ายๆกันค่า Let’s go! ไปลุยกันเลยจร้า รู้จักกับ Modal Auxiliaries Modal Auxiliaries คือ กริยาช่วยกลุ่ม  Modal verbs หรือ  บางครั้งเรียกว่า

พระบรมราโชวาท จดหมายของร.5ที่เขียนถึงพระโอรส

พระบรมราโชวาท เป็นจดหมายร้อยแก้วที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เขียนให้พระโอรสทั้ง 4 พระองค์ก่อนจะไปศึกษาต่างประเทศ เหตุใดเนื้อความในจดหมายถึงกลายเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่าให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา บทเรียนในวันนี้จะพาไปเรียนรู้ประวัติความเป็นมาและเนื้อหาโดยรวมของเนื้อความเพื่อให้เข้าใจถึงคำสอนและข้อคิดจากพระบรมราโชวาทของพระมหากษัตริย์ในแง่มุมของพ่อสอนลูก จะเป็นอย่างไรไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   ประวัติความเป็นมา     วรรณคดีเรื่องพระบรมราโชวาท เป็นคำสั่งสอนของรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีต่อพระราชโอรสทั้ง 4 พระองค์ที่กำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระองค์จึงมีพระบรมราโชวาทเพื่อสั่งสอนและตักเตือนพระราชโอรส ซึ่งในการส่งไปศึกษาต่อในครั้งนี้ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาชนและประเทศชาติ    

สถิติ (เส้นโค้งความถี่)

บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง สถิติ (เส้นโค้งความถี่)  ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆจะต้องมีความรู้ในเรื่อง    ค่ากลางของข้อมูล และการวัดการกระจายของข้อมูล สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ สถิติ (ค่ากลางของข้อมูล/การกระจายของข้อมูล) ⇐⇐ เส้นโค้งของความถี่ จะมีอยู่ 3 แบบ คือ เส้นโค้งปกติ เส้นโค้งเบ้ขวา และเส้นโค้งเบ้ซ้าย ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับค่ากลางของข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ)   มัธยฐาน (Med) และฐานนิยม

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1

Nockacademy web logo 3

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1