Second Conditional Sentence: ประโยคเงื่อนไขแบบที่ 2

สวัสดีน้องๆ ม. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ Conditional Sentence หรือ If Clause รูปแบบที่ 2 กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
second conditional

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

Second Conditional

โครงสร้างประโยคแบบ Second Conditional หรือที่น้องๆ อาจจะรู้จักในชื่อ If Clause แบบที่ 2 นั้น เป็นโครงสร้างที่ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบัน หรือมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมากๆ หรือเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งโครงสร้างของมันคือ

second conditional structure

 

วิธีการใช้

เราสามารถจำแนกวิธีการใช้ออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ

  • ใช้พูดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้จริง อาจจะเกิดจากการจินตนาการหรือเพ้อฝัน เช่น

If I won the lottery, I would buy a new laptop.
(ถ้าฉันถูกหวย ฉันจะซื้อแล็ปท็อปเครื่องใหม่)

 

If she married Robert Pattinson, she would be happy.
(ถ้าเธอแต่งงานกับโรเบิร์ต แพตตินสัน เธอจะมีความสุข)

example

 

  • ใช้พูดถึงสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน เช่น

If I had his number, I would call him.
(ถ้าฉันมีเบอร์เขา ฉันจะโทรหาเขา)
=ความจริงคือฉันไม่มีเบอร์เขา

If I were you, I wouldn’t go out with that guy.
(ถ้าฉันเป็นคุณ ฉันจะไม่ออกไปกับผู้ชายคนนั้น)
=ความจริงคือฉันไม่ใช่เธอ

If she studied hard, she would pass the exam.
(ถ้าเธอเรียนหนัก เธอจะสอบผ่าน)
=ความจริงคือเธอไม่ตั้งใจเรียน และสอบไม่ผ่าน

second conditional

 

ข้อควรจำ

  • น้องๆ สามารถสลับประโยคที่เป็นเหตุและผลกันได้ เช่น

If I had his number, I would call him. = I would call him if I had his number.

โดยหากคำว่า if อยู่กลางประโยคน้องๆ ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายคอมม่า (,) แต่หาก if ขึ้นต้นประโยคจะต้องใส่คอมม่าคั่นระหว่างประโยคทุกครั้ง

  • นอกจากกริยา would แล้ว น้องๆ สามารถใช้ could หรือ might แทนได้เช่นกัน
  • ประธานไม่ว่าจะเป็นเอกพจน์ หรือพหูพจน์หากอยู่ในโครงสร้างนี้โดยใช้ Verb to be จะใช้ were ตัวเดียวเท่านั้น
  • ประโยคเงื่อนไขรูปแบบที่ 2 นี้ออกข้อสอบบ่อยมากๆ ฉะนั้นน้องๆ ต้องหมั่นใช้ให้คล่องนะครับ

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับประโยคแบบ Second Conditional หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ม. 5 ทั้งในชีวิตประจำวันและในการสอบนะครับ หากน้องๆ คนไหนอยากเรียนรู้เพิ่มเติมก็สามารถรับชมวิดีโอจากช่อง Nock Academy ด้านล่างได้เลยครับ

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

verb to be

Verb to be ใน Present Simple Tense

สวัสดีน้องๆ ป. 5 ทุกคนนะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เรื่อง Simple Simple อย่าง Verb to be ใน Present Simple Tense กันครับ ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย

NokAcademy_ ม6Passive Modals

มารู้จักกับ Passive Modals

สวัสดีค่านักเรียนชั้นม.6 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปดู ” Passive Modals” ที่ใช้บ่อยพร้อม เทคนิคการจำและนำไปใช้ และทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน กันค่า Let’s go! ไปลุยกันโลดเด้อ   Passive Modals คืออะไรเอ่ย   Passive Modals คือ กลุ่มของ Modal verbs ที่ใช้ในโครงสร้าง

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ปก

กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น

บทความนี้จะเป็นการสอนวิธีการเขียน กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ซึ่งทำได้โดยการหาความสัมพันธ์ของจำนวนสองจำนวน เขียนให้อยู่ในรูปคู่อันดับ และเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ข้างต้น ซึ่งน้องๆสามารถศึกษาการเขียนกราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้นเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น ⇐⇐ คู่อันดับ กราฟของความสัมพันธ์เชิงเส้น เขียนแสดงความเกี่ยวข้องของปริมาณสองปริมาณที่กำหนดให้ โดยความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณสองปริมาณที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น ปริมาณของน้ำประปาที่ใช้กับค่าน้ำ ปริมาณเวลาในการใช้โทรศัพท์กับค่าโทรศัพท์ ระยะทางที่โดยสารรถประจำทางปรับอากาศกับค่าโดยสาร ปริมาณของกระแสไฟฟ้ากับค่าไฟฟ้า เป็นต้น เราสามารถเขียนแสดงความสัมพันธ์เหล่านี้ในรูปตาราง แผนภาพ คู่อันดับ รวมทั้งแสดงในรูปของกราฟได้ ซึ่งในหัวข้อนี้ เราจะทำความรู้จักกับคู่อันดับกันก่อนนะคะ

การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้การอ่านแผนภูมิรูปวงกลมรวมทั้งส่วนประกอบต่างที่ควรรู้เกี่ยวกับแผนภูมิรูปวงกลม

การเปลี่ยนแปลงของประโยค

การเปลี่ยนแปลงของประโยค ศึกษาธรรมชาติของภาษาที่ยังไม่ตาย

ภาษาเป็นกลไกสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับสังคมมนุษย์ คำและประโยคในทุกภาษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือหายไปพร้อมกับความเจริญและเสื่อมของสังคมตามยุคสมัย ภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะถูกนับเป็นภาษาที่ตายแล้ว ภาษาไทยเป็นอีกภาษาหนึ่งที่ยังคงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ บทเรียนในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของประโยค หนึ่งในเรื่องราวที่น่าสนใจของเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางภาษา จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปเรียนรู้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   การเปลี่ยนแปลงทางภาษา     ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางภาษา   1. เกิดจากปัจจัยทางสังคม   2. ลักษณะการออกเสียงของผู้พูด ในบางครั้งผู้พูดจะไม่สามารถออกเสียงคำได้อย่างถูกต้องทุกคำ

จุด

จุด : เรขาคณิตวิเคราะห์

จุด จุด เป็นตัวบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆ เช่น ตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ ในเรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์ จุดใช้บอกตำแหน่งในระนาบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ เช่น   ระยะทางระหว่างจุดสองจุด เราสามารถหาระยะทางระหว่างจุดสองจุดได้ โดยใช้สูตร โดยจะกำหนดให้  และ  เป็นจุดในระนาบ เราจะได้ว่าระยะห่างระหว่างจุดทั้งสองหาได้จาก ตัวอย่าง ระยะห่างระหว่าง A(1,1) และ

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1