Passive Voice ในอดีต

M5 Past Passive

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด

 

ความหมาย

M5 Past Passive (2)

Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive Voice ในรูปอดีตนั่นเอง เช่นตัวอย่างและโครงสร้างประโยคด้านล่าง เพราะฉะนั้นการเรียนเรื่องนี้จะทำให้เราเข้าใจการใช้  Passive voice กับความหมายในรูปอดีตกันจร้า

 

Past Passive VS Past Simple Tense

 

M5 Past Passive

การใช้  Past Simple Tense ร่วมกับ Past Passive นั้นเป็นโครงสร้างที่เจอบ่อยมากๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และในข้อสอบ สำหรับการใช้นั้น ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

 

 

  • โครงสร้าง Past Passive: Subject + was, were, + V.3 (Past Participle)

 

ตัวอย่างประโยค:

My money was stolen yesterday.
ตังค์ของฉันถูกขโมยเมื่อวานนี้

 

ตารางแสดงจุดที่มักผิดบ่อยๆ ใน Past Passive

 

M5 Past Passive (4)

 

จุดที่มักผิดบ่อยๆ วิธีแก้ให้ถูกต้อง ความหมาย
This motorbike fixed yesterday. This motorbike was fixed yesterday. รถมอเตอร์ไซค์คันนี้พึ่งได้รับซ่อม เมื่อวาน
The house was broke last night. The house was broken. บ้านถูกทำลาย
My car was repairing by the mechanic. My car was being repaired by the mechanic. รถของฉันถูกช่างซ่อม
John had be invited to the birthday party. John had been invited

to the birthday party.

จอห์นได้รับเชิญ ไปงานวันเกิด

 

ตัวอย่างประโยคสนทนา

Jennifer: Wha happened? 
เจนนิเฟอร์: เกิดอะไรขึ้น 

Jessica: I had my bag stolen yesterday.
เจสสิกา: เมื่อวานฉันทำกระเป๋าหาย

Jennifer: Wait what? Was it all gone?
เจนนิเฟอร์: ห้ะ อะไรนะ มันหายไปทั้งกระเป๋าเลยเหรอ

 

ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice

 

Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ 

Active Voice คือประโยคที่เน้นประธาน เน้นว่าใครทำอะไร

หลักการสร้างประโยค Passive Voice

M5 Past Passive (5)

  1. เปลี่ยนกรรม ของประโยค Active ไปเป็นประธานของประโยค Passive
  2. ผัน to be ตามประธาน เช่น ประธานเป็นเอกพจน์ v. to be จะใช้ is (Present simple tense), was (Past simple tense)
    ส่วนประธานพหูพจน์ I, You, We, They , Girls เหล่านี้กริยา ต้องใช้ are(Present simple tense), were (Past simple tense)
  3. เปลี่ยน คำกริยาแท้ ให้เป็น Past Participle (V.3) อันนี้ต้องไปท่องกริยา3 ช่อง เพิ่มเติมจร้า
  4. นำประธานของ Active ไปเป็นกรรมของ Passive โดยวางไว้หลัง by เพื่อเน้นผู้กระทำ แต่เราสามารถละไว้ได้

ตัวอย่าง

Active: A teacher teaches English.
Passive: English is taught (by a teacher.)

เพิ่มเติม:

ถ้าในประโยคมีกรรมสองตัวคือ กรรมตรง (Direct Object) เป็นสิ่งของ และ กรรมรอง (Indirect Object) เป็นคน เมื่อเปลี่ยนเป็นประโยค Passive มักนำกรรมรอง (คน) มาเป็นประธาน แต่ถ้าจะนำกรรมตรง (สิ่งของ) มาเป็นประธานจะต้องใส่ to ที่หน้ากรรมรอง (คน)

***ท่องว่า “กรรมตรงของ ต้อง (กรรม)รองคน”

 

  • ประโยคบอกเล่า:

Active: She was cooking a noodle.
แปล หล่อนกำลังทำก๋วยเตี๋ยว

Passive: A noodle was being cooked by her.
แปล ก๋วยเตี๋ยวกำลังถูกทำโดยหล่อน

 

 

  • Passive voice ที่เคยเรียนมา ก็คือประโยคที่เน้นกรรม “ประธานถูกกระทำ”  มีโครงสร้างง่ายๆ ดังนี้

Subject+ V. to be + V.3 (Past participle)

เช่น
A car was crashed on the road.
รถถูกชนบนถนน

สรุปโครงสร้าง Past Passive

M5 Past Passive (6)

ในภาษาอังกฤษนั้น หากเราสามารถจำโครงสร้างของ Passive voice ได้ จะทำให้เราสามารถใช้ไวยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถแต่งประโยคได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการทำข้อสอบโดยเฉพาะข้อสอบ Error ได้อย่างสบาย

 

Tense and Voice Structure Examples
  Past simple   Active   S + V.2 Daniel washes the sport car.
แดเนียลล้างรถสปอร์ต
  Passive   S + was/were + V.3 The sport car is washed by Daniel.
รถสปอร์ตถูกล้างโดยแดเนียล
  Past continuous   Active   S + was/were + V.ing The are killing a dog.
พวกเขากำลังฆ่าสนุข
  Passive   S + was/were + being + V.3 A dog is being killed.

สุนัขกำลังถูกฆ่า

  Past perfect   Active   S + had + V.3 Tiffany  had found the right one.

ทิฟฟานี่ได้เจอคนที่ใช่แล้ว

  Passive   S + had + been + V.3 The right one had been found by Tiffany.

คนที่ใช่ได้เจอกับทิฟฟานี่แล้ว

  Past perfect continuous   Active   S + had + been + V.ing They had been destroying the forest.

พวกเขาได้ทำลายป่า

  Passive   S + had + been + being + V.3 The forest had been being destroyed.

ป่าไม้ถูกทำลาย 

เพิ่มเติม: เราสามารถใช้ Passive voice ในการเขียนแบบวิชาการทางการหรืองานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งพบได้ในบทความ หนังสือพิมพ์ วิจัย และผลงานทางด้านวิชาการเป็นส่วนใหญ่น๊า

 

กริยาช่วยกับ Past Passive

M5 Past Passive (7)

 

ตัวอย่างการใช้ Passive voice กับ โครงสร้าง “Modal verbs(in the past) + be +V.3” กลุ่มของ Modal verbs ที่ควรรู้จักคือ shall, should, will, would,  may, might can, could, must, ought to, used to แต่โครงสร้าง “Past Passive” จะเน้นกริยาช่วยกลุ่มที่เป็นอดีตนั่นเอง 

***ดังตัวอย่างการเทียบประโยคการใช้ Passive voice ในปัจจุบันกับอดีต 

 Present Passive

Past Passive

 

โครงสร้าง: Modal + be + Past participle  โครงสร้าง:  Modal + have been + Past participle
It can be done.
สามารถทำให้สำเร็จได้
It could have been done.
มันเป็นไปได้ (แต่อาจไม่ได้ทำ)
A donation for Covid-19 might be made.

การบริจาคเงินช่วย Covid-19 นั้นอาจสามารถทำได้

A donation for Covid-19 might have been made if it won’t lock down.

อาจมีการบริจาคสำหรับโควิด-19 หากไม่ล็อคดาวน์

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะเข้าใจ “การใช้ Passive Voice ที่ใช้ในอดีต” หรือยังเอ่ย ถ้าเกิดว่านักเรียนยังมีข้อสงสัยสามารถทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมได้
ที่วีดีโอด้านล่างเลยนะคะ
กดปุ่มเพลย์เพื่อทบทวนบทเรียนกันโลด

Take care guys!

ดูแลตัวเองด้วยน๊า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาและเรื่องย่อของ มหาชาติชาดก กัณฑ์มัทรี

มหาชาติชาดก หรือมหาเวสสันดรชาดก เป็นชาดกที่ได้ชื่อว่าเป็น มหาชาติ เพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนจะมาจุติเป็นพระพุทธเจ้า จากบทเรียนที่เคยเรียนรู้กันตอน ม.4 น้อง ๆ คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่ามหาชาตินี้มีด้วยกันทั้งหมด 13 กัณฑ์ โดยเรื่องที่เราจะได้เรียนกันเจาะลึกกันไปอีกในวันนี้ คือ กัณฑ์มัทรี นั่นเองค่ะ ถ้าน้อง ๆ อยากรู้แล้วว่าเป็นอย่างไร ก็ไปเรียนรู้พร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา     มหาชาติชาดกเป็นเรื่องราวในอดีตกาลของพระพุทธเจ้าที่เล่าให้กับเหล่าประยูรญาติฟังเมื่อครั้งเสด็จกลับเมืองและได้แสดงอภินิหาร

NokAcademy_Past Tense และ Present Continuous Tense

เรียนรู้ เรื่อง Past Tense และ Present Continuous Tense

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นป.5 ที่น่ารักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ เรื่อง Past Tense และ Present Continuous Tense  ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด มาเริ่มกันกับ Past Tenses   ก่อนอื่นเราจะต้องรู้จักก่อนว่า การเล่าถึงงเหตุการณ์ในอดีตนั้นเราสามารถเล่าได้หลายแบบ ครูจะขอยกตัวอย่างจากสถาณการณ์การใช้ไปหาโครงสร้างและคำศัพท์ที่จำเป็นเพื่อให้เราเข้าใจความสำคัของ Tense นั้นๆ ร่วมกับเทคนิค “Situational usage”

โจทย์ปัญหาการวัด ม.2

ในบทความนี้เราจะได้เรียนรู้ตัวอย่างโจทย์การแปลงหน่วย และหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆ พร้อมทั้งเรียนรู้การใช้สูตรที่เร็วขึ้น

Past Time

Past Time หรือ เวลาในอดีต

สวัสดีค่ะนักเรียน ม.1 ที่น่ารักทุกคน วันนี้ครูจะพาไปดูเทคนิคและวิธีการใช้ Past Time หรือ เวลาในอดีต ซึ่งเมื่อเล่าถึงเวลาในอดีตส่วนใหญ่แล้วเรามักเจอคำว่า yesterday (เมื่อวานนี้), 1998 (ปี ค.ศ. ที่ผ่านมานานแล้ว), last month (เดือนที่แล้ว)  และกลุ่มคำอื่นๆ ที่กำกับเวลาในอดีต ซึ่งเราจะเจอ Past Time ในกลุ่ม Past

เห็นแก่ลูก ศึกษาความเป็นมาบทละครพูดเรื่องแรกของไทย

  บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นวรรณคดีเรื่องแรกที่น้อง ๆ ม.3 ทุกคนจะได้เรียน ความพิเศษของวรรณคดีไทยเรื่องนี้คือเป็นบทละครพูดเรื่องแรกของไทยอีกทั้งยังได้รับการแปลไปยันต่างประเทศอีก 13 ภาษา วรรณคดีเรื่องนี้มีความสำคัญและมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ถึงโด่งดัง เป็นที่รู้จัก และได้มาอยู่ในแบบเรียนภาษาไทย ถ้าพร้อมแล้วเราไปศึกษาประวัติความเป็นมาของวรรณคดีเรื่องนี้กันเลยค่ะ   ความเป็นมา บทละครพูด เห็นแก่ลูก     บทละครพูด เห็นแก่ลูก เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามแฝงว่าพระขรรค์เพชร

เรียนรู้เรื่องการสร้างคำประสมในภาษาไทย

การสร้างคำประสม   คำพูดที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนั้น ๆ น้องรู้ไหมคะว่ามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงเกิดเป็นคำนี้ให้เราเอามาพูดกันได้ นั่นก็เพราะว่าในภาษาไทยเรานั้นมีสิ่งที่เรียกว่าการสร้างคำอยู่นั่นเองค่ะ ซึ่งการสร้างคำก็มีทั้งคำที่ถูกสร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะ เป็นคำมูล คำไทยแท้ กับอีกลักษณะคือการสร้างคำจากคำมูลนั่นเองค่ะ บทเรียนภาษาไทยในวันนี้จะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้การสร้างคำประสมในภาษาไทย คำประสมคือคำแบบใดบ้าง เราไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ   คำประสม     คำประสม หมายถึงคำที่เกิดจากนำคำ 2

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1