Passive Voice ในอดีต

M5 Past Passive

สารบัญ

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.

 

Hi guys! สวัสดีค่ะนักเรียนชั้นม.5 ทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้เรื่อง Past Passive กันค่ะ ก่อนอื่นจะต้องไปรู้ความหมายกันก่อนน๊าว่ามันคืออะไร พร้อมแล้วก็ไปลุยกันโลด

 

ความหมาย

M5 Past Passive (2)

Past หมายถึง อดีต ส่วน Passive มาจาก Passive voice หมายถึง ประโยคที่ประธานถูกกระทำ รวมแล้วหมายถึงการใช้ Passive Voice ในรูปอดีตนั่นเอง เช่นตัวอย่างและโครงสร้างประโยคด้านล่าง เพราะฉะนั้นการเรียนเรื่องนี้จะทำให้เราเข้าใจการใช้  Passive voice กับความหมายในรูปอดีตกันจร้า

 

Past Passive VS Past Simple Tense

 

M5 Past Passive

การใช้  Past Simple Tense ร่วมกับ Past Passive นั้นเป็นโครงสร้างที่เจอบ่อยมากๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และในข้อสอบ สำหรับการใช้นั้น ใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต

 

 

  • โครงสร้าง Past Passive: Subject + was, were, + V.3 (Past Participle)

 

ตัวอย่างประโยค:

My money was stolen yesterday.
ตังค์ของฉันถูกขโมยเมื่อวานนี้

 

ตารางแสดงจุดที่มักผิดบ่อยๆ ใน Past Passive

 

M5 Past Passive (4)

 

จุดที่มักผิดบ่อยๆ วิธีแก้ให้ถูกต้อง ความหมาย
This motorbike fixed yesterday. This motorbike was fixed yesterday. รถมอเตอร์ไซค์คันนี้พึ่งได้รับซ่อม เมื่อวาน
The house was broke last night. The house was broken. บ้านถูกทำลาย
My car was repairing by the mechanic. My car was being repaired by the mechanic. รถของฉันถูกช่างซ่อม
John had be invited to the birthday party. John had been invited

to the birthday party.

จอห์นได้รับเชิญ ไปงานวันเกิด

 

ตัวอย่างประโยคสนทนา

Jennifer: Wha happened? 
เจนนิเฟอร์: เกิดอะไรขึ้น 

Jessica: I had my bag stolen yesterday.
เจสสิกา: เมื่อวานฉันทำกระเป๋าหาย

Jennifer: Wait what? Was it all gone?
เจนนิเฟอร์: ห้ะ อะไรนะ มันหายไปทั้งกระเป๋าเลยเหรอ

 

ความแตกต่างของ Passive Voice VS Active Voice

 

Passive Voice คือประโยคที่เน้นกรรม เน้นว่าใครถูกทำ 

Active Voice คือประโยคที่เน้นประธาน เน้นว่าใครทำอะไร

หลักการสร้างประโยค Passive Voice

M5 Past Passive (5)

  1. เปลี่ยนกรรม ของประโยค Active ไปเป็นประธานของประโยค Passive
  2. ผัน to be ตามประธาน เช่น ประธานเป็นเอกพจน์ v. to be จะใช้ is (Present simple tense), was (Past simple tense)
    ส่วนประธานพหูพจน์ I, You, We, They , Girls เหล่านี้กริยา ต้องใช้ are(Present simple tense), were (Past simple tense)
  3. เปลี่ยน คำกริยาแท้ ให้เป็น Past Participle (V.3) อันนี้ต้องไปท่องกริยา3 ช่อง เพิ่มเติมจร้า
  4. นำประธานของ Active ไปเป็นกรรมของ Passive โดยวางไว้หลัง by เพื่อเน้นผู้กระทำ แต่เราสามารถละไว้ได้

ตัวอย่าง

Active: A teacher teaches English.
Passive: English is taught (by a teacher.)

เพิ่มเติม:

ถ้าในประโยคมีกรรมสองตัวคือ กรรมตรง (Direct Object) เป็นสิ่งของ และ กรรมรอง (Indirect Object) เป็นคน เมื่อเปลี่ยนเป็นประโยค Passive มักนำกรรมรอง (คน) มาเป็นประธาน แต่ถ้าจะนำกรรมตรง (สิ่งของ) มาเป็นประธานจะต้องใส่ to ที่หน้ากรรมรอง (คน)

***ท่องว่า “กรรมตรงของ ต้อง (กรรม)รองคน”

 

  • ประโยคบอกเล่า:

Active: She was cooking a noodle.
แปล หล่อนกำลังทำก๋วยเตี๋ยว

Passive: A noodle was being cooked by her.
แปล ก๋วยเตี๋ยวกำลังถูกทำโดยหล่อน

 

 

  • Passive voice ที่เคยเรียนมา ก็คือประโยคที่เน้นกรรม “ประธานถูกกระทำ”  มีโครงสร้างง่ายๆ ดังนี้

Subject+ V. to be + V.3 (Past participle)

เช่น
A car was crashed on the road.
รถถูกชนบนถนน

สรุปโครงสร้าง Past Passive

M5 Past Passive (6)

ในภาษาอังกฤษนั้น หากเราสามารถจำโครงสร้างของ Passive voice ได้ จะทำให้เราสามารถใช้ไวยากรณ์ได้อย่างถูกต้อง และสามารถแต่งประโยคได้อย่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น รวมถึงการทำข้อสอบโดยเฉพาะข้อสอบ Error ได้อย่างสบาย

 

Tense and Voice Structure Examples
  Past simple   Active   S + V.2 Daniel washes the sport car.
แดเนียลล้างรถสปอร์ต
  Passive   S + was/were + V.3 The sport car is washed by Daniel.
รถสปอร์ตถูกล้างโดยแดเนียล
  Past continuous   Active   S + was/were + V.ing The are killing a dog.
พวกเขากำลังฆ่าสนุข
  Passive   S + was/were + being + V.3 A dog is being killed.

สุนัขกำลังถูกฆ่า

  Past perfect   Active   S + had + V.3 Tiffany  had found the right one.

ทิฟฟานี่ได้เจอคนที่ใช่แล้ว

  Passive   S + had + been + V.3 The right one had been found by Tiffany.

คนที่ใช่ได้เจอกับทิฟฟานี่แล้ว

  Past perfect continuous   Active   S + had + been + V.ing They had been destroying the forest.

พวกเขาได้ทำลายป่า

  Passive   S + had + been + being + V.3 The forest had been being destroyed.

ป่าไม้ถูกทำลาย 

เพิ่มเติม: เราสามารถใช้ Passive voice ในการเขียนแบบวิชาการทางการหรืองานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งพบได้ในบทความ หนังสือพิมพ์ วิจัย และผลงานทางด้านวิชาการเป็นส่วนใหญ่น๊า

 

กริยาช่วยกับ Past Passive

M5 Past Passive (7)

 

ตัวอย่างการใช้ Passive voice กับ โครงสร้าง “Modal verbs(in the past) + be +V.3” กลุ่มของ Modal verbs ที่ควรรู้จักคือ shall, should, will, would,  may, might can, could, must, ought to, used to แต่โครงสร้าง “Past Passive” จะเน้นกริยาช่วยกลุ่มที่เป็นอดีตนั่นเอง 

***ดังตัวอย่างการเทียบประโยคการใช้ Passive voice ในปัจจุบันกับอดีต 

 Present Passive

Past Passive

 

โครงสร้าง: Modal + be + Past participle  โครงสร้าง:  Modal + have been + Past participle
It can be done.
สามารถทำให้สำเร็จได้
It could have been done.
มันเป็นไปได้ (แต่อาจไม่ได้ทำ)
A donation for Covid-19 might be made.

การบริจาคเงินช่วย Covid-19 นั้นอาจสามารถทำได้

A donation for Covid-19 might have been made if it won’t lock down.

อาจมีการบริจาคสำหรับโควิด-19 หากไม่ล็อคดาวน์

 

เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะเข้าใจ “การใช้ Passive Voice ที่ใช้ในอดีต” หรือยังเอ่ย ถ้าเกิดว่านักเรียนยังมีข้อสงสัยสามารถทบทวนบทเรียนเพิ่มเติมได้
ที่วีดีโอด้านล่างเลยนะคะ
กดปุ่มเพลย์เพื่อทบทวนบทเรียนกันโลด

Take care guys!

ดูแลตัวเองด้วยน๊า

NockAcademy คือโรงเรียนออนไลน์สำหรับเด็ก โดยแอปฯ และเว็บไซต์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ผ่านคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย
มากไปกว่านั้น เรายังมีคอร์สเรียนออนไลน์ การสอนพิเศษ การติวนอกสถานที่โดยติวเตอร์ที่แน่นไปด้วยความรู้ อีกด้วย

Add LINE friends for one click to find article. Add LINE friends for one click to find article.
ครูผู้สอน NockAcademy

แค่ 10 นาที ก็เข้าใจได้

สามารถดูคลิปบทเรียนวิชา คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ที่มีมากกว่า 2,000+ คลิป และยังสามารถทำแบบทดสอบที่มีมากกว่า 4000+ ข้อ

แนะนำ

แชร์

ที่มาของขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม

​ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมที่เชื่อว่ามีเค้าเรื่องจริงในสมัยอยุธยา มีมากมายหลายตอน แต่ตอนที่ถูกนำมาให้เด็กได้เรียนกันมีด้วยกันสองตอนคือกำเนิดพลายงามและขุนช้างถวายฎีกา สำหรับตอนที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กันในวันนี้คือตอน กำเนิดพลายงาม ซึ่งคือว่าเป็นตอนที่สำคัญอย่างมากเพราะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดของเรื่อง ตอนนี้จะมีความเป็นมา เรื่องย่อ และมีความดีเด่นอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ   ความเป็นมา   ขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณคดีที่มีมาอย่างยาวนาน แต่ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระเสภาขุนช้างขุนแผน ได้ทรงประชุมกวีเอกสมัยนั้น ช่วยกันแต่งคนละตอนสองตอน สุนทรภู่ก็ได้รับมอบหมายให้ร่วมแต่งด้วย และท่านคงต้องแต่งอย่างสุดฝีมือทำให้ตอน

เสียงสระในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทยมีทั้งหมด 3  เสียงคือพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ จากที่เราได้ทำความเข้าใจในเรื่องเสียงพยัญชนะกันไปแล้ว วันนี้เราจะมาเรียนรู้อีกเสียงหนึ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กันก็คือเรื่องเสียงสระนั่นเองค่ะ เสียงสระจะมีกี่ชนิด แบ่งเป็นชนิดใดบ้าง ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ     เสียงสระ เสียงสระเป็นเสียงที่เกิดจากลมภายในปอด เปล่งออกมาโดยใช้การเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปาก เสียงที่ได้จะแบ่งออกได้ดังนี้ค่ะ สระเดี่ยว สระเดี่ยวหรือสระแท้ มีทั้งหมด 18 เสียง เสียงสั้นและเสียงยาวจับกันได้ 9

ป.5 ไวยากรณ์เรื่อง There is _ There are และ How many

ไวยากรณ์เรื่อง There is / There are และ How many

สวัสดีค่ะนักเรียนชั้น ป.5 ที่รักทุกคน วันนี้เราจะไปเรียนรู้ “ไวยากรณ์เรื่อง There is / There are และ How many” กันจ้า ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันเลยเด้อ ถามก่อนเรียน: อ้าวแล้ว Have/has ก็แปลว่า “มี” เหมือนกันไม่ใช่เหรอ แล้ว There is/There are

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ

การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ บทความนี้ได้รวบรวมความรู้เรื่อง การแก้ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร โดยใช้กราฟ ทำได้โดยนำตัวเลขแทนค่าตัวแปร แล้วจะได้กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปรเป็นกราฟเส้นตรง สังเกตกราฟที่ได้ว่าตัดกัน ขนานกัน หรือทับกัน ลักษณะกราฟจะบอกคำตอบของระบบสมการ ซึ่งก่อนที่จะเรียนเรื่องนี้ น้องๆสามารถศึกษาเรื่อง กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  ⇒⇒ กราฟของสมการเชิงเส้นสองตัวแปร ⇐⇐ สมการเชิงเส้นสองตัวแปร  คือ สมการที่มีตัวแปรสองตัว  เลขชี้กำลังของตัวแปรแต่ละตัวเป็น 1 และไม่มีการคูณกันของตัวแปร  เช่น 2x +

NokAcademy_Profile ม2 มารู้จักกับ (Connective Words)

 การใช้ตัวเชื่อม (Connective words)

Getting Started! มาเริ่มกันเลย   สวัสดีค่ะนักเรียน ม.3 ทุกคน วันนี้ครูจะพาไป ทบทวนงานเรื่อง  การใช้ตัวเชื่อม (Connective words) ที่จะทำให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานเขียนด้วย  การใช้ตัวเชื่อมในภาษาอังกฤษกันค่ะ โดยปรกติแล้วงานเขียนแบ่งออกออกเป็นสองรูปแบบหลักๆคือ เรียงความ (Essay Writing) กับ พารากราฟ (Paragraph Writing) ขอสรุปสั้นๆง่ายๆ ให้ทุกคนเข้าใจว่า Essay

ความน่าเชื่อถือของสื่อที่ฟัง

ฟังอย่างไรให้ได้สาระประโยชน์ดี ๆ ด้วยวิธีวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟัง

บทนำ สวัสดีน้อง ๆ ทุกคนยินดีต้อนรับเข้าสู่เนื้อหาในบทเรียนภาษาไทยกันอีกครั้ง สำหรับบทเรียนในวันนี้ต้องบอกว่ามีประโยชน์มาก ๆ และเราควรจะต้องศึกษาไว้เพื่อนำไปใช้ในการฟัง หรือคัดกรองสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่เรารับฟังมาให้มากขึ้น ซึ่งเราจะพาน้อง ๆ มาฝึกฝนการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากสื่อที่ฟังกัน เพราะในปัจจุบันเราสามารถรับสารได้หลากหลายรูปแบบมีทั้งประโยชน์ และโทษ ดังนั้น เราจึงต้องมีทักษะนี้ติดตัวไว้แยกแยะว่าสื่อนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ถ้าน้อง ๆ พร้อมแล้วเรามาเริ่มเรียนกันเลย   ความหมายของความน่าเชื่อถือ และสื่อ ความน่าเชื่อถือ หมายถึง

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1 

โลโก้ NockAcademy

ทดลองฟรี!

เข้าใจได้ทันที NockAcademy ไลฟ์สดอันดับ 1